คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4702/2538

แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

ย่อสั้น

คดีนี้ไม่ว่าความผิดอาญาได้เกิดในเขตอำเภอ ดอนสักจังหวัดสุราษฎร์ธานีหรือเกิดในเขตอำเภอ ขนอม จังหวัดนครศรีธรรมราชก็ตามแต่เมื่อปรากฎว่าจำเลยทั้งเจ็ดมีที่อยู่ในเขตอำนาจของพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอ ขนอม จังหวัดนครศรีธรรมราชแล้วพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอ ขนอม ย่อมมีอำนาจสอบสวนความผิดคดีนี้ได้การสอบสวนจึงชอบแล้วโจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องต่อศาลชั้นต้นซึ่งพนักงานสอบสวนได้ทำการสอบสวนในท้องที่ดังกล่าวได้ศาลชั้นต้นจึงมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีนี้ การแจ้งข้อหาให้จำเลยทราบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา134นั้นหาได้หมายความว่าพนักงานสอบสวนจะต้องแจ้งข้อหาทุกกระทงความผิดไม่แม้เดิมตั้งข้อหาหนึ่งแต่เมื่อสอบสวนแล้วปรากฎว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดข้อหาอื่นด้วยก็เรียกได้ว่ามีการสอบสวนในความผิดข้อหาหลังตามนัยแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา120แล้วทั้งการทำไม้หวงห้ามการแปรรูปไม้ในเขตควบคุมการมีไม้แปรรูปไว้ในครอบครองและการมีไว้ในครอบครองซึ่งไม้หวงห้ามอันยังมิได้แปรรูปโดยมิได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นการกระทำอันเป็นความผิดต่างกรรมกันดังนั้นแม้จะมิได้มีการแจ้งข้อหาจำเลยที่4และที่7ฐานมีไว้ในครอบครองซึ่งไม้หวงห้ามอันยังมิได้แปรรูปแต่เมื่อสอบสวนแล้วปรากฎว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดข้อหานี้ด้วยก็เรียกได้ว่ามีการสอบสวนในความผิดข้อหานี้แล้วโจทก์มีอำนาจฟ้องศาลมีอำนาจลงโทษจำเลยที่4และที่7ในความผิดข้อหานี้ได้

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ว่า เมื่อ วันที่ 20 พฤศจิกายน 2533 เวลา กลางวันจำเลย ทั้ง เจ็ด กับพวก อีก 1 คน ซึ่ง หลบหนี ยัง ไม่ได้ ตัว มา ฟ้องได้ ร่วมกัน ทำ ไม้หวงห้าม ประเภท ก. ใน ป่าควรเหรง โดย ตัด ฟัน ออกจากต้น แล้ว ทอน เป็น ท่อน ๆ และ เป็น แผ่น รวม 10 ท่อน 671 แผ่น ปริมาตรรวมทั้งสิ้น 31.38 ลูกบาศก์เมตร โดย ไม่ได้ รับ อนุญาต แล้ว จำเลยทั้ง เจ็ด กับพวก ได้ ร่วมกัน แปรรูป ไม้ ดังกล่าว โดย เลื่อย ออก เป็น แผ่นจำนวน 671 แผ่น ปริมาตร 12.63 