คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1513/2532

แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

ย่อสั้น

คดีที่พนักงานอัยการโจทก์บรรยายฟ้องว่า ได้ มีการสอบสวนแล้วย่อมสันนิษฐานได้ ว่า มีการสอบสวนชอบด้วย กฎหมายแล้ว เมื่อจำเลยไม่คัดค้าน โดย เสนอหรือนำสืบเป็นข้อต่อสู้ไว้ ถือว่าไม่มีข้อโต้เถียงกัน หากตาม สำนวนไม่มีข้อเท็จจริงที่แสดงว่าการสอบสวนนั้นไม่ชอบ จำเลยเพิ่งมาคัดค้านขึ้นในชั้นอุทธรณ์ ย่อมไม่มีเหตุที่จะวินิจฉัยให้กรณีถือได้ว่ามีการสอบสวนในความผิดที่กล่าวหาตามฟ้องแล้ว แม้ศาลอุทธรณ์ยังมิได้วินิจฉัยปัญหาข้อเท็จจริงตามอุทธรณ์ของจำเลย เมื่อโจทก์จำเลยได้นำสืบพยานมาจนสิ้นกระแสความแล้ว ศาลฎีกาก็มีอำนาจวินิจฉัยปัญหาข้อเท็จจริงดังกล่าวไปได้เองโดย ไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยชี้ขาดก่อน แม้ อ. จะเคยถูก ฟ้องร่วมกับจำเลยมาก่อน แต่ ศาลได้ สั่งแยกฟ้องจำเลยเป็นคดีใหม่ต่างหากจากคดีที่ อ. ถูกฟ้องร่วมกับจำเลย โจทก์จึงอ้าง อ. เป็นพยานได้โดยขณะที่ อ. เบิกความเป็นพยานโจทก์ในคดีนี้ อ. มิได้อยู่ในฐานะ เป็นจำเลย การกระทำของจำเลยเป็นการกระทำผิดกรรมเดียวผิดต่อ กฎหมายหลายบท คือ เป็นความผิดตาม พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522มาตรา 5661 และประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 390 ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 ให้ใช้ กฎหมายบทที่หนักที่สุดลงโทษพนักงานสอบสวนไม่มีอำนาจเปรียบเทียบปรับจำเลยในความผิดที่มีโทษเบากว่า เพื่อให้ความผิดทุกกรรมรวมทั้งความผิดที่มีโทษหนักกว่าเลิกกัน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 37 ได้ ดังนั้น แม้พนักงานสอบสวนจะเปรียบเทียบปรับจำเลยไปแล้วตาม พระราชบัญญัติจราจรทางบกพ.ศ. 2522 มาตรา 61 ซึ่ง เป็นความผิดบทเบาที่สุด การเปรียบเทียบนั้นก็ไม่ชอบ คดีไม่เลิกกันตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 37 ศาลฎีกามีอำนาจวินิจฉัยปรับบทลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 390 ซึ่ง เป็นบทที่หนักที่สุดให้ถูกต้อง ได้.

Share