แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ
ย่อสั้น
ตำรวจจะเข้าจับกุมเจ้าของรถเข็นในข้อหานำรถที่ไม่ได้เสียภาษีมาใช้ในทางและกีดขวางทางจราจร จำเลยพูดว่า ‘ถ้าจับมีเรื่องแน่’ พร้อมกับชี้มือในลักษณะของการข่มขู่ และพวกจำเลยประมาณ 30-40 คนได้เดินเข้าไปหาตำรวจ ทำให้ตำรวจกลัวว่าจำเลยและพวกจะทำร้ายจึงพากันถอยออกไป การกระทำของจำเลยกับพวกดังกล่าวแสดงให้เห็นว่ามีเจตนาที่จะข่มขืนใจไม่ให้เจ้าพนักงานปฏิบัติตามหน้าที่หรือละเว้นการปฏิบัติการตามหน้าที่ จำเลยจึงมีความผิดตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 139 และเมื่อการกระทำต้องด้วยมาตรา 140 ก็ไม่ต้องปรับบทด้วยมาตรา 139 อีก.(ที่มา-ส่งเสริม)
ย่อยาว
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 138,139, 140, 83, 91
จำเลยให้การปฏิเสธ
ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง
โจทก์อุธรณ์
ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยมีความผิดร่วมกันพวกตั้งแต่ 3 คนขึ้นไปข่มขืนใจเจ้าพนักงานให้ละเว้นการปฏิบัติตามหน้าที่ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 139 ประกอบด้วยมาตรา 140 จำคุก1 ปี นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น
จำเลยฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า “ข้อเท็จจริงได้ความว่าซอยเซอร์เวียซึ่งเป็นสถานที่เกิดเหตุนั้น เป็นทางเชื่อมระหว่างถนนราชวิถีกับถนนพหลโยธิน การที่จ่าสิบตำรวจจรูญ บุญประเสริฐ ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ดูแลการจราจรที่บริเวณอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ต้องเดินไปที่ซอยเซอร์เวียนั้นก็น่าจะมาจากเหตุที่การจารจรที่บริเวณอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิติดขัดและคับคั่ง รถประจำทางจะวิ่งเข้าป้ายก็ไปไม่ได้และรถที่จะเลี้ยวเข้าซอยเซอร์เวียก็เข้าไม่ได้ดังที่จ่าสิบตำรวจจรูญเบิกความ เมื่อจ่าสิบตำรวจจรูญไปถึงซอยเซอร์เวียก็พบรถเข็นประมาณ 10 คัน จอดขายของบนพื้นผิวจารจรซอยเซอร์เวียเป็นการกีดขวางการจราจร จึงขอให้พวกเจ้าของรถเข็นเคลื่อนย้ายรถเข็นไป แต่พวกเจ้าของรถเข็นไม่ยอมเคลื่อนย้าย จ่าสิบตำรวจจรูญจึงขอให้จ่าสิบตำรวจจากิต ดอนสุวรรณ และจ่าสิบตำรวจชาญ พลเยื่ยม ช่วยจับกุมพวกเจ้าของรถเข็น เมื่อจ่าสิบตำรวจจรูญไปถึงรถเข็นคันแรกและพูดว่าจะขอจับกุมในข้อหานำรถที่ไม่ได้เสียภาษีมาใช้ในทางและกีดขวางทางจราจจร จำเลยได้พูดขึ้นว่า ถ้าจับไปน่าดูวันนี้มีเรื่องแน่พร้อมกับชี้มือในลักษณะของการข่มขู่ และพวกจำเลยประมาณ 30-40 คน เดินเข้าไปหาจ่าสิบตำรวจจรูญจ่าสิบตำรวจจรูญกับพวกเกรงว่าจะถูกทำร้ายจึงถอยออกไป ปัญหาที่ว่า จำเลยได้พูดและแสดงกิริยาอาการดังที่จจ่าสิบตำรวจจรูฐเบิกความหรือไม่นั้นจำเลยกล่าวมาในฎีกาว่าเห็นด้วยกับคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้น ซึ่งฟังว่า แม้ข้อเท็จจริงจะฟังได้ตามคำพยานโจทก์ดังกล่าวว่า จำเลยพูดว่า “ถ้าจับมีเรื่องแน่”และจำเลยชี้มือส่งเสียงโวยวายก็ตามจากข้อเท็จจริงดังกล่าวนั้นเห็นได้ว่า ไม่ใช่แต่เพียงจำเลยพูดและแสดงกิริยาอาการดังที่ศาลชั้นต้นรับฟังเท่านั้นข้อเท็จจริงยังได้ความต่อไปด้วยว่าคนในกลุ่มของจำเลยซึ่งมีประมาณ 30-40 คน ได้พากันเดินเข้าไปหาจ่าสิบตำรวจจรูญกับพวก อันทำให้จ่าสิบตำรวจจรูญกับพวกกลัวว่า จำเลยกับพวกจะเข้ามาทำร้ายร่างกายจจึงพากันถอยออกไปการกระทำของจำเลยกับพวกดังกล่าวแสดงให้เห็นได้ว่าจำเลยกับพวกมีเจตนาที่จะข่มขืนใจจ่าสิบตำรวจจรูญกับพวกไม่ให้เคลื่อนย้ายรถเข็นจำนวน 10 คันนั้นให้พ้นไปจากพื้นผิวจราจรในซอยเซอร์เวียและเป็นไปในลักษณะขู่เข็ญว่าจะทำร้ายจ่าสิบตำรวจจจรูญกับพวกด้วย แม้ในภายหลังพ้นตำรวจโทวงกต มณีรินทร์ สารวัตรจราจรพันตำรวจโทปริญญา เขคม สารวัตรปกครองจะมายังที่เกิดเหตุ แต่ก็ไม่อาจที่จะให้เจ้าของรถเข็นเคลื่อนย้ายรถเข็นที่กีดขวางการจราจรนั้นไปได้ ในที่สุดเจ้าหน้าที่ตำรวจที่มาปฏิบัติหน้าที่ที่สถานที่เกิดเหตุเพื่อเคลื่อนย้ายรถเข็นไม่ให้กีดขวางการจราจรต้องพากันกลับไปเพื่อไม่ให้เกตุการณ์ลุกลามใหญ่โต จึงเห็นได้ชัดว่าจำเลยกับพวกตั้งแต่ 3 คนขึ้นไป ข่มขืนใจจ่สิบตำรวจจรูญกับพวกไม่ให้เคลื่อนย้ายรถเข็นที่กีดขวางการจราจรโดยขู่เข็นว่าจะใช้กำลังประทุษร้าย จึงเป็นการกระทำความผิดดังที่โจทก์ฟ้องและเมื่อการกระทำของจำเลยต้องด้วยมาตรา 140 แห่งประมวลกฎหมายอาญาแล้วก็ไม่ต้องปรับบทด้วยมาตรา 139 อีก แต่การที่ศาลอุทธรณ์ลงโทษจำคุกจำเลยมีกำหนดเวลา 1 ปีนั้น เห็นว่าเป็นการวางโทษที่หนักมากไปสมควรที่จะวางโทษให้พอเหมาะสมกับการกระทำความผิดของจำเลย คือให้จำคุกจำเลยมีกำหนด 3 เดือน และตามพฤติการณ์แห่งคดีไม่สมควรที่จะรอการลงโทษ จึงไม่รอการลงโทษให้ ดังที่จำเลยฎีกา
พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา140 ให้จำคุกจำเลยมีกำหนด 3 เดือน นอกจากที่แก้คงให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์”.