คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2312/2538

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

โจทก์ฟ้องว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์และโจทก์ครอบครองตลอดมาโจทก์ยื่นคำร้องขอออกโฉนดที่ดินจำเลยทั้งสองโต้แย้งคัดค้านว่าที่ดินพิพาทเป็นที่สาธารณประโยชน์เป็นเหตุให้เจ้าพนักงานที่ดินไม่ยอมออกโฉนดที่ดินพิพาทให้ย่อมเป็นการ โต้แย้งสิทธิของโจทก์โจทก์จึงมี อำนาจฟ้องโดยหาจำต้องปฏิบัติตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา60ไม่เพราะโจทก์มิได้ฟ้องจำเลยทั้งสองในฐานะเจ้าพนักงานผู้ออกโฉนดที่ดิน

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ขอให้ พิพากษา ว่า ที่ดิน ของ โจทก์ ตาม หนังสือ รับรองการ ทำประโยชน์ เลขที่ 157 เนื้อที่ ประมาณ 3 งาน 5 ตารางวาไม่ใช่ ที่สาธารณประโยชน์ และ ให้ จำเลย ทั้ง สอง เพิกถอน คำคัดค้าน การ ออกโฉนด ที่ดิน แปลง นี้ และ ให้ รับรอง แนวเขต ภายใน 15 วัน นับแต่ วันที่พิพากษา หาก ไม่ เพิกถอน และ รับรอง แนวเขต ภายใน กำหนด เวลา ดังกล่าวให้ ถือเอา คำพิพากษา แทน การแสดง เจตนา
จำเลย ทั้ง สอง ให้การ ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิพากษายก ฟ้อง
โจทก์ อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ วินิจฉัย ว่า โจทก์ ยัง ไม่ได้ ดำเนินการ ตาม ขั้นตอน ที่บัญญัติ ไว้ ใน มาตรา 60 แห่ง ประมวลกฎหมายที่ดิน จึง ไม่มี อำนาจฟ้องพิพากษายืน
โจทก์ ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “มี ปัญหา วินิจฉัย ตาม ฎีกา ของ โจทก์ ว่าโจทก์ มีอำนาจ ฟ้อง หรือไม่ เห็นว่า คดี นี้ โจทก์ ฟ้อง ว่า ที่ดินพิพาท เป็นของ โจทก์ และ โจทก์ ครอบครอง ตลอดมา โจทก์ ยื่น คำร้องขอ ออก โฉนด ที่ดินจำเลย ทั้ง สอง โต้แย้ง คัดค้าน ว่า ที่ดินพิพาท เป็น ที่สาธารณประโยชน์เป็นเหตุ ให้ เจ้าพนักงาน ที่ดิน ไม่ยอม ออก โฉนด ที่ดินพิพาท ให้ แก่ โจทก์เช่นนี้ การกระทำ ของ จำเลย ทั้ง สอง ย่อม เป็น การ โต้แย้ง สิทธิ ของ โจทก์ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 โจทก์ จึง มีอำนาจฟ้อง จำเลย ทั้ง สอง โดย หา จำต้อง ปฏิบัติ ตาม ขั้นตอน ของ มาตรา 60แห่ง ประมวลกฎหมายที่ดิน ไม่ เพราะ โจทก์ มิได้ ฟ้อง จำเลย ทั้ง สอง ใน ฐานะเจ้าพนักงาน ผู้ ออก โฉนด ที่ดิน ที่ ศาลอุทธรณ์ วินิจฉัย ว่า โจทก์ ไม่มีอำนาจฟ้อง และ พิพากษายก ฟ้องโจทก์ ไม่ต้อง ด้วย ความเห็น ของ ศาลฎีกาฎีกา โจทก์ ฟังขึ้น แต่ เนื่องจาก ศาลอุทธรณ์ ยัง มิได้ วินิจฉัย อุทธรณ์ของ โจทก์ ใน ประเด็น ที่ ว่า ที่ดินพิพาท เป็น ที่สาธารณประโยชน์ หรือไม่และ คดี นี้ มี ทุนทรัพย์ ไม่เกิน 200,000 บาท ต้องห้าม ฎีกา ใน ข้อเท็จจริงจึง ต้อง ย้อนสำนวน ไป ให้ ศาลอุทธรณ์ วินิจฉัย ใน ประเด็น ดังกล่าว ”
พิพากษายก คำพิพากษา ศาลอุทธรณ์ และ ให้ ศาลอุทธรณ์ พิจารณา อุทธรณ์ของ โจทก์ แล้ว พิพากษา ใหม่ ตาม รูปคดี

Share