แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ
ย่อสั้น
สัญญากู้ยืมเงินมีข้อความว่าหากผู้ให้กู้จะขึ้นอัตราดอกเบี้ยไม่เกินกว่าที่กฎหมายกำหนดแล้วผู้ขอกู้ยอมให้ผู้ให้กู้มีสิทธิขึ้น อัตราดอกเบี้ยได้ตามแต่จะเห็นสมควรโดยเพียงแต่แจ้งให้ผู้กู้ทราบเท่านั้นข้อความที่ระบุไว้ดังกล่าวแม้จะให้สิทธิโจทก์ขึ้นอัตราดอกเบี้ยได้ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยแต่ก็มีเงื่อนไขว่าต้องแจ้งให้จำเลยทั้งสองทราบด้วยโจทก์จะ ขึ้นอัตราดอกเบี้ยโดยไม่แจ้งให้จำเลยทั้งสองทราบหาได้ไม่
ย่อยาว
โจทก์ ฟ้อง ว่า จำเลย ทั้ง สอง ได้ ร่วมกัน ทำ สัญญากู้ยืม เงิน โจทก์ที่ สาขา อุตรดิตถ์ จำนวน 100,000 บาท ยอม ให้ โจทก์ คิด ดอกเบี้ย ในอัตรา ร้อยละ 16.5 ต่อ ปี ของ ต้นเงิน ที่ เป็น หนี้ โจทก์ และ ยอม ให้ โจทก์ปรับ อัตรา ดอกเบี้ย ได้ ตาม อัตรา ที่ ธนาคารแห่งประเทศไทย กำหนด และเพื่อ เป็น หลักประกัน จำเลย ที่ 2 ได้ นำ ที่ดิน โฉนด เลขที่ 6251 พร้อมสิ่งปลูกสร้าง มา จดทะเบียน จำนอง ไว้ แก่ โจทก์ ใน วงเงิน 100,000 บาทหลังจาก จำเลย ทั้ง สอง กู้ยืม เงิน ไป จาก โจทก์ แล้ว จำเลย ทั้ง สอง ไม่ปฏิบัติ ตาม สัญญา ขอให้ บังคับ ให้ จำเลย ทั้ง สอง ชำระ เงิน จำนวน 149,527.36บาท พร้อม ดอกเบี้ย ใน อัตรา ร้อยละ 19 ต่อ ปี จาก ต้นเงิน 99,202.74บาท นับ ถัด จาก วันฟ้อง จน ถึง วัน ชำระ เสร็จ แก่ โจทก์ หาก จำเลย ทั้ง สองไม่ชำระ ให้ ยึดทรัพย์ จำนอง ออก ขายทอดตลาด นำ เงิน มา ชำระหนี้ โจทก์หาก ได้ เงิน ไม่พอ ชำระหนี้ ให้ ยึดทรัพย์สิน อื่น ของ จำเลย ทั้ง สอง ออกขายทอดตลาด นำ เงิน มา ชำระหนี้ โจทก์ จน ครบถ้วน
จำเลย ทั้ง สอง ขาดนัด ยื่นคำให้การ และ ขาดนัดพิจารณา
ศาลชั้นต้น พิพากษา ให้ จำเลย ทั้ง สอง ร่วมกัน ชำระ เงิน จำนวน99,202.74 บาท พร้อม ดอกเบี้ย ใน อัตรา ร้อยละ 16.5 ต่อ ปี ใน ต้นเงินจำนวน ดังกล่าว นับแต่ วันที่ ค้างชำระ จนกว่า ชำระ เสร็จ หาก ไม่ชำระให้ บังคับจำนอง ที่ดิน โฉนด เลขที่ 6251 ตำบล วังกะพี้ อำเภอ อำเภอ เมือง อุตรดิตถ์ จังหวัด อุตรดิตถ์พร้อม สิ่งปลูกสร้าง และ ยึดทรัพย์ อื่นของ จำเลย ทั้ง สอง ออก ขายทอดตลาด เอา เงิน ชำระหนี้ โจทก์ จน ครบถ้วน
โจทก์ อุทธรณ์ เฉพาะ ปัญหาข้อกฎหมาย โดยตรง ต่อ ศาลฎีกา โดย ได้รับอนุญาต จาก ศาลชั้นต้น ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 223 ทวิ
ศาลฎีกา วินิฉัยว่า “ที่ โจทก์ อุทธรณ์ ว่า ตาม สัญญากู้ยืม เงินเอกสาร หมาย จ. 4 กำหนด ให้ โจทก์ ปรับ อัตรา ดอกเบี้ย ให้ สูง ขึ้น ได้ ตามที่ ธนาคาร แห่งประเทศไทย กำหนด ให้ ธนาคารพาณิชย์ เรียกเก็บ จาก ลูกค้า ได้ โจทก์ จึง มีสิทธิ เรียกเก็บ ดอกเบี้ย จาก จำเลย ทั้ง สอง เป็น อัตราร้อยละ 18 และ ร้อยละ 19 ได้ ตาม ประกาศ ธนาคาร แห่งประเทศไทย เอกสาร หมาย จ. 12 นั้น พิเคราะห์ แล้ว ปรากฏ ตาม สัญญากู้ยืม เงินเอกสาร หมาย จ. 4 มี ข้อความ ว่า ผู้ให้กู้ จะ ขึ้น อัตรา ดอกเบี้ยไม่เกิน กว่า ที่ กฎหมาย กำหนด แล้ว ผู้กู้ ยอม ให้ ผู้ให้กู้ มีสิทธิ ขึ้นอัตรา ดอกเบี้ย ได้ ตาม แต่ จะ เห็นสมควร โดย เพียงแต่ แจ้ง ให้ ผู้กู้ทราบ เท่านั้น เห็นว่า ข้อความ ที่ ระบุ ไว้ ดังกล่าว แม้ จะ ให้สิทธิ โจทก์ขึ้น อัตรา ดอกเบี้ย ได้ ตาม ประกาศ ธนาคาร แห่งประเทศไทย แต่ ก็ มี เงื่อนไข ว่า ต้อง แจ้ง ให้ จำเลย ทั้ง สอง ทราบ ด้วย โจทก์ จะ ขึ้น อัตราดอกเบี้ย โดย ไม่แจ้ง ให้ จำเลย ทั้ง สอง ทราบ หาได้ไม่ แต่ ตาม คำฟ้อง และการ นำสืบ ของ โจทก์ ใน ชั้นพิจารณา ไม่ปรากฏ ว่า โจทก์ ได้ แจ้ง ให้ จำเลยทั้ง สอง ทราบ ว่า โจทก์ ขอ ขึ้น อัตรา ดอกเบี้ย เป็น อัตรา ร้อยละ 18 และ19 ต่อ ปี โจทก์ จึง ไม่มี สิทธิ เรียก ดอกเบี้ย ใน อัตรา ดังกล่าว จาก จำเลยทั้ง สอง ที่ ศาลชั้นต้น พิพากษา ให้ จำเลย ทั้ง สอง ชำระ ดอกเบี้ย ใน อัตราร้อยละ 16.5 ต่อ ปี ตั้งแต่ วัน ผิดนัด จน ถึง วัน ชำระ เสร็จ ศาลฎีกาเห็นพ้อง ด้วย อุทธรณ์ โจทก์ ฟังไม่ขึ้น
พิพากษายืน