คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1212/2539

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

การที่โจทก์ย้าย ที่ทำการใหม่ไป ต่างท้องที่ เป็นเหตุให้จำเลยซึ่งเป็นข้าราชการของโจทก์ต้องเดินทางไปทำงานประจำสำนักงานแห่งใหม่มีสภาพการณ์เช่นเดียวกับการได้รับคำสั่งให้เดินทางตามพระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการพ.ศ.2527มาตรา7จำเลยจึงมี สิทธิได้รับ ค่าเช่าบ้านข้าราชการ

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ว่า จำเลย รับ ราชการ ที่ กรมทางหลวง และ โอน มา รับ ราชการที่ มหาวิทยาลัย ของ โจทก์ เดิม ที่ทำการ ของ โจทก์ ตั้ง อยู่ ที่ อาคารทบวง มหาวิทยาลัย เขต พญาไท กรุงเทพมหานคร ต่อมา ได้ ย้าย ที่ทำการ ไป อยู่ ที่ ตำบล บางพูด อำเภอ ปากเกร็ด จังหวัด นนทบุรี จำเลย ได้ ขอ เบิก ค่าเช่า บ้าน จาก โจทก์ รวมเป็น เงิน จำนวน 29,085 บาท และจำเลย ได้รับ เงิน ดังกล่าว ไป แล้ว ซึ่ง การ ได้รับ เงิน ดังกล่าว ไป นั้นจำเลย ไม่มี สิทธิ จะ ได้รับ เนื่องจาก จำเลย เริ่ม รับ ราชการ ครั้งแรกที่ หน่วยงาน อื่น ใน เขต อำเภอ ชั้น นอก หรือ ใน เขต อำเภอ ชั้น ใน ของกรุงเทพมหานคร การ ที่ โจทก์ ย้าย ที่ทำการ ไป อยู่ ที่ จังหวัด นนทบุรีไม่ ถือ เป็น การ ย้าย สถานที่ ปฏิบัติงาน ของ ข้าราชการ แต่ เป็น การ ย้ายที่ ตั้ง ของ สำนักงาน ใหม่ ต่อมา โจทก์ แจ้ง ให้ จำเลย ส่ง คืนเงินค่าเช่า บ้าน ที่ ได้รับ ไป แต่ จำเลย ไม่คืน ขอให้ บังคับ จำเลย คืนเงินค่าเช่า บ้าน ที่ เบิก ไป โดย ไม่มี สิทธิ จำนวน 29,085 บาท พร้อม ดอกเบี้ยอัตรา ร้อยละ 7.5 ต่อ ปี
จำเลย ให้การ ว่า จำเลย มีสิทธิ ได้รับ เงิน ค่าเช่า บ้าน ตามพระราชกฤษฎีกา ค่าเช่า บ้าน ข้าราชการ พ.ศ. 2527 และ แม้ จะ ฟัง ว่า จำเลยไม่มี สิทธิ ได้รับ เงิน ค่าเช่า บ้าน แต่ เงิน ดังกล่าว เป็น ลาภมิควรได้แต่ โจทก์ นำ คดี มา ฟ้อง เมื่อ พ้น กำหนด หนึ่ง ปี ฟ้องโจทก์ จึง ขาดอายุความขอให้ ยกฟ้อง
โจทก์ จำเลย แถลง ไม่ติดใจ สืบพยาน
ศาลชั้นต้น พิพากษายก ฟ้อง
โจทก์ อุทธรณ์ เฉพาะ ปัญหาข้อกฎหมาย โดยตรง ต่อ ศาลฎีกา โดย ได้รับอนุญาต จาก ศาลชั้นต้น ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 223 ทวิ
