แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ
ย่อสั้น
ห้างหุ้นส่วนมีทั้งทรัพย์สินและหนี้สินมีทั้งเจ้าหนี้และลูกหนี้เมื่อห้างหุ้นส่วนสามัญเลิกกันจึงต้องจัดให้มีการชำระบัญชีหรือตกลงกันให้จัดการทรัพย์สินโดยวิธีอื่นในระหว่างผู้เป็นหุ้นส่วนด้วยกันก่อนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1061วรรคแรก การที่โจทก์นำคดีมาฟ้องเรียกเงินค่าก่อสร้างที่โจทก์ลงทุนไปทั้งๆที่ยังมิได้มีการชำระบัญชีหรือตกลงกันให้จัดการทรัพย์สินของห้างหุ้นส่วนโดยวิธีอื่นระหว่างผู้เป็นหุ้นส่วนด้วยกันแต่อย่างใดนั้นเป็นกรณีที่มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติดังกล่าวโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องปัญหาข้อนี้เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้จำเลยทั้งสองไม่ได้ให้การต่อสู้เป็นประเด็นไว้ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา142(5)ประกอบด้วยมาตรา246และมาตรา247
ย่อยาว
โจทก์ ฟ้อง ว่า เมื่อ เดือน สิงหาคม 2530 จำเลย ทั้ง สอง ได้ว่า จ้างให้ โจทก์ ก่อสร้าง ตึกแถว สอง ชั้น จำนวน 18 ห้อง เป็น เงิน 3,180,000 บาทโดย โจทก์ จะ เป็น ผู้ ออก ค่า วัสดุ ก่อสร้าง และ ค่าใช้จ่าย ทั้งหมดการ ชำระ ค่าจ้าง แบ่ง ชำระ ตาม งวด ของ งาน รวม 5 งวด ใน วัน ตกลง ทำ สัญญาจำเลย ทั้ง สอง ได้ ชำระ เงินมัดจำ ค่าก่อสร้าง ให้ โจทก์ เป็น เงิน 150,000บาท แต่ มิได้ ทำ หลักฐาน การ ว่าจ้าง เป็น หนังสือ โจทก์ ก่อสร้าง งวด แรกของ งาน แล้ว เสร็จ เมื่อ เดือน พฤศจิกายน 2530 แต่ จำเลย ทั้ง สองยัง ไม่ได้ชำระ เงิน ค่าก่อสร้าง ให้ โจทก์ อ้างว่า ยัง ขอ กู้เงิน จาก ธนาคารไม่ได้ โจทก์ ก่อสร้าง ต่อมา จน งาน งวด ที่ 2 เสร็จ เมื่อ เดือน กุมภาพันธ์2531 คิด เป็น ค่าก่อสร้าง 2 งวด เป็น เงิน 1,000,000 บาท เมื่อ หักเงินมัดจำ แล้ว คง ค้างชำระ 850,000 บาท แต่ จำเลย ทั้ง สอง ไม่ได้ชำระแก่ โจทก์ และ จำเลย ทั้ง สอง ได้ ขอให้ โจทก์ เข้า เป็น หุ้นส่วน กันโดย จำเลย ทั้ง สอง ออก ทุน เป็น ที่ดิน ให้ โจทก์ ออก ทุน ก่อสร้าง แล้ว แบ่งผล กำไร กัน โดย หัก ต้นทุน กัน แล้ว จะ จ่าย ผล กำไร ให้ โจทก์ ห้อง ละ 60,000บาท โจทก์ ตกลง และ ได้ ก่อสร้าง ตึกแถว ต่อไป จาก งาน งวด ที่ 2 จน เสร็จถึง งาน งวด ที่ 4 สิ้น ค่าก่อสร้าง ไป อีก เป็น จำนวนเงิน 280,000 บาทโจทก์ ทราบ ว่า จำเลย รับ เงิน ค่าซื้อ ขาย ตึกแถว พร้อม ที่ดิน จาก ลูกค้าหลาย ราย แต่ ไม่เคย แบ่ง เงิน ให้ โจทก์ โจทก์ ทวงถาม จำเลย ทั้ง สอง เพิกเฉยโจทก์ จึง หยุด ก่อสร้าง ชั่วคราว เพื่อ คิด บัญชี กับ จำเลย ก่อน แต่ จำเลยไม่ยอม จ่าย และ จ้าง ช่าง อื่น มา ก่อสร้าง ต่อ จาก โจทก์ ต่อมา ได้ โอน ตึกพร้อม ที่ดิน ให้ แก่ บุคคลอื่น จน หมดสิ้น การกระทำ ของ จำเลย ทั้ง สองจึง เป็น การ ผิดสัญญา ทำให้ โจทก์ เสียหาย รวมเป็น เงิน ทั้งสิ้น1,193,045 บาท ขอให้ บังคับ จำเลย ทั้ง สอง ร่วมกัน หรือ แทน กัน ชำระ เงินจำนวน ดังกล่าว พร้อม ดอกเบี้ย
จำเลย ทั้ง สอง ให้การ ว่า ฟ้องโจทก์ เคลือบคลุม จำเลย ทั้ง สองไม่เคย ตกลง เข้าหุ้น ส่วน กับ โจทก์ ไม่เคย ตกลง จะ จ่าย ผล กำไร ให้ โจทก์ไม่ได้ ว่าจ้าง ให้ โจทก์ ก่อสร้าง ตึกแถว 18 ห้อง ใน คดี นี้ โจทก์ เป็นผู้ เสนอ ตัว เข้า ควบคุม ดูแล ก่อสร้าง ตึกแถว พิพาท ให้ แก่ จำเลย ทั้ง สอง เองคิด ค่าตอบแทน เป็น ราย ห้อง ห้อง ละ 20,000 บาท จะ ได้รับ เงิน ค่าตอบแทนเมื่อ จำเลย ขาย ตึกแถว พิพาท ได้ โจทก์ ตกลง กับ จำเลย ว่า จะ ดำเนินการควบคุม การ ก่อสร้าง ตึกแถว พิพาท แถว แรก จำนวน 9 ห้อง ให้ เสร็จ ก่อนแล้ว จึง จะ สร้าง แถว ที่ 2 อีก จำนวน 9 ห้อง จำเลย เป็น ผู้ออกเงินค่าซื้อ วัสดุ ก่อสร้าง ค่าแรง คนงาน และ ค่าใช้จ่าย ใน การ ก่อสร้าง เองทั้งหมด โจทก์ เป็น ผู้ หา คนงาน มา ก่อสร้าง คิด ค่าตอบแทน เป็น ราย ห้องห้อง ละ 20,000 บาท จำเลย ได้ จ่ายเงิน ค่าซื้อ วัสดุ ก่อสร้าง ค่าแรงงานและ ค่าใช้จ่าย ใน การ ก่อสร้าง ให้ โจทก์ ไป รวม 15 ครั้ง เป็น เงิน ทั้งสิ้น637,000 บาท เงิน จำนวน 150,000 บาท ที่ จำเลย จ่าย ให้ โจทก์ ใน ครั้งแรกและ ครั้งที่ สอง เป็น เงิน ค่าใช้จ่าย ใน การ ก่อสร้าง มิใช่ ค่า มัดจำการ ก่อสร้าง จำเลย ทั้ง สอง มิได้ ผิดสัญญา โจทก์ เป็น ฝ่าย ผิดสัญญา
ศาลชั้นต้น พิจารณา แล้ว พิพากษายก ฟ้อง
โจทก์ อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืน
โจทก์ ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “ปัญหา วินิจฉัย ตาม ฎีกา ของ โจทก์ ว่าโจทก์ มีสิทธิ ฟ้อง เรียกเงิน ดังกล่าว คืน หรือไม่ โจทก์ อ้างว่า เมื่อเบิกเงิน ค่าก่อสร้าง จาก จำเลย ทั้ง สอง ไม่ได้ ใน ปลาย เดือน มิถุนายน 2531โจทก์ จึง หยุด ก่อสร้าง ชั่วคราว เพื่อ คิด บัญชี กับ จำเลย หรือ หาก ตกลงกับ จำเลย ได้ ก็ จะ ก่อสร้าง