คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1719/2538

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

การตีความตามคำพิพากษาตามยอมถือว่าเป็นกระบวนพิจารณาชั้นบังคับคดีมิใช่อุทธรณ์คำพิพากษาตามยอมดังนี้เมื่อจำเลยอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นที่มีคำสั่งให้จำเลยดำเนินการรังวัดให้ได้เนื้อที่จำนวน60ไร่ให้แก่บุตรโจทก์ตามข้อสัญญาประนีประนอมยอมความและศาลอุทธรณ์ยกอุทธรณ์คำสั่งของจำเลยโดยยังมิได้วินิจฉัยว่าคำสั่งศาลชั้นต้นเป็นไปตามสัญญาประนีประนอมยอมความหรือไม่จำเลยจึงฎีกาได้ ตามสัญญาประนีประนอมยอมความกำหนดวิธีแบ่งแยกที่ดินเพื่อให้ได้เนื้อที่60ไร่เป็นของบุตรโจทก์ซึ่งสามารถปฏิบัติได้จำเลยจะยกเหตุอื่นเพื่อแก้ไขมิได้เพราะนอกข้อตกลงคำพิพากษาตามยอมจึงไม่มีข้อผิดพลาดไม่มีเหตุที่ศาลจะแก้ไขหรือกำหนดแนวทางให้คู่ความปฏิบัติ

