คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 872/2538

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

โจทก์ยื่นคำขอรับสิทธิบัตรการประดิษฐ์ม่านเหล็กบังตาต่อกรมทะเบียนการค้าแต่เป็นการประดิษฐ์ที่ได้มีการเปิดเผยสาระสำคัญในเอกสารที่ได้เผยแพร่อยู่ก่อนวันขอรับสิทธิบัตรมิใช่การประดิษฐ์ขึ้นใหม่ที่โจทก์จะขอรับสิทธิบัตรการประดิษฐ์ได้ตามพระราชบัญญัติสิทธิบัตรพ.ศ.2522มาตรา5แม้อธิบดีกรมทะเบียนการค้าจะออกสิทธิบัตรการประดิษฐ์ตามคำขอของโจทก์ก็ตามก็เป็นสิทธิบัตรที่ได้ออกไปโดยไม่ชอบถือว่าเป็นสิทธิบัตรที่ไม่สมบูรณ์ตามมาตรา55การประดิษฐ์ตามสิทธิบัตรจึงไม่ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายการที่จำเลยผลิตและขายหรือมีไว้เพื่อขายซึ่งผลิตภัณฑ์ตามสิทธิบัตรดังกล่าวจึงไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์ ในการพิพากษาคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาของศาลฎีกาสำเนาคำพิพากษาคดีส่วนอาญาของศาลอุทธรณ์และใบสำคัญคดีถึงที่สุดตามคำแถลงของจำเลยเป็นพยานหลักฐานอันสำคัญซึ่งเกี่ยวกับประเด็นแห่งคดีเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมศาลฎีกามีอำนาจรับฟังพยานหลักฐานดังกล่าวเข้าสู่สำนวนความในชั้นฎีกาได้และจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาของศาลอุทธรณ์ดังกล่าว

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ว่า โจทก์ ผลิต และ จำหน่าย ม่าน เหล็ก บังตา ชนิด ติดกับประตู เหล็ก แบบ ยึด และ พับ ได้ มา เป็น เวลา ประมาณ 15 ปี ต่อมา ประชาชนนิยม ใช้ ประตู ม้วน โจทก์ จึง คิด ค้น วิธีการ ประดิษฐ์ ม่าน เหล็ก บังตาแบบ ใหม่ ขึ้น ต่อมา วันที่ 12 พฤษภาคม 2524 โจทก์ นำ สิ่ง ประดิษฐ์ ที่คิด ค้น ได้ ไป ขอ จดทะเบียน สิทธิบัตร การ ประดิษฐ์ ต่อ กรมทะเบียนการค้ากระทรวงพาณิชย์ ตาม คำขอ เลขที่ 000468 เมื่อ กรมทะเบียนการค้า ได้รับคำขอ แล้ว ได้ ทำการ ตรวจสอบ ภายใน ประเทศ และ ส่ง สิ่ง ประดิษฐ์ ของ โจทก์ไป ตรวจสอบ ที่ ประเทศ ออสเตรเลีย ซึ่ง เป็น ศูนย์รวม สิทธิบัตร ของ โลก ว่า เป็น การ ประดิษฐ์ ที่ มี ปรากฏ อยู่ ก่อน แล้ว หรือไม่ ผล การ ตรวจสอบปรากฏว่า สิ่ง ประดิษฐ์ ของ โจทก์ เป็น สิ่ง ประดิษฐ์ ขึ้น ใหม่ และมี ลักษณะ คุณสมบัติ ครบถ้วน ตาม พระราชบัญญัติ สิทธิบัตร พ.