คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3133/2538

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

จำเลยที่1ได้สละการครอบครองและส่งมอบการครอบครองที่พิพาทซึ่งมี ข้อกำหนดห้ามโอนภายในสิบปีให้โจทก์เข้าครอบครองทำประโยชน์และโจทก์ได้ชำระราคาค่าที่พิพาทให้แก่จำเลยที่1แล้วจึงได้มาทำสัญญาจะซื้อขายกันในภายหลังแม้จะกำหนดให้ไปจดทะเบียนโอนที่พิพาทกันเมื่อพ้นระยะเวลาห้ามโอนก็ถือไม่ได้ว่าระยะเวลาดังกล่าวเป็น เงื่อนเวลาไปจดทะเบียนการโอนฟังไม่ได้ว่าสัญญาที่ทำกันไว้เป็น สัญญาจะซื้อจะขายและสัญญาดังกล่าวย่อมมีวัตถุประสงค์ต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายตกเป็น โมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา150โจทก์จึง ไม่มี อำนาจฟ้องขอให้จำเลยที่1โอนที่พิพาทแม้จะพ้นกำหนดเวลาห้ามโอนแล้วก็ตาม

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ว่า จำเลย ที่ 1 ทำ สัญญา ขาย ที่ดิน ให้ โจทก์ ใน ราคา52,000 บาท จำเลย ที่ 1 ได้รับ เงิน ไป ครบถ้วน แล้ว ตกลง จะ ส่งมอบหนังสือรับรองการทำประโยชน์ ให้ โจทก์ ภายใน เวลา 1 ปี นับแต่ วัน ทำ สัญญาและ จะ โอน ที่ดิน ดังกล่าว ให้ โจทก์ ภายใน เวลา 3 เดือน นับแต่ วัน พ้น กำหนดห้ามโอน โดย จำเลย ที่ 2 เป็น ผู้ค้ำประกัน การ ปฏิบัติ ตาม สัญญา ของจำเลย ที่ 1 เมื่อ ครบ กำหนด ระยะเวลา ตาม สัญญา จำเลย ที่ 1 ไม่ปฏิบัติ ตามปัจจุบัน ที่ดิน ของ จำเลย ที่ 1 ติด จำนอง ธนาคาร เพื่อ การเกษตรและ สหกรณ์การเกษตร ขอให้ บังคับ จำเลย ที่ 1 ไป ไถ่ถอน จำนอง ที่ดิน แล้วโอน ให้ แก่ โจทก์ หาก จำเลย ที่ 1 ไม่ปฏิบัติ ตาม ขอให้ ถือเอา คำพิพากษาของ ศาล แทน การแสดง เจตนา ของ จำเลย ที่ 1 โดย ให้ โจทก์ ไป ไถ่ถอน จำนองและ โอน ที่ดิน ดังกล่าว เป็น ของ โจทก์ หาก โจทก์ ต้อง เสีย ค่าใช้จ่ายไป เพียงใด ให้ จำเลย ทั้ง สอง ร่วมกัน ชดใช้ แก่ โจทก์
จำเลย ที่ 1 ให้การ ว่า ที่พิพาท มี ข้อกำหนด ห้ามโอน ภายใน 10 ปีจำเลย ที่ 1 มิได้ ทำ สัญญา ขาย ที่พิพาท ให้ โจทก์ สัญญาซื้อขาย ที่ โจทก์อ้าง เป็น โมฆะ ขอให้ ยกฟ้อง
จำเลย ที่ 2 ขาดนัด ยื่นคำให้การ