ลูกบาศก์เมตร อันเป็น การ ทำให้ไม้ เปลี่ยน รูป และ ขนาด ไป จาก เดิม โดย ไม่ได้ รับ อนุญาต จากพนักงาน เจ้าหน้าที่ จาก นั้น จำเลย ทั้ง เจ็ด กับพวก ได้ ร่วมกัน มีไม้แปรรูป ดังกล่าว ไว้ ใน ครอบครอง โดย ไม่ได้ รับ อนุญาต แล้ว จำเลยทั้ง เจ็ด กับพวก ได้ ร่วมกัน มี ไม้หวงห้าม ประเภท ก. ซึ่ง ยัง ไม่ได้ แปรรูปจำนวน 10 ท่อน ปริมาตร 18.75 ลูกบาศก์เมตร ไว้ ใน ครอบครอง โดยไม้ เหล่านี้ ไม่มี รอย ตรา ค่าภาคหลวง หรือ รอย ตรา รัฐบาล ขาย เหตุ ทั้งหมดเกิด ที่ ตำบล ควนทอง อำเภอขนอม จังหวัด นครศรีธรรมราช ใน วันเกิดเหตุ เจ้าพนักงาน จับกุม จำเลย ทั้ง เจ็ด กับพวก ได้ และ ยึด ไม้ ดังกล่าว ไว้ เป็นของกลาง ระหว่าง นำตัว จำเลย ทั้ง เจ็ด กับพวก ส่ง พนักงานสอบสวน พวก ของจำเลย ได้ หลบหนี ไป ได้ ขอให้ ลงโทษ ตาม พระราชบัญญัติ ป่าไม้ พ.ศ. 2484มาตรา 11, 48, 69, 74, 74 ทวิ , 74 จัตวา ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 83, 91 ริบของกลาง ทั้งหมด และ จ่าย สินบน นำ จับ แก่ ผู้นำจับตาม กฎหมาย
จำเลย ทั้ง เจ็ด ให้การ ปฏิเสธ
ศาลชั้นต้น พิจารณา แล้ว พิพากษา ว่า จำเลย ทั้ง เจ็ด มี ความผิดตาม พระราชบัญญัติ ป่าไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา 11 วรรคหนึ่ง 48 วรรคหนึ่ง69 วรรคสอง (1)(2) 73 วรรคสอง (1)(2) เป็น การกระทำ ต่าง กรรม ต่าง วาระให้ เรียง กระทง ลงโทษ ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 แม้ จำเลย ที่ 3ที่ 4 และ ที่ 5 อายุ ไม่เกิน 20 ปี แต่ ไม่สมควร ลด มาตรา ส่วน โทษ ให้ฐาน ร่วมกัน ทำ ไม้ ให้ จำคุก จำเลย ที่ 1 ไว้ 14 ปี ส่วน จำเลย อื่น ให้จำคุก คน ละ 10 ปี ฐาน ร่วมกัน แปรรูป ไม้ ให้ จำคุก จำเลย ที่ 1 ไว้ 10 ปีจำเลย อื่น ให้ จำคุก คน ละ 6 ปี ฐาน มี ไม้แปรรูป ไว้ ใน ครอบครอง ให้ จำคุกจำเลย ที่ 1 ไว้ 10 ปี ส่วน จำเลย อื่น ให้ จำคุก คน ละ 6 ปี ฐาน มี ไม้ยัง มิได้ แปรรูป ไว้ ใน ครอบครอง ให้ จำคุก จำเลย ที่ 1 ไว้ 8 ปีส่วน จำเลย อื่น ให้ จำคุก คน ละ 4 ปี จำเลย ทั้ง เจ็ด ให้การรับสารภาพชั้น จับกุม และ ชั้นสอบสวน เป็น ประโยชน์ แก่ การ พิจารณา คดี มีเหตุบรรเทา โทษ ลดโทษ ให้ คน ละ หนึ่ง ใน สาม ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78คง ลงโทษ จำเลย ที่ 1 ไว้ กระทง ละ 9 ปี 4 เดือน 6 ปี 8 เดือน6 ปี 8 เดือน และ 5 ปี 4 เดือน รวม จำคุก จำเลย ที่ 1 มี กำหนด26 ปี 24 เดือน ส่วน จำเลย อื่น จำคุก กระทง ละ 6 ปี 8 เดือน 4 ปี 4 ปีและ 2 ปี 8 เดือน รวม จำคุก จำเลย ที่ 2 ถึง ที่ 7 คน ละ 16 ปี 16 เดือนริบของกลาง ทั้งหมด ส่วน คำขอ ให้ จ่าย สินบน แก่ ผู้นำจับ นั้น เมื่อ ศาลมิได้ ลงโทษ ปรับ จึง ให้ยก คำขอ ส่วน นี้