ศ. 2522จึง ออก สิทธิบัตร การ ประดิษฐ์ เลขที่ 261 ให้ แก่ โจทก์ เมื่อ วันที่26 เมษายน 2528 มี ลักษณะ ข้อ ถือ สิทธิ ที่ สำคัญ คือ ขอบ ใบ ม่าน เหล็ก บังตาตาม ความยาว ด้าน ข้าง ทั้ง สอง ด้าน ม้วน ขึ้น เป็น รูป ก้น หอยซึ่ง มี ทิศทางการ ม้วน ที่ ต่างกัน และ ขอบ ด้าน หนึ่ง จะ หัก เป็น มุม แผ่น ใบ ม่าน นี้จะ สอด สวม เข้า ด้วยกัน ใน ลักษณะ สามารถ ยึด ออก และ พับ ได้ โจทก์ ได้ ประกาศโฆษณา ทาง หนังสือพิมพ์ รายวัน เพื่อ ให้ บุคคล ทั่วไป ทราบ ว่า โจทก์เป็น ผู้ทรง สิทธิบัตร การ ประดิษฐ์ ม่าน เหล็ก บังตา ชนิด ดังกล่าวจำเลย ที่ 1 และ ที่ 3 เป็น นิติบุคคล โดย มี จำเลย ที่ 2 และ ที่ 4เป็น กรรมการ ผู้มีอำนาจ กระทำการ แทน จำเลย ที่ 1 และ ที่ 3 ตามลำดับได้ ร่วมกัน ผลิต และ ขาย ม่าน เหล็ก บังตา ชนิด ที่ ใช้ กัน โดย ทั่วไป ในท้องตลาด ต่อมา จำเลย ทั้ง สี่ ร่วมกัน จงใจ ทำเทียม และ เลียนแบบ ผลิตภัณฑ์ม่าน เหล็ก บังตา ชนิด ติดกับ ประตู เหล็ก แบบ ยึด และ พับ ได้ ตาม สิทธิบัตรเลขที่ 261 ของ โจทก์ โดย ผลิต และ ใช้ กรรมวิธี การ ผลิต ตาม สิทธิบัตรของ โจทก์ ขาย และ มีไว้ เพื่อ ขาย ซึ่ง ผลิตภัณฑ์ ม่าน เหล็ก บังตา ดังกล่าวโดย ไม่มี สิทธิ ตาม กฎหมาย และ โดย ไม่ได้ รับ อนุญาต จาก โจทก์ โดย จำเลยทั้ง สี่ ร่วมกัน ผลิต ม่าน เหล็ก บังตา ชนิด ติดกับ ประตู เหล็ก ยืด และ พับ ได้มี ลักษณะ ขอบ ใบ ม่าน บังตา ตาม ความยาว ด้าน ข้าง ทั้ง สอง ข้าง ม้วน ขึ้น เป็นรูป ก้น หอยและ ให้ แผ่น ใบ ม่าน สอด สวม เข้า ด้วยกัน ใน ลักษณะ ที่ สามารถยืด ออก และ พับ ได้ แล้ว นำ ออก ขาย และ ผลิต ไว้ เพื่อ ขาย ให้ แก่ บุคคล ทั่วไปการกระทำ ของ จำเลย ทั้ง สี่ เป็น การ ฝ่าฝืน พระราชบัญญัติ สิทธิบัตรพ.ศ. 2522 โจทก์ มี หนังสือ แจ้ง ให้ จำเลย ยุติ การ ผลิต การ ขาย หรือ มีไว้เพื่อ ขาย ผลิตภัณฑ์ ม่าน เหล็ก บังตา ดังกล่าว จำเลย ได้รับ หนังสือนั้น แล้ว แต่ ยัง คง ร่วมกัน ผลิต ขาย และ มีไว้ เพื่อ ขาย ซึ่ง ม่าน เหล็กบังตา นั้น อยู่ อีก เป็น การ ละเมิด สิทธิบัตร ของ โจทก์ ขอให้ห้าม มิให้จำเลย ทำเทียม หรือ เลียนแบบ ผลิต หรือ ใช้ กรรมวิธี ตาม สิทธิบัตร หรือ ใช้แบบ ผลิตภัณฑ์ ตาม สิทธิบัตร รวมทั้ง ห้าม มิให้ จำเลย ขาย หรือ มีไว้เพื่อ ขาย ซึ่ง ผลิตภัณฑ์ ม่าน เหล็ก บังตา ตาม ข้อ ถือ สิทธิ แห่ง สิทธิบัตรเลขที่ 261 ของ โจทก์