ย่อยาว

คดี สืบเนื่อง จาก ศาลชั้นต้น มี คำพิพากษา ตามยอม ซึ่ง โจทก์ จำเลยตกลง ทำ สัญญา ประนีประนอม ยอมความ ให้ แบ่ง ที่ดิน ตาม น ส 3 กเลขที่ 6130 ให้ นาย สุรพล ชื่นพาณิชย์กิจ บุตร โจทก์ เป็น เนื้อที่ 60 ไร่ แต่ จำเลย ไม่ปฏิบัติ ตาม ต่อมา ศาลชั้นต้น นัด พร้อม โจทก์จำเลย และ สอบถาม นาย สมพงศ์ สงวนเขียว เจ้าหน้าที่ บริหาร งาน ที่ดิน กิ่งอำเภอ บางกล่ำ จังหวัด สงขลา แล้ว ยืนยัน ว่า เจ้าพนักงาน ที่ดิน สามารถ ปฏิบัติ ตาม คำพิพากษา ของ ศาล ได้ โดย ไม่มี เหตุ ขัดข้องศาลชั้นต้น จึง มี คำสั่ง ให้ จำเลย ดำเนินการ ให้ เจ้าพนักงาน ที่ดิน จัดการรังวัด แบ่งแยก ที่ดิน ดังกล่าว เนื้อที่ 60 ไร่ ให้ บุตร โจทก์ตาม สัญญา ประนีประนอม ยอมความ ให้ แล้ว เสร็จ ภายใน 30 วัน หาก จำเลยไม่ปฏิบัติ ตาม ให้ ถือเอา คำพิพากษา ตามยอม เป็น การแสดง เจตนา ของ จำเลย
จำเลย อุทธรณ์ คำสั่ง ดังกล่าว
ศาลอุทธรณ์ ภาค 3 พิพากษายก อุทธรณ์ คำสั่ง ของ จำเลย คืน ค่าธรรมเนียม ชั้นอุทธรณ์ แก่ จำเลย ค่า ทนายความ ชั้นอุทธรณ์ ให้ เป็น พับ
จำเลย ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า ที่ จำเลย ฎีกา ใน ประการ แรก ว่า ศาลอุทธรณ์ภาค 3 วินิจฉัย คดี ไม่ ตรง ตาม ประเด็น ที่ จำเลย อุทธรณ์ คำพิพากษาของ ศาลอุทธรณ์ ภาค 3 จึง ไม่ชอบ นั้น เห็นว่า ใน ข้อ นี้ จำเลย อุทธรณ์ ว่าเมื่อ จำเลย นำ เจ้าพนักงาน ที่ดิน รังวัด ที่ดินพิพาท เพื่อ แบ่ง ให้ บุตรโจทก์ โดย รังวัด ที่ดิน ทั้ง แปลง ได้ เนื้อที่ แท้จริง เพียง 88 ไร่ 1 งาน54 ตารางวา มิใช่ 98 ไร่ 3 งาน 70 ตารางวา ตาม ที่ ระบุ ไว้ ในสัญญา ยอม เมื่อ รังวัด ส่วน ที่ จะ แบ่ง ให้ บุตร โจทก์ โดย วัด จาก ด้านทิศเหนือ ซึ่ง ติดต่อ ถนน สาธารณประโยชน์ จาก ทิศตะวันตก สุด ของที่ดิน ไป ตาม ถนน ทาง ทิศตะวันออก เป็น ระยะ ทาง 300 เมตร และ วัด จากจุด ที่สุด ของ ความยาว 300 เมตร ให้ ตัด ตรง ไป ทาง ทิศใต้ โดย ทำ มุม ฉากกับ แนว เดิม ไป จน สุด ที่ดินพิพาท จะ ได้ เนื้อที่ ที่ ต้อง แบ่ง ให้ บุตร โจทก์เพียง 48 ไร่ 3 งาน 49 ตารางวา มิใช่ 60 ไร่ ดัง ที่ ระบุ ไว้ใน สัญญา ยอม กรณี เช่นนี้ ถือว่า สัญญา ยอม มี ข้อผิดพลาด ทำให้ โจทก์ จำเลยไม่สามารถ ปฏิบัติ ให้ เป็น ไป ตาม สัญญา ยอม ได้ ชอบ ที่ ศาลชั้นต้นจะ มี คำสั่ง ให้ แบ่ง ที่ดิน ให้ บุตร โจทก์ จำนวน 48 ไร่ 3 งาน 49 ตารางวาตาม ที่ รังวัด ได้ การ ที่ ศาลชั้นต้น มี คำสั่ง ให้ จำเลย ดำเนินการ รังวัดให้ ได้ เนื้อที่ดิน จำนวน 60 ไร่ จึง เป็น การ สั่ง บังคับ ที่ ไม่เป็น ไปตาม สัญญา ยอม คำสั่ง ดังกล่าว จึง ไม่ชอบ ปัญหา ใน ชั้นอุทธรณ์จึง มี ว่า คำสั่งศาล ชั้นต้น เป็น ไป ตาม สัญญา ยอม หรือไม่ ซึ่งศาลอุทธรณ์ ภาค 3 จำต้อง วินิจฉัย ปัญหา ดังกล่าว การ ที่ ศาลอุทธรณ์ ภาค 3วินิจฉัย ว่า จำเลย มิได้ อุทธรณ์ คัดค้าน คำพิพากษา ตามยอม คดี จึง ถึงที่สุด และ มีผล ผูกพัน จำเลย ให้ ต้อง ปฏิบัติ ตาม สัญญา