คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 123/2539

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

จำเลยซึ่งเป็นฝ่ายนำสืบพยานภายหลังมิได้ถามค้านพยานโจทก์ไว้ในเวลาที่พยานเบิกความเพื่อให้พยานอธิบายถึงข้ออ้างของจำเลยคำเบิกความของพยานจำเลยจึงไม่มีน้ำหนักน่าเชื่อ

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง และ แก้ไข คำฟ้อง ว่า โจทก์ ได้ ทำ สัญญาจะซื้อจะขายห้องชุด ใน อาคารชุด จำนวน 3 ห้อง โดย ตกลง จะซื้อ จาก จำเลย ใน ราคา รวม570,000 บาท โจทก์ ได้ ชำระ เงิน ให้ จำเลย ไป แล้ว 165,000 บาท ส่วนที่ เหลือ จะ ชำระ เมื่อ อาคาร สร้าง เสร็จ แต่ จำเลย ผิดสัญญา ไม่ยอม โอนห้องชุด แก่ โจทก์ และ รับ เงิน ส่วน ที่ เหลือ ขอให้ บังคับ จำเลย โอนห้องชุด แก่ โจทก์ และ รับ เงิน ค่า ห้องชุด ส่วน ที่ เหลือ
จำเลย ให้การ ว่า เมื่อ อาคารชุด สร้าง เสร็จ ก็ ได้ แจ้ง โจทก์ ให้มา รับโอน ห้องชุด แต่ โจทก์ กลับ ให้ จำเลย ก่อสร้าง สิ่ง ต่าง ๆ เพิ่มเติมนอก สัญญา จำเลย ไม่ ดำเนินการ ให้ โจทก์ จึง ไม่มา รับโอน ห้องชุด ตามกำหนด เวลา 14 วัน นับแต่ วันที่ โจทก์ ได้รับ แจ้ง จาก จำเลย ให้ มา รับโอนโจทก์ เป็น ฝ่าย ผิดสัญญา เป็นเหตุ ให้ จำเลย สิ้น ความผูกพัน ที่ จะ โอนห้องชุด และ มีสิทธิ ริบ เงิน ทั้งหมด ที่ โจทก์ ชำระ มา แล้ว ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิจารณา แล้ว พิพากษา ให้ จำเลย โอน กรรมสิทธิ์ ห้องชุดอาคาร 3 ห้อง ใน สภาพ เรียบร้อย แก่ โจทก์ และ ให้ จำเลย รับ เงิน 405,000บาท จาก โจทก์ หาก จำเลย ไม่ยอม โอน ให้ ถือเอา คำพิพากษา เป็น การแสดงเจตนา โอน ของ จำเลย
จำเลย อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืน
จำเลย ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “ที่ จำเลย ฎีกา ว่า โจทก์ เป็น ฝ่าย ผิดสัญญาข้อ นี้ โจทก์ เบิกความ เป็น พยาน ว่า จำเลย ได้ มี หนังสือ แจ้ง ให้ โจทก์ไป จดทะเบียน รับโอน กรรมสิทธิ์ ห้องชุด ปรากฏ ตาม เอกสาร หมาย จ. 7 โจทก์ได้ โทรศัพท์ ไป สอบถาม ฝ่าย จำเลย ว่า ตาม เอกสาร หมาย จ. 7 ไม่ได้ ระบุวันที่ ให้ ไป รับโอน กรรมสิทธิ์ จะ ให้ โจทก์ ไป วัน ไหน ทาง ฝ่าย จำเลยบอก ว่า จะ ให้ คำ ตอบ ใน ภายหลัง จน ถึง วันที่ 23 สิงหาคม 2534 จำเลยไม่แจ้ง ให้ ทราบ โจทก์ จึง มี หนังสือ แจ้ง ให้ จำเลย ไป จดทะเบียน โอนกรรมสิทธิ์ ใน วันที่ 27 สิงหาคม 2534 และ ใน วันที่ 27 สิงหาคม 2534โจทก์ ได้ ไป รอ จำเลย ที่ สำนักงาน ที่ดิน กรุงเทพมหานคร สาขา พระโขนง แต่ ไม่มี ผู้แทน จำเลย ไป ใน วันที่ 28 สิงหาคม 2534 โจทก์ ไป รอ จำเลยที่ สำนักงาน ที่ดิน กรุงเทพมหานคร สาขา พระโขนง พบ นาง เยาวลักษณ์ บุญทวีกิจ โจทก์ รอ อยู่ จน หมด เวลา นาง เยาวลักษณ์ ไม่ จดทะเบียน โอน ให้ โจทก์ จึง ได้ แจ้ง อายัด ห้องชุด ที่ ซื้อ ขาย ต่อ เจ้าพนักงาน ที่ดินปรากฏ ตาม เอกสาร หมาย จ. 11 นาย ไพศาล รุ่งกาญจน์ เจ้าพนักงาน ที่ดิน เบิกความ เป็น พยานโจทก์ ว่า โจทก์ ได้ ขอ อายัด ห้องชุด ปรากฏ ตาม เอกสารหมาย จ. 11 หรือ ป.จ. 1 นาง เยาวลักษณ์ กรรมการ บริษัท จำเลย เบิกความ เป็น พยาน จำเลย ว่า ใน วันที่ 14 สิงหาคม 2534 ได้ มี หนังสือ ถึงโจทก์ ให้ ไป รับโอน ห้องชุด ภายใน วันที่ 28 สิงหาคม 2534 โจทก์ และนาง เยาวลักษณ์ ได้ ไป ที่ สำนักงาน ที่ดิน กรุงเทพมหานคร สาขา พระโขนง โจทก์ ไม่ยอม รับโอน อ้างว่า สาธารณูปโภค ไม่ครบ ถ้วน โจทก์ ได้ ให้เจ้าพนักงาน ที่ดิน บันทึก ไว้ ว่า สาธารณูปโภค ไม่ เรียบร้อย ฝ่าย จำเลยได้ ขอให้ เจ้าพนักงาน ที่ดิน บันทึก ว่า โจทก์ ไม่ยอม รับโอน แต่เจ้าพนักงาน ที่ดิน บอก ว่า บันทึก ไว้ เพียง ฝ่ายเดียว ก็ พอ ปรากฏว่าตาม คำขอ อายัด ห้องชุด ของ โจทก์ เอกสาร หมาย จ. 11 หรือ ป.จ. 1 มี ข้อความตอนหนึ่ง ว่า “ปรากฏว่า ห้องชุด ดังกล่าว ยัง ไม่ เสร็จ เรียบร้อย คือยัง เสร็จ ไม่สมบูรณ์ ตาม ที่ ประกาศ โฆษณา ขาย และ ใน วัน นี้ บริษัท กนกอรการเคหะ จำกัด ไม่ยอม โอน กรรมสิทธิ์ ใน ห้องชุด ให้ แก่ ข้าพเจ้า ข้าพเจ้า จึง ขอ อายัด ห้องชุด ดังกล่าว เพื่อ ฟ้อง ศาล บังคับ ” เห็นว่านาย ไพศาล เป็น เจ้าพนักงาน ที่ดิน เป็น พยาน คนกลาง เบิกความ มี น้ำหนัก น่าเชื่อ และ ตาม ข้อความ ใน เอกสาร หมาย จ. 11 หรือ ป.จ. 1 ระบุ ชัดแจ้งว่า ใน วัน ดังกล่าว จำเลย ไม่ยอม โอน กรรมสิทธิ์ ใน ห้องชุด พิพาท ให้ โจทก์ซึ่ง เจือสม กับ คำเบิกความ ของ โจทก์ พยานโจทก์ จึง มี น้ำหนัก น่าเชื่อที่นา ง เยาวลักษณ์ เบิกความ ว่า ฝ่าย จำเลย ได้ ขอให้ เจ้าพนักงาน ที่ดิน บันทึก ว่า โจทก์ ไม่ยอม รับโอน แต่ เจ้าพนักงาน ที่ดิน บอก ว่าบันทึก ไว้ ฝ่ายเดียว ก็ พอ เป็น การ กล่าวอ้าง ลอย ๆ เมื่อ นาย ไพศาล มา เบิกความ เป็น พยานโจทก์ จำเลย ก็ มิได้ ถาม ค้าน ให้ นาย ไพศาล อธิบาย ถึง ข้ออ้าง ของ นาง เยาวลักษณ์ คำเบิกความ ของ นาง เยาวลักษณ์ จึง ไม่มี น้ำหนัก น่าเชื่อ ข้อเท็จจริง ฟังได้ ตาม ที่ โจทก์ นำสืบ ว่าจำเลย ไม่ยอม โอน ห้องชุด พิพาท ให้ โจทก์ จำเลย จึง เป็น ฝ่าย ผิดสัญญาส่วน ที่ จำเลย ฎีกา อีก ว่า ศาลชั้นต้น กำหนด ให้ จำเลย ใช้ ค่า ทนายความแทน โจทก์ จำนวน 28,500 บาท นั้น สูง เกิน ไป ศาลฎีกา เห็นว่า ศาลชั้นต้นกำหนด ค่า ทนายความ เหมาะสม แก่ พฤติการณ์ และ รูปคดี แล้ว ที่ ศาลอุทธรณ์พิพากษา มา ศาลฎีกา เห็นพ้อง ด้วย ฎีกา จำเลย ฟังไม่ขึ้น ”
พิพากษายืน

Share