คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2825/2539

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

จำเลยออกเช็คพิพาทชำระหนี้แก่ผู้เสียหายเมื่อเช็คถึงกำหนดผู้เสียหายไม่นำเช็คไปเรียกเก็บเงินเนื่องจากบัญชีของจำเลยปิดแต่ได้ไปทำสัญญากับมารดาจำเลยที่สถานีตำรวจโดยมารดาจำเลยยอมชำระหนี้แทนต่อมาผู้เสียหายนำเช็คพิพาทไปเรียกเก็บเงินปรากฏว่าธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คหลังจากนั้นมารดาจำเลย ผิดนัดไม่ชำระหนี้ตามข้อตกลงผู้เสียหายจึงไปร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนให้ดำเนินคดีแก่จำเลยต่อมาจำเลยนำเงินไปชำระให้ผู้เสียหาย55,000บาทส่วนที่เหลือจำเลยสั่งจ่ายเช็คลงวันที่ล่วงหน้าให้ไว้อีก2ฉบับดังนี้ถือได้ว่าผู้เสียหายกับจำเลยมุ่งหมายที่จะ ระงับข้อพิพาทโดยผู้เสียหายตกลงเข้าถือสิทธิในเงินและเช็คลงวันที่ล่วงหน้าทั้ง2ฉบับดังกล่าวสละสิทธิที่จะดำเนินคดีอาญาแก่จำเลยต่อไปสิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ย่อมระงับไป

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ขอให้ ลงโทษ จำเลย ตาม พระราชบัญญัติ ว่าด้วย ความผิดอัน เกิดจาก การ ใช้ เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 4
จำเลย ให้การ ปฏิเสธ
ศาลชั้นต้น พิพากษา ว่า จำเลย มี ความผิด ตาม พระราชบัญญัติ ว่าด้วยความผิด อัน เกิดจาก การ ใช้ เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 4 จำคุก 6 เดือน
จำเลย อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ ภาค 3 พิพากษากลับ ให้ยก ฟ้องโจทก์
โจทก์ ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “ข้อเท็จจริง รับฟัง เป็น ยุติ ว่า จำเลยได้ ออก เช็คพิพาท ชำระหนี้ ค่าซื้อ รถยนต์ ให้ แก่ ผู้เสียหาย เมื่อเช็ค ถึง กำหนด ใช้ เงิน ผู้เสียหาย ยัง ไม่นำ เช็คพิพาท ไป เรียกเก็บเงินเพราะ ตรวจสอบ จาก ธนาคาร ตามเช็ค แล้ว ปรากฏว่า บัญชี ของ จำเลย ปิด แล้วหลังจาก นั้น ผู้เสียหาย ได้ ทำ สัญญา กับ มารดา จำเลย ที่ สถานีตำรวจภูธรอำเภอ ละงู โดย มารดา จำเลย จะ ชำระหนี้ แทน ใน วันที่ 5 พฤษภาคม 2537และ มารดา จำเลย ได้ มอบ โฉนด ที่ดิน ให้ ผู้เสียหาย ยึดถือ ไว้ เป็นหลักประกัน ต่อมา วันที่ 3 พฤษภาคม 2537 ผู้เสียหาย นำ เช็คพิพาทไป เรียกเก็บเงิน จาก ธนาคาร และ ถูก ปฏิเสธ การ จ่ายเงิน ตาม ใบ คืน เช็คเอกสาร หมาย จ. 2 เมื่อ ถึง กำหนด ชำระหนี้ จำเลย และ มารดา จำเลย ผิดนัดครั้น วันที่ 9 พฤษภาคม 2537 ผู้เสียหาย จึง ไป ร้องทุกข์ ต่อพนักงานสอบสวน ตาม คำร้องทุกข์ เอกสาร หมาย จ. 3 หลังจาก นั้น จำเลยนำ เงิน มา ชำระ แก่ ผู้เสียหาย จำนวน 55,000 บาท ส่วน ที่ เหลือ จำเลยได้ ออก เช็ค สั่งจ่าย ล่วงหน้า มอบ ให้ แก่ ผู้เสียหาย 2 ฉบับ ซึ่งเช็ค ทั้ง สอง ฉบับ เมื่อ ถึง กำหนด ใช้ เงิน ผู้เสียหาย ได้ นำ ไป เรียกเก็บเงิน ปรากฏว่า ธนาคาร ตามเช็ค ได้ ปฏิเสธ การ จ่ายเงิน อีก คดี มี ปัญหาข้อกฎหมาย ต้อง วินิจฉัย ตาม ฎีกา ของ โจทก์ ว่า สิทธิ นำ คดีอาญา มา ฟ้องของ โจทก์ ระงับ ไป หรือไม่ เห็นว่า การ ที่ ผู้เสียหาย ทำ บันทึก ข้อตกลงกับ มารดา จำเลย โดย ยอม ให้ มารดา จำเลย ชำระหนี้ แทน กับ รับ โฉนด ที่ดินที่ มารดา จำเลย มอบ ให้ ยึดถือ ไว้ เป็น หลักประกัน ทั้ง หลังจาก ที่ผู้เสียหาย ร้องทุกข์ แล้ว ก็ ยอมรับ เงิน 55,000 บาท ที่ จำเลย นำ มา ชำระหนี้ บางส่วน และ รับ เช็ค 2 ฉบับ ที่ จำเลย ออก ให้ ชำระหนี้ ที่ ยัง ค้างชำระ อยู่ ซึ่ง ผู้เสียหาย ก็ นำ เช็ค ทั้ง สอง ฉบับ ดังกล่าว ไป เรียกเก็บเงินแต่ ธนาคาร ปฏิเสธ การ จ่ายเงิน ทำให้ ผู้เสียหาย ไม่ได้ รับชำระหนี้เต็ม จำนวน นั้น ตาม พฤติการณ์ แสดง ว่า ผู้เสียหาย และ จำเลย มุ่งหมายจะ ระงับ ข้อพิพาท โดย ผู้เสียหาย ตกลง เข้า ถือ สิทธิ ใน เช็ค ทั้ง สอง ฉบับดังกล่าว และ สละ สิทธิ หรือไม่ ยึดถือ สิทธิ ใด ๆ ที่ มี อยู่ ใน เช็คพิพาทอีก ต่อไป รวมทั้ง สิทธิ ที่ จะ ไม่ดำเนินคดี อาญา แก่ จำเลย ด้วย ข้อตกลงการ ชำระหนี้ และ การ ออก เช็ค สอง ฉบับ แทน เช็คพิพาท ถือได้ว่า หนี้ตามเช็ค พิพาท เป็น อัน ระงับ ไป มูลหนี้ ตามเช็ค พิพาท จึง สิ้นความผูกพัน คดี เป็น อัน เลิกกัน ตาม พระราชบัญญัติ ว่าด้วย ความผิดอัน เกิดจาก การ ใช้ เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 7 สิทธิ นำ คดีอาญา มา ฟ้องร้องใน เช็คพิพาท ย่อม ระงับ ไป ”
พิพากษายืน

Share