ยอม นั้น จำเลยจะ อุทธรณ์ คำสั่งศาล ชั้นต้น เพื่อ ให้ มีผล เปลี่ยนแปลง คำพิพากษา ซึ่งถึงที่สุด อีก มิได้ ศาลอุทธรณ์ ภาค 3 ไม่รับ วินิจฉัย และ พิพากษาให้ยก อุทธรณ์ ของ จำเลย โดย ที่ ยัง มิได้ วินิจฉัย ว่า คำสั่งศาล ชั้นต้นเป็น ไป ตาม คำพิพากษา ตามยอม หรือไม่ จึง ไม่ชอบ ฎีกา จำเลย ใน ข้อ นี้ฟังขึ้น แต่ ศาลฎีกา เห็นสมควร วินิจฉัย ปัญหา ข้อ นี้ ไป เลย ทีเดียวโดย ไม่ต้อง ย้อนสำนวน พิเคราะห์ แล้ว เห็นว่า ตาม สัญญา ประนีประนอมยอมความ ได้ ระบุ ข้อตกลง ไว้ ชัดเจน ว่า ให้ แบ่ง ที่ดิน ให้ บุตร โจทก์จำนวน 60 ไร่ โดย กำหนด วิธี แบ่ง ให้ ด้าน ทิศเหนือ ซึ่ง ติด ถนนสาธารณประโยชน์ มี ความยาว 300 เมตร โดย วัด จาก ทิศตะวันตก สุด ของที่ดิน ไป ตาม ถนน ทาง ทิศตะวันออก และ จาก จุด ที่สุด ของ ความยาว 300 เมตรให้ ตัด ตรง ไป ทาง ทิศใต้ จน สุด ที่ดินพิพาท ให้ มี เนื้อที่ 60 ไร่เห็น ได้ว่า คำ ว่า ตัด ตรง นั้น ย่อม หมายถึง ว่า ตัด เป็น เส้นตรง นั่นเองหา ได้ ระบุ ว่า ต้อง อยู่ ใน ลักษณะ ตั้ง ฉาก ทำ มุม 90 องศา ตาม ที่ จำเลยฎีกา ด้วย ไม่ เพราะ มิฉะนั้น แล้ว อาจ ไม่ได้ เนื้อที่ 60 ไร่ตาม ที่ ได้ ระบุ ไว้ เป็น ข้อสำคัญ ส่วน ที่ เหลือ นอกนั้น ให้ ตกเป็น ของ จำเลยซึ่ง หาก ปรากฏว่า ที่ดินพิพาท มี จำนวน เนื้อที่ ที่ แท้จริง มาก กว่า 98 ไร่3 งาน 70 ตารางวา ส่วน ที่ เหลือ ก็ จะ ตกเป็น ของ จำเลย ทั้งหมดที่ จำเลย อ้างว่า เหตุ ที่ กำหนด วิธี แบ่ง ดังกล่าว ไว้ เพราะ ต้องการ ให้เส้น ที่ แบ่งแยก นั้น อยู่ นอก ที่ดิน ที่ เป็น ที่ ตั้ง บ้านพัก ส่วนตัวบ้านพัก คนงาน และ โรงงาน ยางพารา ของ จำเลย นั้น จำเลย เพิ่ง ยกขึ้นอ้าง ใน ภายหลัง ไม่ได้ ปรากฏ อยู่ ใน ข้อตกลง นอกจาก นี้ เมื่อ พิเคราะห์ถึง ว่า ตาม สัญญา ประนีประนอม ยอมความ ที่ ทายาท ของ นาย ตันก่ำ แซ่ตัน ทำ กัน ไว้ แต่ เดิม กำหนด ให้ ที่ดินพิพาท ทั้งหมด ตกเป็น ของ โจทก์ และ นาย กีเคี่ยน แซ่ตัน การ ที่ โจทก์ ยอม แบ่ง ให้ จำเลย ตาม สัญญา ประนีประนอม ยอมความ ที่ ทำ ต่อหน้า ศาล ก็ ด้วย ความ กรุณา ของ โจทก์แต่ กำหนด ให้ เป็น ของ บุตร โจทก์ 60 ไร่ ที่ เหลือ ไม่ว่า เท่าใดให้ ตกเป็น ของ จำเลย จึง ไม่ต้อง ระบุ เนื้อที่ดิน ส่วน ของ จำเลย ไว้การ กำหนด วิธี แบ่ง ไว้ ก็ เพื่อ ให้ รู้ ว่า ส่วน ของ บุตร โจทก์ อยู่ ทาง ด้าน ไหนติด ถนน สาธารณะ เท่าใด เท่านั้น ซึ่ง สามารถ ปฏิบัติ ให้ เป็น ไป ตามสัญญา ประนีประนอม ยอมความ ได้ หาใช่ ปฏิบัติ ไม่ได้ แต่อย่างใด ไม่คำพิพากษา ตามยอม จึง ไม่มี ข้อผิดพลาด ไม่มี เหตุ ที่ จะ แก้ไข หรือกำหนด แนว ทาง ให้ คู่ความ ปฏิบัติ ไม่ต้อง วินิจฉัย ฎีกา ของ จำเลย ใน ข้อที่ ว่า การ กำหนด แนว ทาง เช่นว่า นั้น ถือไม่ได้ว่า เป็น การ แก้ คำพิพากษาซึ่ง ถึงที่สุด แล้ว หรือไม่ ฎีกา จำเลย ใน ส่วน นี้ ฟังไม่ขึ้น ”
พิพากษายก คำพิพากษา ศาลอุทธรณ์ ภาค 3 ให้ บังคับคดี ตาม คำสั่งของ ศาลชั้นต้น

Share