คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1930/2538

แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

ย่อสั้น

ทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาของจำเลยที่1ตามคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์คำนวณเงินต้นและดอกเบี้ยถึงวันฟ้องมีเพียง194,114.18บาทจึงไม่เกินสองแสนบาทห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา248วรรคหนึ่งจำเลยที่1ฎีกาว่าเหตุพิพาทคดีนี้เกิดเพราะความประมาทของจำเลยที่2แม้ศาลจะฟังว่ารถจักรยานยนต์เฉี่ยวชนกับรถเก๋งก็เป็นเหตุสุดวิสัยฎีกาของจำเลยที่1ดังกล่าวเป็นการโต้แย้งที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยข้อเท็จจริงว่าจำเลยที่1ขับรถโดยประมาทมิได้เกิดจากเหตุสุดวิสัยเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามมิให้ฎีกาตามบทมาตราดังกล่าวข้างต้น ในคดีอาญาพนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยที่2ตามพระราชบัญญัติจราจรทางบกพ.ศ.2522มาตรา43,46,157รัฐเป็นผู้เสียหายจำเลยที่1ไม่ใช่คู่ความหรือผู้เสียหายในคดีอาญาดังกล่าวในการพิพากษาคดีนี้ศาลจึงไม่จำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญา โจทก์เป็นผู้รับช่วงสิทธิตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา880เมื่อข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่ารถยนต์บรรทุกคันที่โจทก์รับประกันภัยไว้ได้รับความเสียหายเป็นจำนวนแน่นอนเท่าใดศาลจึงกำหนดให้ตามควรแก่พฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา438การที่โจทก์ไปตกลงค่าเสียหายกับผู้เอาประกันภัยและจ่ายค่าเสียหายไปโดยไม่ปรากฏว่าค่าเสียหายมีเพียงใดโจทก์จะเรียกร้องเอาเงินที่โจทก์จ่ายไปดังกล่าวเต็มจำนวนหาได้ไม่

