คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2175/2525

แหล่งที่มา : เนติบัณฑิตยสภา

ย่อสั้น

กรรมการบริษัทซึ่งร่วมกันผลิตเพื่อขายเครื่องสำอางที่ไม่ปลอดภัยในการใช้ และเครื่องสำอางปลอม เป็นการเอาเปรียบในอาชีพการค้าและเป็นอันตรายแก่ผู้ใช้เครื่องสำอางที่บริษัทจำเลยผลิตขึ้น จึงไม่ควรรอการลงโทษจำคุกให้

ย่อยาว

โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 2 เป็นกรรมการผู้มีอำนาจลงชื่อแทนบริษัทจำเลยที่ 2จำเลยทั้งสองได้ร่วมกันผลิตเพื่อขายซึ่งเครื่องสำอางค์ชื่อ “กวนอิม ครีมลอกฝ้าโดยเฉพาะ” อันมีสารไฮโดรควินอน โมโนเบนซิน อีเทอร์ (โมโนเบนซิน) ซึ่งเป็นสารที่เป็นอันตรายต่อผู้ใช้เนื่องจากมีฤทธิ์ทำลายสารสร้างสีของผิวหนัง ทำให้ผิวบริเวณที่ทาสารนี้มีสีขาวขึ้น เมื่อใช้นาน ๆ ทำให้ผิวหนังด่างขาว มีอาการระคายเคือง และเกิดอาการบวม และครีมไข่มุก กวนอิมและครีมลอกฝ้ากวนอิม โดยแจ้งแหล่งผลิตที่มิใช่ความจริงทำให้ประชาชนผู้พบเห็นเข้าใจว่าผลิตจากไต้หวันและประเทศเยอรมัน ซึ่งความจริงผลิตในประเทศไทย มีลักษณะเป็นเครื่องสำอางปลอม ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามพระราชบัญญัติเครื่องสำอาง พ.ศ. 2517 มาตรา 29, 30, 31, 52 ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 83, 91 ลงโทษฐานผลิตเพื่อขายเครื่องสำอางที่มีสารเป็นอันตรายปรับจำเลยที่ 1 10,000 บาท จำคุกจำเลยที่ 2, 3 เดือน ฐานผลิตเพื่อขายเครื่องสำอางที่มีลักษณะปลอม ปรับจำเลยที่ 1 10,000 บาท จำคุกจำเลยที่ 2 3 เดือนริบของกลาง ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน จำเลยที่ 2 ฎีกาขอรอการลงโทษ โดยได้รับอนุญาตให้ฎีกา

ศาลฎีกาวินิจฉัยข้อกฎหมายว่า “คดีนี้จำเลยทั้งสองให้การสารภาพตามฟ้อง ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันผลิตเพื่อขายซึ่งเครื่องสำอางที่ไม่ปลอดภัยในการใช้และร่วมกันผลิตเพื่อขายซึ่งเครื่องสำอางปลอมจำเลยที่ 2จะฎีกาว่า จำเลยที่ 2 เป็นลูกจ้างจำเลยที่ 1 ได้ซื้อเครื่องสำอางตามฟ้องจากผู้ผลิตเพื่อนำมาจำหน่ายให้ประชาชนโดยสุจริตเช่นนี้ ย่อมฟังไม่ขึ้น และที่จำเลยที่ 2ฎีกาว่าจำเลยที่ 2 ได้ลาออกจากบริษัทจำเลยที่ 1 แล้วก็ดีและจำเลยที่ 2 มีภาระในเรื่องครอบครัวก็ดี เห็นว่าข้ออ้างของจำเลยที่ 2 ดังกล่าวข้างต้นยังไม่เป็นเหตุสมควรที่จะรอการลงโทษให้จำเลยที่ 2 นอกจากนี้การกระทำของจำเลยที่ 2 นับว่าเป็นการเอาเปรียบในอาชีพการค้าและเป็นอันตรายแก่ผู้ใช้เครื่องสำอางที่จำเลยผลิตขึ้น ซึ่งพระราชบัญญัติเครื่องสำอาง พ.ศ. 2517 มาตรา 52 ระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปีหรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ฯลฯ จำเลยที่ 2 กระทำผิดความจริงผลิตในประเทศไทย มีลักษณะเป็นเครื่องสำอางปลอม ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามพระราชบัญญัติเครื่องสำอาง พ.ศ. 2517 มาตรา 29, 30, 31, 52 ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83, 91 ลงโทษฐานผลิตเพื่อขายเครื่องสำอางที่มีสารเป็นอันตราย ปรับจำเลยที่ 1 10,000 บาท จำคุกจำเลยที่ 2 3 เดือน ฐานผลิตเพื่อขายเครื่องสำอางที่มีลักษณะปลอม ปรับจำเลยที่ 1 10,000 บาท จำคุกจำเลยที่ 2 3 เดือน ริบของกลาง ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน จำเลยที่ 2 ฎีกาขอรอการลงโทษ โดยได้รับอนุญาตให้ฎีกา

ศาลฎีกาวินิจฉัยข้อกฎหมายว่า “คดีนี้จำเลยทั้งสองให้การสารภาพตามฟ้องข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันผลิตเพื่อขายซึ่งเครื่องสำอางที่ไม่ปลอดภัยในการใช้และร่วมกันผลิตเพื่อขายซึ่งเครื่องสำอางปลอม จำเลยที่ 2 จะฎีกาว่าจำเลยที่ 2 เป็นลูกจ้างจำเลยที่ 1 ได้ซื้อเครื่องสำอางตามฟ้องจากผู้ผลิตเพื่อนำมาจำหน่ายให้ประชาชนโดยสุจริตเช่นนี้ ย่อมฟังไม่ขึ้น และที่จำเลยที่ 2 ฎีกาว่า จำเลยที่ 2 ได้ลาออกจากบริษัทจำเลยที่ 1 แล้วก็ดีและจำเลยที่ 2 มีภาระในเรื่องครอบครัวก็ดี เห็นว่าข้ออ้างของจำเลยที่ 2 ดังกล่าวข้างต้น ยังไม่เป็นเหตุสมควรที่จะรอการลงโทษให้จำเลยที่ 2 นอกจากนี้การกระทำของจำเลยที่ 2นับว่าเป็นการเอาเปรียบในอาชีพการค้าและเป็นอันตรายแก่ผู้ใช้เครื่องสำอางที่จำเลยผลิตขึ้น ซึ่งพระราชบัญญัติเครื่องสำอาง พ.ศ. 2517 มาตรา 52ระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปีหรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ฯลฯจำเลยที่ 2 กระทำผิด 2 กระทง ศาลชั้นต้นใช้ดุลพินิจลงโทษจำเลยที่ 2 กระทงละ 3 เดือน นับว่าเป็นคุณแก่จำเลยที่ 2 มากอยู่แล้ว ที่ศาลล่างทั้งสองไม่รอการลงโทษให้จำเลยที่ 2 นั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย”

พิพากษายืน

Share