ต่อ แต่เมื่อ ตกลง กัน ไม่ได้ จึง เลิกกัน เด็ดขาดโจทก์ ได้ รื้อ นั่งร้าน และ บ้านพัก คนงาน ออก ไป จาก บริเวณ ก่อสร้างจำเลย ก็ อ้างว่า เมื่อ โจทก์ กระทำการ ดังกล่าว จำเลย ทั้ง สอง ได้ ไป ตามนาย บุญโถม สว่างอารมณ์ มา เฝ้า ของ และ จ้าง นาย ชอบ แตงเขียว กับพวก มา ทำการ ก่อสร้าง ต่อ แสดง ให้ เห็นว่า โจทก์ และ จำเลย ทั้ง สองสมัครใจ เลิก ห้างหุ้นส่วน สามัญ กัน โดย สิ้นเชิง แม้ ข้อเท็จจริงจะ ฟังได้ ดังกล่าว การ เลิก ห้างหุ้นส่วน ก็ จะ ต้อง ปฏิบัติ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ว่าด้วย การ เลิก และ ชำระ บัญชีห้างหุ้นส่วน สามัญ ข้อเท็จจริง ได้ความ ว่า ทรัพย์สิน ของ ห้างหุ้นส่วนมี ที่ดิน และ ตึกแถว ที่อยู่ ใน ระหว่าง ก่อสร้าง 18 ห้อง โจทก์ และ จำเลยทั้ง สอง ยัง โต้เถียง กัน เรื่อง ค่าใช้จ่าย ใน การ ก่อสร้าง จำนวนเงินที่ โจทก์ ลงทุน ไป เงิน ที่ จำเลย จ่าย ให้ โจทก์ แล้ว และ เรื่อง อื่น ๆเห็น ได้ว่า ห้างหุ้นส่วน มี ทั้ง ทรัพย์สิน และ หนี้สิน มี ทั้ง เจ้าหนี้และ ลูกหนี้ เมื่อ ห้างหุ้นส่วน สามัญ เลิกกัน จึง ต้อง จัด ให้ มี การ ชำระบัญชี หรือ ตกลง กัน ให้ จัดการ ทรัพย์สิน โดย วิธี อื่น ใน ระหว่าง ผู้เป็นหุ้นส่วน ด้วยกัน ก่อน ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1061 วรรคแรก เพื่อ ให้ ทราบ ว่า กิจการ มี กำไร หรือ ขาดทุน หุ้นส่วนแต่ละ คน มีสิทธิ ได้รับ ส่วนแบ่ง เท่าใด หรือ จะ ต้อง ชดใช้ ให้ ห้างหุ้นส่วนเพียงใด แล้ว จึง มีสิทธิ เรียก เอา เงิน หรือ ทรัพย์สิน ของ ห้างหุ้นส่วนนั้น ได้ การ ที่ โจทก์ นำ คดี มา ฟ้อง เรียกเงิน ค่าก่อสร้าง ที่ โจทก์ ลงทุน ไปทั้ง ๆ ที่ ยัง มิได้ มี การ ชำระ บัญชี หรือ ตกลง กัน ให้ จัดการ ทรัพย์สินของ ห้างหุ้นส่วน โดย วิธี อื่น ระหว่าง ผู้เป็นหุ้นส่วน ด้วยกัน แต่อย่างใดนั้น เป็น กรณี ที่ มิได้ ปฏิบัติ ตาม บทบัญญัติ ดังกล่าว โจทก์ จึงไม่มี อำนาจฟ้อง ปัญหา ข้อ นี้ เกี่ยว ด้วย ความสงบ เรียบร้อย ของ ประชาชนแม้ จำเลย ทั้ง สอง ไม่ได้ ให้การ ต่อสู้ เป็น ประเด็น ไว้ ศาลฎีกา ก็ มีอำนาจ ยกขึ้น วินิจฉัย ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 142(5) ประกอบ ด้วย มาตรา 246 และ มาตรา 247 เมื่อ วินิจฉัยดังกล่าว แล้ว ฎีกา ของ โจทก์ ข้อ อื่น จึง ไม่จำต้อง วินิจฉัย ศาลอุทธรณ์พิพากษา ชอบแล้ว ฎีกา โจทก์ ฟังไม่ขึ้น ”
พิพากษายืน