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ว่า จำเลย ที่ 1 เป็น ผู้ขับ รถเก๋ง และ จำเลย ที่ 2ขับ รถจักรยานยนต์ ไป ใน ทางการที่จ้าง ของ จำเลย ที่ 3 ด้วย ความประมาทเร่งความ เร็ว แซง รถบรรทุก คัน ที่ โจทก์ รับประกัน ภัย ไว้ ขณะที่นาย ประยงค์ โตแทน ขับขี่ จำเลย ที่ 2 จะ ขับ รถจักรยานยนต์ กลับ รถ ที่ เกาะกลางถนน จำเลย ที่ 1 ซึ่ง ขับ รถยนต์ เก๋ง ตาม มา อย่าง กระ ชั้นชนิด ไม่ เว้น ช่องว่าง เป็นเหตุ ให้ รถยนต์ ของ จำเลย ที่ 1 ชน ท้ายรถจักรยานยนต์ คัน ที่ จำเลย ที่ 2 ขับ ด้วย ความ แรง รถจักรยานยนต์ล้ม ลง ลื่น ไถล กับ พื้น ถนน เกิด ประกาย ไฟลุก ไหม้ ชน ถูก รถยนต์บรรทุกทำให้ เกิด เพลิงไหม้ รถยนต์บรรทุก เสียหาย ทั้ง คัน โจทก์ ใน ฐานะผู้รับประกันภัย ได้เสีย ค่า ลาก รถบรรทุก ไป ไว้ ที่ สถานีตำรวจภูธรอำเภอ ปากเกร็ด เป็น เงิน 1,500 บาท ชดใช้ เงิน ค่าเสียหาย รถยนต์บรรทุก ให้ ผู้เอาประกันภัย เป็น เงิน 320,000 บาท รวม แล้ว โจทก์จ่ายเงิน ค่าเสียหาย เป็น เงิน 321,500 บาท โจทก์ รับช่วงสิทธิ นำ คดีมา ฟ้อง จำเลย ทั้ง สาม ต้อง ร่วมกัน ชดใช้ ค่าเสียหาย ให้ โจทก์ พร้อม ด้วยดอกเบี้ย ใน อัตรา ร้อยละ 7.5 ต่อ ปี นับแต่ วันที่ 22 ธันวาคม 2530ซึ่ง เป็น วันที่ โจทก์ จ่ายเงิน ไป คิด ถึง วันฟ้อง เป็น เงิน 21,470 บาทขอให้ บังคับ จำเลย ทั้ง สาม ร่วมกัน หรือ แทน กัน ใช้ ค่าเสียหาย เป็น เงิน342,970 บาท พร้อม ด้วย ดอกเบี้ย
จำเลย ที่ 1 ให้การ ว่า วันเกิดเหตุ จำเลย ที่ 2 ขับ รถจักรยานยนต์ตัด หน้า รถยนต์ ของ จำเลย ที่ 1 จำเลย ที่ 1 หัก รถ หลบ ข้าม คูน้ำ กลาง ถนนเพื่อ มิให้ ชน รถจักรยานยนต์ ของ จำเลย ที่ 2 ทำให้ รถยนต์ ได้รับความเสียหาย อนึ่ง ความเสียหาย ที่ เกิดขึ้น นาย ประยงค์ โตแทน ผู้ขับ รถยนต์บรรทุก มี ส่วน ทำให้ เกิด ความเสียหาย มาก ขึ้น เพราะ เมื่อรถจักรยานยนต์ ที่ จำเลย ที่ 2 ขับ เข้า ไป เกี่ยว รถบรรทุก นาย ประยงค์ น่า จะ หยุด รถ แต่ กลับ ขับ ลาก ไป จน เกิด ประกาย ไฟ อีก ทั้ง รถบรรทุก นำกระสอบ เปล่า จำนวน มาก ไว้ ใน ช่อง ระหว่าง หัว รถ กับ กระบะ รถ ทำให้ ติด ไฟ ง่ายไม่ เก็บ ไว้ ใน ที่ มิดชิด รถบรรทุก เสียหาย เฉพาะ ช่วง หน้า บางส่วนสามารถ ซ่อม ให้ กลับ สู่ สภาพ เดิม ซึ่ง ค่าซ่อม จะ ไม่เกิน 80,000 บาทโจทก์ ชดใช้ ค่าเสียหาย แก่ ผู้เอาประกันภัย และ ผู้รับประโยชน์ เป็น เงิน300,000 บาท เศษ เกินกว่า ค่าเสียหาย ที่ แท้จริง ฟ้อง ของ โจทก์ มิได้บรรยาย ว่า จำเลย ทั้ง สาม ต้อง รับผิดชอบ มาก น้อย คน ละ เท่าไร เพราะเหตุ เกิดขึ้น คน ละ ส่วน แตกต่าง กัน และ โจทก์ ไม่ได้ บรรยายฟ้อง ให้ ชัด ถึงที่เกิดเหตุ ว่า เกิดขึ้น ที่ ใด แน่ ฟ้อง จึง เคลือบคลุม ขอให้ ยกฟ้อง
จำเลย ที่ 2 และ ที่ 3 ขาดนัด ยื่นคำให้การ และ ขาดนัดพิจารณา
ศาลชั้นต้น พิจารณา แล้ว พิพากษา ให้ จำเลย ที่ 2 ชำระ เงิน จำนวน180,000 บาท
โจทก์ อุทธรณ์
ระหว่าง พิจารณา ของ ศาลอุทธรณ์ โจทก์ ขอ ถอน อุทธรณ์ เฉพาะจำเลย ที่ 3 ศาลอุทธรณ์ อนุญาต
ศาลอุทธรณ์ พิพากษาแก้ เป็น ว่า ให้ จำเลย ที่ 1 ที่ 2 ร่วม ชำระ เงินจำนวน 181,500 บาท พร้อม ด้วย ดอกเบี้ย
