แหล่งที่มา : เนติบัณฑิตยสภา
ย่อสั้น
โจทก์ดำเนินการบังคับคดีตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น แล้วแม้ต่อมาศาลอุทธรณ์จะพิพากษากลับให้ยกฟ้อง แต่ก็มิใช่คำพิพากษาถึงที่สุดที่เจ้าพนักงานบังคับคดี จะถอนการบังคับคดีได้ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 295(3) เพราะโจทก์ยังฎีกาอยู่ การยึดทรัพย์จึงยังคงมีอยู่ โจทก์ไม่จำต้องขอให้ศาลฎีกาสั่งยึดทรัพย์ของจำเลยซ้ำอีก
ย่อยาว
ความ ว่า โจทก์ ฎีกา เนื่องจาก โจทก์ ชนะคดี ใน ศาลชั้นต้น และ ใน ระหว่าง การ พิจารณา ของ ศาลอุทธรณ์ โจทก์ ได้ ทำการ บังคับคดี โดย ได้ นำ เจ้าพนักงาน บังคับคดี ยึดทรัพย์สิน ของ จำเลย คือ เม้าส์ (Mouse) จำนวน 100 ชุด หรือ 10 กล่อง ราคา 400,000 บาท และ ได้ เก็บรักษา ไว้ ที่ สถานที่ รักษา ทรัพย์ ของ กรมบังคับคดี ต่อมา ศาลอุทธรณ์ พิพากษากลับ ให้ยก ฟ้อง หาก โจทก์ ชนะคดี ใน ชั้นฎีกา จะ เป็น การ ยาก ที่ จะ บังคับ เอา กับ ทรัพย์สิน ของ จำเลย ดังนั้น เพื่อ เป็น การ คุ้มครอง ประโยชน์ ของ โจทก์ ไว้ ใน ระหว่าง พิจารณา ของ ศาลฎีกา ขอให้ ศาล โปรด มี คำสั่ง ให้ ยึดทรัพย์สิน ดังกล่าว ของ จำเลย ไว้ จนกว่า ศาลฎีกา จะ มี คำพิพากษา โปรด อนุญาต
หมายเหตุ จำเลย แถลง คัดค้าน ( อันดับ 222)
ศาลชั้นต้น พิพากษา ให้ จำเลย ชำระ เงิน ให้ โจทก์ จำนวน 480,146.31 ดอลลาร์ สิงคโปร์ โดย ให้ คิด เป็น เงิน ไทย ตาม อัตรา แลกเปลี่ยน โดย เฉลี่ย ของ ธนาคารพาณิชย์ ใน วันที่ ศาล พิพากษา
ศาลอุทธรณ์ พิพากษากลับ ให้ยก ฟ้อง
โจทก์ ฎีกา ( อันดับ 213)
คดี อยู่ ระหว่าง การ พิจารณา ของ ศาลฎีกา
โจทก์ ยื่น คำร้อง นี้ ( อันดับ 218)
ศาลชั้นต้น ไต่สวน คำร้อง แล้ว มี คำสั่ง ให้ รวบรวม ถ้อยคำ สำนวน ส่ง ศาลฎีกา เพื่อ พิจารณา สั่ง ต่อไป ( อันดับ 225)
คำสั่ง
โจทก์ ได้ ดำเนินการ บังคับคดี ตาม คำพิพากษา ของ ศาลชั้นต้น แล้ว แม้ ต่อมา ศาลอุทธรณ์ จะ พิพากษากลับ ให้ยก ฟ้อง แต่ ก็ มิใช่ คำพิพากษาถึงที่สุด ที่ เจ้าพนักงาน บังคับคดี จะ ถอน การ บังคับคดี ได้ ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 295(3) เพราะ โจทก์ ยัง ฎีกา อยู่ การ ยึดทรัพย์ จึง ยัง คง มี อยู่ โจทก์ ไม่จำต้อง ขอให้ ศาลฎีกา สั่ง ยึดทรัพย์ ของ จำเลย ซ้ำ อีก ให้ยก คำร้อง ค่า คำร้อง เป็น พับ