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “ข้อเท็จจริง ที่ ศาลชั้นต้น ได้ วินิจฉัยไว้ รับฟัง ได้ เป็น ยุติ ว่า จำเลย รับ ราชการ ครั้งแรก ที่ หน่วยงาน อื่นใน เขต อำเภอ ชั้น นอก หรือ ใน เขต อำเภอ ชั้น ใน ของ กรุงเทพมหานคร และโอน มา รับ ราชการ ที่ มหาวิทยาลัย โจทก์ ซึ่ง เดิม ที่ทำการ ของ โจทก์ตั้ง อยู่ ที่ อาคาร ทบวง มหาวิทยาลัย เขต พญาไท กรุงเทพมหานคร แล้ว ต่อมา เดือน ธันวาคม 2527 โจทก์ ได้ ย้าย ที่ทำการ ใหม่ ไป ตั้ง อยู่ ที่ตำบล บางพูด อำเภอปากเกร็ด จังหวัด นนทบุรี ทำให้ จำเลย ต้อง เดินทาง ไป ทำงาน ประจำ สำนักงาน ใหม่ ต่าง ท้องที่ ซึ่ง มิใช่ ท้องที่ ที่ จำเลยเริ่ม รับ ราชการ ครั้งแรก หรือ ท้องที่ ที่ จำเลย โอน มา รับ ราชการ มี ปัญหาข้อกฎหมาย ที่ ต้อง วินิจฉัย ตาม ฎีกา ของ โจทก์ ว่า ใน กรณี ดังกล่าวจำเลย มีสิทธิ ได้รับ ค่าเช่า บ้าน ข้าราชการ หรือไม่ พระราชกฤษฎีกาค่าเช่า บ้าน ข้าราชการ พ.ศ. 2527 มาตรา 7 บัญญัติ ว่า “ภายใต้ บังคับมาตรา 16 และ มาตรา 17 ข้าราชการ ผู้ใด ได้รับ คำสั่ง ให้ เดินทางไป ประจำ สำนักงาน ใน ต่าง ท้องที่ มีสิทธิ ได้รับ ค่าเช่า บ้าน ข้าราชการเท่าที่ ต้อง จ่าย จริง ตาม ที่ สมควร แก่ สภาพ แห่ง บ้าน เว้นแต่ ผู้ นั้น(1) ทางราชการ ได้ จัด ที่พักอาศัย ให้ อยู่ แล้ว (2) มี เคหสถาน ของ ตนเองหรือ ของ สามี ภริยา ที่ พอ อาศัย อยู่ ร่วมกัน ได้ ใน ท้องที่ ที่ ไป ประจำสำนักงาน ใหม่ (3) ได้รับ คำสั่ง ให้ เดินทาง ไป ประจำ สำนักงาน ใหม่ใน ท้องที่ ที่ เริ่ม รับ ราชการ ครั้งแรก หรือ ท้องที่ ที่ กลับ เข้ารับ ราชการ ใหม่ (4) เป็น ข้าราชการ วิสามัญ ” พิเคราะห์ บทบัญญัติดังกล่าว แล้ว เห็นว่า ข้าราชการ ผู้มีสิทธิ ได้รับ ค่าเช่า บ้าน ข้าราชการคือ ข้าราชการ ที่ ทางราชการ ได้ มี คำสั่ง ให้ เดินทาง ไป ประจำ สำนักงานใน ต่าง ท้องที่ แต่ กรณี คดี นี้ ทางราชการ ได้ ย้าย ที่ทำการ ใหม่อันเป็น การ ก่อ ให้ เกิด สภาพการณ์ เช่นเดียวกัน กับ การ มี คำสั่ง ให้เดินทาง กล่าว คือ ข้าราชการ จำต้อง เดินทาง ไป ประจำ สำนักงานใน ต่าง ท้องที่ ซึ่ง เป็น ผล เช่นเดียวกัน กับ การ มี คำสั่ง ของ ทางราชการนั่นเอง ดังนั้น ใน กรณี เช่นนี้ ทำให้ ถ้อยคำ ตาม ตัวอักษร ที่ ว่า”ได้รับ คำสั่ง ให้ เดินทาง ” ไม่ ชัดแจ้ง ว่า จะ มี ความหมาย ครอบคลุม ถึงกรณี ที่ มี สภาพการณ์ เช่นเดียว กับ การ ได้รับ คำสั่ง ให้ เดินทาง หรือไม่ชอบ ที่ ศาล จะ ต้อง ค้นหา ความหมาย ของ บทบัญญัติ นี้ ว่า มี ขอบเขต แห่งความมุ่งหมาย แค่ไหน เพียงใด เมื่อ พิจารณา ถึง เหตุผล ท้าย