แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ
ย่อสั้น
คดีที่มีทุนทรัพย์พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ไม่เกิน50,000บาทต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา224วรรคหนึ่งแม้ผู้พิพากษาที่ได้พิจารณาในศาลชั้นต้นจะรับรองให้ฎีกาในข้อเท็จจริงก็ไม่อาจฎีกาได้เพราะเป็นข้อเท็จจริงที่มิได้ยกขึ้นว่ากันแล้วในศาลอุทธรณ์ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา249วรรคหนึ่งศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ย่อยาว
โจทก์ ฟ้อง ขอให้ บังคับ จำเลย ส่งมอบ ทรัพย์มรดก ของนาย หา พรหมพินิจ ที่ ครอบครอง อยู่ คืน โจทก์ ทั้งหมด ห้าม จำเลย และ บริวาร เข้า เกี่ยวข้อง และ ให้ จำเลย ไป ทำการ โอน ทาง ทะเบียน ใน ทรัพย์มรดกของ นาย หา ที่ จำเลย ได้รับ โอน ไป แล้ว คืน ให้ โจทก์ หาก จำเลย ไม่ปฏิบัติ ตาม ให้ ถือเอา คำพิพากษา แทน การแสดง เจตนา ของ จำเลย
จำเลย ให้การ ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิพากษา ให้ จำเลย ส่งมอบ หรือ จดทะเบียน โอนสิทธิครอบครอง บ้าน และ ที่ดิน ตาม หนังสือรับรองการทำประโยชน์ เลขที่ 820ตำบล หนองลาด อำเภอวาริชภูมิ จังหวัด สกลนคร และ ที่ดิน ตาม หนังสือ รับรอง การ ทำประโยชน์ เล่ม 9 หน้า 93 สารบบ เลขที่ 104 ตำบล คำบ่อ อำเภอ วาริชภูมิ จังหวัด สกลนคร ให้ แก่ โจทก์ หาก ไม่ปฏิบัติ ตาม ให้ ถือเอา คำพิพากษา แทน เจตนา
จำเลย อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ ภาค 1 พิพากษายก อุทธรณ์ ของ จำเลย
จำเลย ฎีกา โดย ผู้พิพากษา ที่ ได้ นั่งพิจารณา คดี ใน ศาลชั้นต้นรับรอง ให้ ฎีกา ใน ข้อเท็จจริง
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “คดี นี้ จำเลย ฎีกา ทั้ง ใน ข้อเท็จจริง และข้อกฎหมาย สำหรับ ฎีกา ใน ข้อเท็จจริง ตาม ฎีกา ข้อ 2.1 นั้น จำเลย ฎีกา ว่าพยานหลักฐาน โจทก์ ยัง ฟัง ไม่ได้ ว่า โจทก์ เป็น บุตร ของ นาย หา เจ้ามรดก เห็นว่า คดี นี้ เป็น คดี ที่ มี ทุนทรัพย์ พิพาท กัน ใน ชั้นอุทธรณ์ ไม่เกิน50,000 บาท จึง ต้องห้าม อุทธรณ์ ใน ข้อเท็จจริง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224 วรรคหนึ่ง อีก ทั้งผู้พิพากษา ที่ ได้ พิจารณา คดี ใน ศาลชั้นต้น ก็ มิได้ รับรอง ให้ อุทธรณ์ ในข้อเท็จจริง ข้อเท็จจริง ใน คดี จึง ไม่อาจ ขึ้น มา สู่ ศาลอุทธรณ์ ได้ดังนั้น ใน ชั้น ศาลฎีกา แม้ ผู้พิพากษา ที่ ได้ พิจารณา คดี ใน ศาลชั้นต้น จะได้รับ รอง ให้ ฎีกา ใน ข้อเท็จจริง แล้ว ก็ ตาม ข้อเท็จจริง ดังกล่าว ใน คดี ก็ไม่อาจ ขึ้น มา สู่ ศาลฎีกา ได้ เพราะ เป็น ข้อเท็จจริง ที่ มิได้ ยกขึ้น มาว่ากล่าว กัน แล้ว ใน ศาลอุทธรณ์ ไม่ชอบ ด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับ วินิจฉัย ส่วน ที่ จำเลย ฎีกา ข้อ 2.2 ว่า ”
พิพากษายืน