จำเลย ทั้ง เจ็ด อุทธรณ์
ใน ระหว่าง พิจารณา ของ ศาลอุทธรณ์ ภาค 3 จำเลย ที่ 1 ขอ ถอน อุทธรณ์ศาลอุทธรณ์ ภาค 3 อนุญาต ให้ จำหน่ายคดี เฉพาะ อุทธรณ์ ของ จำเลย ที่ 1
ศาลอุทธรณ์ ภาค 3 พิพากษาแก้ เป็น ว่า จำเลย ที่ 3 ที่ 4 และ ที่ 5อายุ กว่า สิบ เจ็ด ปี แต่ ยัง ไม่เกิน ยี่สิบ ปี สมควร ลด มาตรา ส่วน โทษให้ หนึ่ง ใน สาม ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 76 ฐาน ร่วมกัน ทำ ไม้ให้ จำคุก จำเลย ที่ 1 ที่ 2 ที่ 6 ที่ 7 คน ละ 7 ปี จำคุก จำเลย ที่ 3ที่ 4 ที่ 5 คน ละ 4 ปี 8 เดือน ฐาน ร่วมกัน แปรรูป ไม้ ให้ จำคุกจำเลย ที่ 1 ที่ 2 ที่ 6 ที่ 7 คน ละ 6 ปี จำคุก จำเลย ที่ 3 ที่ 4ที่ 5 คน ละ 4 ปี ฐาน ร่วมกัน มี ไม้แปรรูป ไว้ ใน ครอบครอง จำคุกจำเลย ที่ 1 ที่ 2 ที่ 6 ที่ 7 คน ละ 7 ปี จำคุก จำเลย ที่ 3 ที่ 4ที่ 5 คน ละ 4 ปี ฐาน ร่วมกัน มี ไม้แปรรูป ไว้ ใน ครอบครอง จำคุกจำเลย ที่ 1 ที่ 2 ที่ 6 ที่ 7 คน ละ 6 ปี จำคุก จำเลย ที่ 3 ที่ 4 ที่ที่ 5 คน ละ 2 ปี 8 เดือน จำเลย ทั้ง เจ็ด ให้การรับสารภาพ ใน ชั้นสอบสวนเป็น ประโยชน์ แก่ การ พิจารณา มีเหตุ บรรเทา โทษ ลดโทษ ให้ คน ละ หนึ่ง ใน สามตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 ฐาน ร่วมกัน ทำ ไม้ จำคุก จำเลย ที่ 1ที่ 2 ที่ 6 ที่ 7 คน ละ 4 ปี 8 เดือน จำคุก จำเลย ที่ 3 ที่ 4 ที่ 5คน ละ 3 ปี 1 เดือน 10 วัน ฐาน ร่วมกัน แปรรูป ไม้ จำคุก จำเลย ที่ 1ที่ 2 ที่ 6 ที่ 7 คน ละ 4 ปี จำคุก จำเลย ที่ 3 ที่ 4 ที่ 5 คน ละ2 ปี 8 เดือน ฐาน ร่วมกัน มี ไม้แปรรูป ไว้ ใน ครอบครอง จำคุก จำเลย ที่ 1ที่ 2 ที่ 6 ที่ 7 คน ละ 4 ปี จำคุก จำเลย ที่ 3 ที่ 4 ที่ 5 คน ละ2 ปี 8 เดือน ฐาน ร่วมกัน มี ไม้ ยัง ไม่ แปรรูป ไว้ ใน ครอบครอง จำคุกจำเลย ที่ 1 ที่ 2 ที่ 7 คน ละ 2 ปี 8 เดือน จำคุก จำเลย ที่ 3 ที่ 4ที่ 5 คน ละ 1 ปี 9 เดือน 10 วัน รวม 4 กระทง จำคุก จำเลย ที่ 1ที่ 2 ที่ 6 ที่ 7 คน ละ 14 ปี 16 เดือน จำคุก จำเลย ที่ 3 ที่ 4ที่ 5 คน ละ 8 ปี 26 เดือน 20 วัน นอกจาก ที่ แก้ คง ให้ เป็น ไป ตามคำพิพากษา ศาลชั้นต้น
จำเลย ที่ 4 ที่ 7 ฎีกา โดย ผู้พิพากษา ซึ่ง พิจารณา และ ลงชื่อใน คำพิพากษา ศาลชั้นต้น อนุญาต ให้ ฎีกา ใน ปัญหาข้อเท็จจริง
