คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 196/2498

แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

ย่อสั้น

คำว่า’ ไม่ตรงกับคำรับ’ ตามความใน มาตรา 19(2) แห่งพระะราชบัญญัติขายยา พ.ศ.2493 นั้นมิได้หมายถึงแต่เฉพาะตัวเนื้อยาอย่างเดียว แต่หมายถึงปริมาณของตัวเนื้อยาด้วยเมื่อจำเลยขายยาที่มีปริมาณผิดไป 100 เท่า ดังนี้ก็มีความผิด

ย่อยาว

โจทก์ฟ้องว่าจำเลยเป็นเจ้าของร้านขายยาโยคีสถานสี่พระยาเป็นผู้ผลิตยา ได้ขึ้นทะเบียนยาชื่อยานิวโรโทรน จำเลยบังอาจขายยาปลอมโดยขายยานิวโรโทรนจำนวน 6 ขวด และยาอาไพรินจำนวน 6 กล่องซึ่งมีวัตถุส่วนประกอบปริมาณผิดไปกว่าที่ขึ้นทะเบียนยา ขอให้ลงโทษตามพระราชบัญญัติขายยา พ.ศ. 2493 มาตรา 14, 18, 19, 37

จำเลยต่อสู้ว่ายาที่จำเลยขายจำเลยไม่มีทางรู้ว่าปลอมหรือไม่เพราะเภสัชกรเป็นผู้ผสม ยาที่จับได้จะผิดปริมาณส่วนผสมอย่างใดหรือไม่จำเลยไม่รู้และไม่รับรอง และจำเลยต่อสู้อย่างอื่นอีกหลายประการ

ศาลอาญาฟังว่าจำเลยได้ขายยาปลอมจริง แต่โจทก์สืบไม่ได้ว่าจำเลยรู้ถึงการกระทำผิดดังกล่าว พิพากษาว่าจำเลยผิดตามพระราชบัญญัติขายยาพ.ศ. 2493 มาตรา 19 และ 37 ให้ปรับ 500 บาท และศาลอุทธรณ์พิพากษายืน

จำเลยฎีกาในปัญหาข้อกฎหมาย

ศาลฎีกาเห็นว่าคดีนี้ได้มีการสอบสวนแล้ว การพิสูจน์ยานั้นไม่จำเป็นต้องพิสูจน์ต่อหน้าจำเลย ส่วนคำว่า “ไม่ตรงกับตำหรับ” ตามมาตรา 19 แห่งพระราชบัญญัติขายยา พ.ศ. 2493 ที่จำเลยอ้างว่าหมายถึง “ตัวเนื้อยา” เป็นส่วนใหญ่ ไม่หมายถึงปริมาณนั้น ศาลฎีกาเห็นว่าคำนั้นหมายถึงวัตถุตัวเนื้อยาและปริมาณของตัวเนื้อยานั้นด้วยเมื่อจำเลยใช้ปริมาณผิดไปตั้ง 100 เท่า จำเลยก็มีผิด

Share