พระราชกฤษฎีกาฉบับ ดังกล่าว มา แล้ว จะ พบ ว่า พระราชกฤษฎีกา ฉบับนี้ ทางราชการ มีเจตนารมณ์ ที่ จะ ช่วยเหลือ ข้าราชการ ที่ ได้รับ ความ เดือดร้อน ใน เรื่องที่อยู่อาศัย อัน เนื่องมาจาก ทางราชการ เป็นเหตุ จึง เห็น ได้ว่าการ ย้าย ที่ทำการ ใหม่ ของ โจทก์ ซึ่ง ทำให้ ข้าราชการ ของ โจทก์ ต้อง เดินทางไป ทำงาน ประจำ สำนักงาน ใหม่ นี้ ก็ เนื่องมาจาก ทางราชการ เป็นเหตุเช่นเดียว กับ การ ได้รับ คำสั่ง ให้ เดินทาง และ ทำให้ ข้าราชการ ได้รับความ เดือดร้อน ใน เรื่อง ที่อยู่อาศัย ดังนั้น ถ้อยคำ ตาม ตัวอักษร ที่ ว่า”ได้รับ คำสั่ง ให้ เดินทาง ” ย่อม มี ขอบเขต แห่ง ความมุ่งหมาย ครอบคลุมถึง กรณี ย้าย ที่ทำการ ใหม่ ไป ต่าง ท้องที่ ด้วย ซึ่ง เป็น การ ชอบ ด้วยหลัก แห่ง การ ตีความ กฎหมาย และ ประกอบ ด้วย ความ ถูกต้อง เป็น ธรรมหา เป็น การ ตีความ เกิน เลย หรือ ขัด ต่อ บทบัญญัติ ที่ กฎหมาย กำหนด ดัง ที่โจทก์ ฎีกา ไม่ ส่วน การ ตีความ เคร่งครัด ตรง ถ้อยคำ ตาม ตัวอักษร โดยไม่ คำนึง ถึง ความมุ่งหมาย ของ กฎหมาย ดัง ฎีกา ของ โจทก์ นั้น นอกจากจะ ไม่ชอบ ด้วย หลัก แห่ง การ ตีความ กฎหมาย และ เป็น การ ใช้ กฎหมาย โดยไม่ถูกต้อง เป็น ธรรม แล้ว ยัง ไม่ชอบ ด้วย หลัก แห่ง การ บริหารราชการ แผ่นดิน อีก ด้วย เพราะ ทางราชการ ได้ กำหนด ให้ หลักประกัน โดยให้สิทธิ ประโยชน์ ใน เรื่อง ค่าเช่า บ้าน ข้าราชการ แก่ ข้าราชการ ใน กรณีที่ ต้อง เดินทาง ไป ประจำ สำนักงาน ใน ต่าง ท้องที่ ทำให้ เดือดร้อนใน เรื่อง ที่อยู่อาศัย อัน เนื่องมาจาก ทางราชการ เป็นเหตุ แต่ กลับมา อ้างว่า ไม่ได้ มี คำสั่ง เพื่อ ให้ พ้น จาก ความรับผิด ชอบ อันเป็น การตีความ ที่ เป็น ประโยชน์ แก่ ทางราชการ เพียง ฝ่ายเดียว โดย ไม่ คำนึง ถึงความ เดือนร้อน ของ ข้าราชการ ที่ ทางราชการ เป็น ผู้ ก่อน ขึ้น ย่อม ไม่ถูกต้อง เป็น ธรรม ทั้ง จะ ทำให้ เห็น ถึง ความ ไม่แน่ นอน มั่นคง เที่ยงตรง ในหลักการ ใช้ กฎหมาย ซึ่ง อาจ เป็น ผล ให้ เกิด ความ ไม่น่าเชื่อถือ ต่อ ระบบราชการ อีก ด้วย เพราะ ฉะนั้น กรณี เช่น คดี นี้ ย่อม อยู่ ใน ขอบเขต แห่งความมุ่งหมาย ของ บทบัญญัติ ที่ ให้ จำเลย มีสิทธิ ได้รับ ค่าเช่า บ้านข้าราชการ ได้ หรือ อีก นัย หนึ่ง โจทก์ ไม่มี สิทธิเรียกร้อง ค่าเช่า บ้านข้าราชการ คืน จาก จำเลย ที่ ศาลชั้นต้น พิพากษายก ฟ้อง ศาลฎีกา เห็นพ้องด้วย ฎีกา ของ โจทก์ ฟังไม่ขึ้น ”
พิพากษายืน

Share