คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 962/2538

แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

ย่อสั้น

การที่คู่ความต้องนำพยานเข้าสืบในชั้นพิจารณาก็เพื่อสนับสนุนคำฟ้องหรือคำให้การของตนให้เห็นว่าข้อเท็จจริงเป็นไปดังที่คู่ความฝ่ายนั้นได้กล่าวอ้างไว้ในคำฟ้องหรือคำให้การเมื่อข้อเท็จจริงที่กล่าวอ้างในคำฟ้องเห็นได้โดยชัดแจ้งแล้วว่าไม่อาจพิพากษาตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ได้จึงไม่จำต้องให้คู่ความนำพยานเข้าสืบอีกเพราะแม้จะให้สืบพยานก็ไม่อาจจะรับฟังข้อเท็จจริงนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้องได้

ย่อยาว

คดี ทั้ง ห้า สำนวน นี้ ศาลชั้นต้น รวม พิจารณา และ พิพากษา เข้า ด้วยกัน
โจทก์ ทั้ง ห้า สำนวน ฟ้อง เป็น ใจความ อย่างเดียว กัน ว่า โจทก์เป็น เจ้าของ กรรมสิทธิ์ อาคาร มาบุญครองเซ็นเตอร์ เมื่อ วันที่ 1 มกราคม 2534 จำเลย นำ เอา พื้นที่ อาคาร โจทก์ ไป ให้ นาง วรรษมน ลี้สกุล นาย ศรายุทธ หรรษานนท์ นายปรีชา ศรีวรรณา นางอัศจรรย์หรือมลิวรรณ วิศาลเศรษฐ์สาทร และนายวิโรจน์ ประวิณเอกสิทธิ์ เช่า มี กำหนด ราย ละ 2 ปี โดย ไม่มี อำนาจ ใน เดือน มีนาคม 2534 ผู้เช่า ทั้ง ห้า รายได้ มา ทำ สัญญาเช่า สถานที่ ดังกล่าว จาก โจทก์ มี กำหนด ระยะ การ เช่าราย ละ 1 ปี ต่อมา ผู้เช่า ทั้ง ห้า ราย นำ เงิน ค่าเช่า ไป วาง ณ สำนักงานวางทรัพย์ กลาง กรมบังคับคดี โดย มี เงื่อนไข ว่า ให้ จ่าย แก่ เจ้าหนี้อัน แท้จริง ตาม คำพิพากษาถึงที่สุด โจทก์ ไม่สามารถ รับ ค่าเช่า ดังกล่าวได้ การกระทำ ของ จำเลย ทำให้ โจทก์ ได้รับ ความเสียหาย ขอให้ พิพากษา ว่าโจทก์ มีสิทธิ ให้ เช่า สถานที่ พิพาท และ โจทก์ เป็น เจ้าหนี้ ที่ แท้จริงของ ผู้เช่า ทั้ง ห้า ราย มีสิทธิ รับ เงิน ที่ วาง ไว้ ณ สำนักงานวางทรัพย์ กลาง จำเลย ไม่มี สิทธิ ให้ เช่า ที่พิพาท ตาม ฟ้อง กับ ให้ จำเลยใช้ ค่าเสียหาย และ ดอกเบี้ย ใน อัตรา ร้อยละ เจ็ด ครึ่ง ต่อ ปี ของ ต้นเงินค่าเช่า นับแต่ ผู้เช่า นำ ไป วาง ณ สำนักงาน วางทรัพย์ กลาง ทุก ๆ เดือนจนกว่า ศาล มี คำพิพากษาถึงที่สุด ว่า โจทก์ เป็น เจ้าหนี้ มีสิทธิ รับ เงินจาก สำนักงาน วางทรัพย์ กลาง
จำเลย ทั้ง ห้า สำนวน ให้การ และ แก้ไข คำให้การ ทำนอง เดียว กัน ว่าเมื่อ ผู้เช่า ทั้ง ห้า รายได้ ทำ สัญญาเช่า ที่พิพาท กับ โจทก์ โจทก์ ย่อมมีสิทธิ ที่ จะ เรียก ให้ ผู้เช่า ทั้ง ห้า ราย ชำระ ค่าเช่า ได้ ตาม สัญญาโจทก์ จึง ไม่ได้ รับ ความเสียหาย จาก การ ที่ จำเลย นำ ที่พิพาท ให้ ผู้เช่าทั้ง ห้า ราย เช่า จำเลย มิได้ โต้แย้ง สิทธิ ของ โจทก์ ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น เห็นว่า คดี พอ วินิจฉัย ได้ จึง ให้ งดสืบพยาน และ พิพากษายกฟ้อง ทั้ง ห้า สำนวน
โจทก์ และ จำเลย ทั้ง ห้า สำนวน อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืน
โจทก์ ทั้ง ห้า สำนวน ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า ปรากฏ ตาม คำขอ ท้าย ฎีกา ของ โจทก์ ว่า โจทก์ขอให้ ศาลฎีกา พิพากษากลับ คำพิพากษา ศาลอุทธรณ์ ให้ ศาลชั้นต้นดำเนินการ สืบพยานโจทก์ จำเลย และ พิจารณา พิพากษา ใหม่ ตาม รูปคดีมิได้ ขอให้ ศาลฎีกา พิพากษา ให้ โจทก์ ชนะคดี ตาม คำขอ ท้ายฟ้อง ของ โจทก์ทั้ง ห้า สำนวน จึง มี ปัญหา วินิจฉัย เพียง ประการ เดียว ว่า ที่ ศาลชั้นต้นพิพากษาคดี โดย มี คำสั่ง ให้ งดสืบพยาน โจทก์ จำเลย นั้น ชอบ ด้วย กฎหมายหรือไม่ เห็นว่า การ ที่ คู่ความ ต้อง นำพยาน เข้าสืบ ใน ชั้นพิจารณาก็ เพื่อ สนับสนุน คำฟ้อง หรือ คำให้การ ของ ตน ให้ เห็นว่า ข้อเท็จจริงเป็น ไป ดัง ที่ คู่ความ ฝ่าย นั้น ได้ กล่าวอ้าง ไว้ ใน คำฟ้อง หรือ คำให้การแต่ กรณี ของ โจทก์ ทั้ง ห้า สำนวน ข้อเท็จจริง ที่ กล่าวอ้าง ใน คำฟ้องเห็น ได้ โดยชัดแจ้ง แล้ว ว่า ไม่อาจ พิพากษา ตาม คำขอ ท้ายฟ้อง ของ โจทก์ ได้จึง ไม่จำต้อง ให้ คู่ความ นำพยาน เข้าสืบ อีก เพราะ แม้ จะ ให้ สืบพยาน ไปก็ ไม่อาจ จะ รับฟัง ข้อเท็จจริง นอกจาก ที่ ปรากฏ ใน คำฟ้อง ได้ ย่อม ไม่ทำ ให้ผล ของ คดี เปลี่ยนแปลง ไป
พิพากษายืน

Share