ศาลชั้นต้น พิพากษา ให้ จำเลย ที่ 1 ไป ไถ่ถอน จำนอง ที่ดิน ตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. 3) เล่ม 7 หน้า 88 สารบบ เล่มหน้า 750 หมู่ ที่ 5 ตำบล หนองรี อำเภอบ่อพลอย จังหวัด กาญจนบุรี แล้ว โอน ให้ โจทก์ หาก จำเลย ที่ 1 ไม่ปฏิบัติ ตาม ให้ ถือเอา คำพิพากษาแทน การแสดง เจตนา ของ จำเลย ที่ 1 ให้ โจทก์ ไป ไถ่ถอน จำนอง และ ทำนิติกรรมโอน ที่ดิน ดังกล่าว แก่ โจทก์ และ โจทก์ เสีย ค่าใช้จ่าย ใน การ ไถ่ถอน จำนองเพียงใด ให้ จำเลย ทั้ง สอง ร่วมกัน ชดใช้ คืน โจทก์
จำเลย ที่ 1 อุทธรณ์
ระหว่าง พิจารณา ของ ศาลอุทธรณ์ จำเลย ที่ 2 ถึงแก่กรรมนาง บุญช่วย ศรีบัวดก ภริยา จำเลย ที่ 2 ยื่น คำร้องขอ เข้า เป็น คู่ความ แทน ศาลอุทธรณ์ อนุญาต
ศาลอุทธรณ์ พิพากษากลับ ให้ยก ฟ้องโจทก์
โจทก์ ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “คดี มี ข้อ วินิจฉัย ตาม ฎีกา โจทก์ เฉพาะข้อกฎหมาย ว่า สัญญา ที่ โจทก์ และ จำเลย ที่ 1 ทำ กัน ไว้ ตาม เอกสาร หมาย จ. 3เป็น สัญญาจะซื้อจะขาย หรือไม่ โจทก์ ฎีกา ว่า สัญญา ที่ โจทก์ ทำ กับจำเลย ที่ 1 ไม่ได้ หลีกเลี่ยง กฎหมาย เพราะ ใน ช่วง ระยะเวลา ห้ามโอนจำเลย ที่ 1 ยัง คง เป็น เจ้าของ ที่พิพาท ตลอดมา และ โจทก์ เพิ่ง จะ มาใช้ สิทธิ ตาม สัญญา เมื่อ พ้น ระยะเวลา ห้ามโอน แล้ว สัญญา ที่ โจทก์ ทำ กับจำเลย ที่ 1 จึง เป็น สัญญาจะซื้อจะขาย พิเคราะห์ แล้ว ข้อเท็จจริงฟังได้ เป็น ยุติ ตาม ที่ ศาลอุทธรณ์ รับฟัง มา ว่า ที่พิพาท เป็น ที่ดินมี หนังสือรับรองการทำประโยชน์ ที่ ทางราชการ ห้ามโอน ภายใน สิบ ปีโจทก์ และ จำเลย ที่ 1 ได้ ทำ สัญญา กัน ดังกล่าว ใน ช่วง เวลา ที่พิพาทอยู่ ใน ระหว่าง ห้ามโอน ศาลฎีกา ได้ พิเคราะห์ สัญญา เอกสาร หมาย จ. 3ที่ โจทก์ และ จำเลย ที่ 1 ทำ กัน ไว้ แล้ว สัญญา ฉบับนี้ ทำ กัน วันที่ 23พฤษภาคม 2530 ได้ ระบุ ไว้ ว่า เป็น สัญญาจะซื้อจะขาย และ ใช้ คำ ว่าผู้จะซื้อ และ ผู้จะขาย แทน ตัว คู่สัญญา เห็นว่า สัญญา ที่ ทำ กัน นั้นจะ เป็น สัญญา ประเภท ใด ไม่ได้ ขึ้น อยู่ ที่ ชื่อ ของ สัญญา และ ถ้อยคำที่ ใช้ แทน คู่สัญญา แต่ อยู่ ที่ เนื้อหา ของ สัญญา เป็น สำคัญ สัญญา ที่โจทก์ ทำ กับ จำเลย ที่ 1 มี ใจความ เป็น สำคัญ ใน ข้อ 1 ว่า โจทก์ ผู้จะซื้อตกลง จะซื้อ ที่พิพาท จาก จำเลย ที่ 1 ผู้จะขาย จำเลย ที่ 1 ผู้จะขายได้ สละ การ ครอบครอง และ มอบ การ ครอบครอง ที่พิพาท ให้ โจทก์ ผู้จะซื้อครอบครอง ทำประโยชน์ โดย เด็ดขาด แล้ว ตั้งแต่ ปี 2527 ใน ข้อ 2 ว่าจำเลย ที่ 1 ผู้จะขาย ได้รับ เงิน ค่า ที่พิพาท จาก โจทก์ ผู้จะซื้อครบถ้วน แล้ว ตั้งแต่ วันที่ 6 สิงหาคม 2528 และ ใน ข้อ 5 ว่า เมื่อ พ้นกำหนด ของ ทางราชการ ที่ ห้ามโอน ที่พิพาท แล้ว จำเลย ที่ 1 ผู้จะขายจะ ไป จัดการ จดทะเบียน โอน ที่พิพาท ให้ แก่ โจทก์ ผู้จะซื้อ ภายใน เวลาไม่เกิน 3 เดือน จาก ข้อความ ใน สัญญา ที่ โจทก์ และ จำเลย ที่ 1 ทำ กัน ไว้ดังกล่าว จำเลย ที่ 1 ได้ สละ การ ครอบครอง และ ส่งมอบ การ ครอบครองที่พิพาท ให้ โจทก์ เข้า ครอบครอง ทำประโยชน์ โดย เด็ดขาด และ โจทก์ ได้ ชำระราคา ค่า ที่พิพาท ให้ แก่ จำเลย ที่ 1 รับ ไป ครบถ้วน แล้ว จึง ได้ มา ทำสัญญา กัน ใน ภายหลัง เห็นว่า ถ้า สัญญา ที่ ทำ กัน เป็น สัญญาจะซื้อจะขายจำเลย ที่ 1 ก็ ไม่ต้อง สละ การ ครอบครอง และ มอบ การ ครอบครอง ที่พิพาทให้ แก่ โจทก์ และ โจทก์ ก็ ไม่ต้อง ชำระ ราคา ค่า ที่พิพาท ให้ แก่ จำเลย ที่ 1จน ครบถ้วน ก่อน ที่ จะ ไป จดทะเบียน โอน กัน ส่วน ที่ กำหนด ระยะเวลา ไปจดทะเบียน โอน ที่พิพาท กัน เมื่อ พ้น กำหนด ระยะเวลา ห้ามโอน ก็ เพราะ จะ ไปจดทะเบียน โอน ก่อนหน้า นั้น ไม่ได้ เนื่องจาก ที่พิพาท มี ข้อกำหนด ห้ามโอนภายใน สิบ ปี ไว้ ดังนี้ ที่ โจทก์ และ จำเลย ที่ 1 กำหนด ระยะเวลาไป จดทะเบียน กัน ไว้ เช่นนั้น จึง เป็น ข้อกำหนด ที่ ทำ ขึ้น เพื่อ หลีกเลี่ยงข้อกำหนด ห้ามโอน ของ ทางราชการ ถือไม่ได้ว่า กำหนด ระยะเวลา ดังกล่าวเป็น เงื่อนเวลา ไป จดทะเบียน การ โอน คดี ฟัง ไม่ได้ ว่า สัญญา ที่ โจทก์และ จำเลย ที่ 1 ทำ กัน ไว้ ตาม เอกสาร หมาย จ. 3 เป็น สัญญาจะซื้อจะขายและ สัญญา ดังกล่าว ย่อม เป็น การ อัน มี วัตถุประสงค์ ต้องห้าม ชัดแจ้งโดย กฎหมาย จึง ตกเป็น โมฆะ ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 150ศาลอุทธรณ์ พิพากษา มา นั้น ศาลฎีกา เห็นพ้อง ด้วย ใน ผล ฎีกา โจทก์ฟังไม่ขึ้น ”
พิพากษายืน

Share