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า ปัญหา แรก มี ว่า พนักงานสอบสวน สถานีตำรวจภูธรอำเภอ ขนอม มีอำนาจ สอบสวน หรือไม่ จำเลย ที่ 4 และ ที่ 7 ฎีกา ว่า สถานที่เกิดเหตุ อยู่ ใน เขต อำเภอ ดอนสัก จังหวัด สุราษฎร์ธานี พนักงานสอบสวน สถานีตำรวจภูธร อำเภอ ขนอม จังหวัด นครศรีธรรมราช ไม่มี อำนาจ สอบสวน ศาลชั้นต้น จึง ไม่มี อำนาจ พิจารณา พิพากษาคดี นี้เห็นว่า คดี นี้ ไม่ว่า ความผิด อาญา ได้ เกิด ใน เขต อำเภอ ดอนสัก จังหวัด สุราษฎร์ธานี หรือ เกิด ใน เขต อำเภอ ขนอม จังหวัด นครศรีธรรมราช ก็ ตาม แต่เมื่อ ปรากฎ ว่า จำเลย ทั้ง เจ็ด มี ที่อยู่ ใน เขตอำนาจ ของพนักงานสอบสวน สถานีตำรวจภูธร อำเภอ ขนอม จังหวัด นครศรีธรรมราช แล้ว พนักงานสอบสวน สถานีตำรวจภูธร อำเภอ ขนอม ย่อม มีอำนาจ สอบสวน ความผิด คดี นี้ ได้ การ สอบสวน จึง ชอบแล้ว โจทก์ ย่อม มีอำนาจ ฟ้อง ต่อศาลชั้นต้น ซึ่ง พนักงานสอบสวน ได้ ทำการ สอบสวน ใน ท้องที่ ดังกล่าว ได้ศาลชั้นต้น จึง มีอำนาจ พิจารณา พิพากษาคดี นี้
ปัญหา ต่อไป มี ว่า การ ที่ ศาล ลงโทษ จำเลย ที่ 4 และ ที่ 7รวม 4 กระทง นั้น เป็น การ ชอบ หรือไม่ เห็นว่า การ แจ้ง ข้อหา ให้ จำเลยตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 134 นั้น หา ได้หมายความ ว่า พนักงานสอบสวน จะ ต้อง แจ้ง ข้อหา ทุกกระทง ความผิด ไม่แม้ เดิม ตั้ง ข้อหา หนึ่ง แต่เมื่อ สอบสวน แล้ว ปรากฎ ว่าการ กระทำ ของ จำเลยเป็น ความผิด ข้อหา อื่น ด้วย ก็ เรียก ได้ว่า มี การ สอบสวน ใน ความผิดข้อหา หลัง ตาม นัย แห่ง ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 120 แล้วทั้ง การ ทำ ไม้หวงห้าม การ แปรรูป ไม้ ใน เขตควบคุม การ มี ไม้แปรรูป ไว้ใน ครอบครอง และ การ มีไว้ ใน ครอบครอง ซึ่ง ไม้หวงห้าม อัน ยัง มิได้ แปรรูปโดย มิได้ รับ อนุญาต จาก พนักงาน เจ้าหน้าที่ เป็น การกระทำ อันเป็น ความผิดต่าง กรรม กัน ดังนั้น แม้ จะ มิได้ มี การ แจ้ง ข้อหา จำเลย ที่ 4 และ ที่ 7ฐาน มีไว้ ใน ครอบครอง ซึ่ง ไม้หวงห้าม อัน ยัง มิได้ แปรรูป ก็ เรียก ได้ว่ามี การ สอบสวน ใน ความผิด ข้อหา นี้ แล้ว โจทก์ มีอำนาจ ฟ้อง ศาล มีอำนาจลงโทษ จำเลย ที่ 4 และ ที่ 7 ใน ความผิด ข้อหา นี้ ได้ ที่ ศาลอุทธรณ์ ภาค 3ลงโทษ จำเลย ที่ 4 และ ที่ 7 รวม 4 กระทง ชอบแล้ว ฎีกา จำเลย ที่ 4และ ที่ 7 ฟังไม่ขึ้น
พิพากษายืน

Share