โจทก์ และ จำเลย ที่ 1 ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า คดี นี้ ทุนทรัพย์ ที่พิพาท กัน ใน ชั้นฎีกาของ จำเลย ที่ 1 ตาม คำพิพากษา ศาลอุทธรณ์ คำนวณ เงินต้น และ ดอกเบี้ยถึง วันฟ้อง มี เพียง 194,114.18 บาท จึง ไม่เกิน สอง แสน บาท ห้าม มิให้คู่ความ ฎีกา ใน ข้อเท็จจริง ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 248 วรรคหนึ่ง จำเลย ที่ 1 ฎีกา ว่า เหตุ พิพาท คดี นี้ เกิด เพราะความประมาท ของ จำเลย ที่ 2 โดย แท้ แม้ ศาล จะ ฟัง ว่า รถจักรยานยนต์เฉี่ยว ชน กับ รถเก๋ง ก็ เป็นเหตุ สุดวิสัย เห็นว่า ศาลอุทธรณ์ วินิจฉัย ว่าจำเลย ที่ 1 ขับ รถยนต์ เก๋ง โดยประมาท เฉี่ยว ชน รถจักรยานยนต์ ที่จำเลย ที่ 2 ขับ เป็นเหตุ ให้ รถจักรยานยนต์ ไป เกี่ยวกับ รถยนต์บรรทุกซึ่ง แล่น อยู่ ใน ช่อง เดินรถ ด้านซ้าย สุด เกิด เพลิงไหม้ หัว เก๋ง ของรถยนต์บรรทุก ได้รับ ความเสียหาย มิใช่ เหตุสุดวิสัย ฎีกา ของ จำเลย ที่ 1ดังกล่าว เป็น การ โต้แย้ง ที่ ศาลอุทธรณ์ วินิจฉัย ข้อเท็จจริง ว่าจำเลย ที่ 1 ขับ รถ โดยประมาท มิได้ เกิดจาก เหตุสุดวิสัย ฎีกา ของจำเลย ที่ 1 ดังกล่าว เป็น ฎีกา ใน ข้อเท็จจริง ต้องห้าม มิให้ ฎีกา ตามบท มาตรา ดังกล่าว ข้างต้น
คดี มี ปัญหา วินิจฉัย ต่อไป สำหรับ ฎีกา จำเลย ที่ 1 ว่า คดี นี้เป็น คดีแพ่ง ที่ เกี่ยวเนื่อง กับ คดีอาญา หมายเลขแดง ที่ 990/2531ของ ศาลชั้นต้น ดังนั้น ข้อเท็จจริง ใน คดี นี้ จึง ต้อง ถือ ตาม ข้อเท็จจริงใน คดีอาญา ซึ่ง ถึงที่สุด แล้ว ดังกล่าว ว่า จำเลย ที่ 2 เป็น ผู้ขับ รถโดยประมาท การ ที่ ศาลอุทธรณ์ วินิจฉัย ว่า จำเลย ที่ 1 เป็น ผู้ประมาทด้วย จึง คลาดเคลื่อน และ แตกต่าง กับ ข้อเท็จจริง ใน คดีอาญา หมายเลขแดงที่ 990/2531 อันเป็น การ วินิจฉัย ที่ ไม่ชอบ ด้วย หลักการ รับฟังพยานหลักฐาน นั้น เห็นว่า คดีอาญา ดังกล่าว พนักงานอัยการ เป็น โจทก์ฟ้อง ขอให้ ลงโทษ จำเลย ที่ 2 ตาม พระราชบัญญัติ จราจรทางบก พ.ศ. 2522มาตรา 43, 46, 157 ซึ่ง รัฐ เป็น ผู้เสียหาย สำหรับ จำเลย ที่ 1ใน คดี นี้ ไม่ใช่ คู่ความ หรือ ผู้เสียหาย ใน คดีอาญา นั้น ใน การ พิพากษาคดี นี้ ศาล จึง ไม่จำต้อง ถือ ข้อเท็จจริง ตาม ที่ ปรากฏ ใน คำพิพากษา คดีส่วน อาญา ใน สำนวน คดีอาญา ดังกล่าว แต่ เป็น กรณี ที่ ต้อง ฟัง ข้อเท็จจริงจาก พยานหลักฐาน ที่ คู่ความ นำสืบ กัน มา ใน คดี นี้
คง มี ปัญหา ที่ จะ วินิจฉัย ต่อไป สำหรับ ฎีกา โจทก์ ว่า การ รับ ช่วงสิทธิ ของ โจทก์ เป็น การ รับช่วงสิทธิ ใน ค่าเสียหาย ที่ โจทก์ ได้ จ่าย ให้ แก่ผู้เอาประกันภัย ไป ทั้งหมด โจทก์ ไม่ต้อง นำสืบ ถึง ค่าเสียหาย ที่ แท้จริงเมื่อ โจทก์ จ่าย ค่าเสียหาย ให้ แก่ ผู้เอาประกันภัย ไป เท่าใด โจทก์ก็ มีสิทธิ รับช่วงสิทธิ ได้ เพียง นั้น ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 880 นั้น เห็นว่า กรณี การ รับช่วงสิทธิ ได้ บัญญัติ เป็นหลัก ทั่วไป ไว้ ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 226 และ 880กล่าว คือ เมื่อ ผู้รับประกันภัย รถ ที่ ถูก กระทำ ละเมิด ซึ่ง ได้ ใช้ค่าสินไหมทดแทน แก่ เจ้าของ รถ ผู้เอาประกันภัย แล้ว ก็ ชอบ ที่ จะเข้า รับช่วงสิทธิ ของ ผู้เอาประกันภัย ผู้เป็น เจ้าหนี้ ได้ และ ชอบ ที่ จะใช้ สิทธิ ทั้งหลาย บรรดา ที่ เจ้าหนี้ มี อยู่ ใน มูลหนี้ รวมทั้งประกัน แห่ง หนี้ ใน นาม ของ ตนเอง ซึ่ง ก็ หมายความ ว่า เจ้าหนี้ มีสิทธิเพียงใด ผู้รับช่วงสิทธิ ก็ ได้รับ สิทธิ ไป เพียง นั้น เสมอ เหมือนกันแต่เมื่อ ข้อเท็จจริง ฟัง ไม่ได้ ว่า รถยนต์บรรทุก คัน ที่ โจทก์รับประกัน ภัย ไว้ นั้น ได้รับ ความเสียหาย เป็น จำนวน แน่นอน เท่าใดศาล จึง กำหนด ให้ ตาม ควร แก่ พฤติการณ์ และ ความ ร้ายแรง แห่ง ละเมิด ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 438 การ ที่ โจทก์ ไป ตกลง ค่าเสียหายกับ ผู้เอาประกันภัย และ จ่าย ค่าเสียหาย ไป โดย ไม่ปรากฏ ว่า ค่าเสียหาย จริงมี เพียงใด โจทก์ จะ เรียกร้อง เอา เงิน ที่ โจทก์ จ่าย ไป ดังกล่าว เต็ม จำนวนหาได้ไม่
พิพากษายืน แต่ ให้ยก ฎีกา สำหรับ จำเลย ที่ 1

Share