จำเลย ทั้ง สี่ ให้การ ว่า ผลิตภัณฑ์ ม่าน เหล็ก บังตา ชนิด ติดกับประตู เหล็ก แบบ ยืด และ พับ ได้ ตาม สิทธิบัตร ดังกล่าว ของ โจทก์ ไม่ใช่เป็น การ ประดิษฐ์ ขึ้น ใหม่ แต่ เป็น การ ประดิษฐ์ ที่ มี และ ใช้ แพร่หลายอยู่ ใน ราชอาณาจักร เป็น เวลา นาน หลาย สิบ ปี แล้ว โจทก์ ไม่มี สิทธิขอรับ สิทธิบัตร สิทธิบัตร ของ โจทก์ ขัด ต่อ พระราชบัญญัติ สิทธิบัตรพ.ศ. 2522 มาตรา 5(1) ไม่สมบูรณ์ โจทก์ ไม่ใช่ ผู้ทรง สิทธิบัตรโดยชอบ ด้วย กฎหมาย จำเลย ที่ 1 และ ที่ 2 ผลิต ม่าน เหล็ก บังตา ตามคำขอ รับ สิทธิบัตร การ ออก แบบ ผลิตภัณฑ์ เลขที่ 001069 ของ จำเลย ที่ 2ที่ ได้ ยื่น ไว้ ต่อ กรมทะเบียนการค้า ซึ่ง เมื่อ จำเลย ที่ 2 ได้ ยื่นคำขอ เช่นนั้น และ กรมทะเบียนการค้า ได้ ประกาศ โฆษณา แล้ว โจทก์ ได้ ยื่นคำคัดค้าน ด้วย เหตุผล หลาย ประการ ใน ที่สุด อธิบดี กรมทะเบียนการค้าได้ มี คำวินิจฉัย ให้ยก คำคัดค้าน ของ โจทก์ ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิพากษายก ฟ้อง
โจทก์ และ จำเลย ทั้ง สี่ อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืน
โจทก์ ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “ข้อเท็จจริง ที่ คู่ความ มิได้ ฎีกา โต้แย้งเป็น อย่างอื่น ฟังได้ เป็น ยุติ ว่า เมื่อ วันที่ 12 พฤษภาคม 2524โจทก์ ได้ ยื่น คำขอ รับ สิทธิบัตร การ ประดิษฐ์ ม่าน เหล็ก บังตา ชนิด ติดกับประตู เหล็ก แบบ ยืด และ พับ ได้ ต่อ กรมทะเบียนการค้า กระทรวงพาณิชย์เป็น คำขอ เลขที่ 000468 ตาม สำเนา คำขอ รับ สิทธิบัตร เอกสาร หมาย จ. 9อธิบดี กรมทะเบียนการค้า ออก สิทธิบัตร การ ประดิษฐ์ ตาม คำขอ ของ โจทก์ให้ แก่ โจทก์ เมื่อ วันที่ 26 เมษายน 2528 ตาม สิทธิบัตร เลขที่ 261โดย มี ข้อ ถือ สิทธิ ว่า ม่าน เหล็ก บังตา ชนิด ติดกับ ประตู เหล็ก แบบ ยืดและ พับ ได้ โดย ออก แบบ ม้วน ขอบ ใบ ม่าน เหล็ก บังตา ตาม ความยาว ด้าน ข้างทั้ง สอง ข้าง เป็น รูป ก้น หอยซึ่ง มี ทิศทาง การ ม้วน ที่ ต่างกัน และ ขอบ ด้าน หนึ่ง จะ หัก เป็น มุม แผ่น ใบ ม่าน นี้ จะ สอด สวม เข้า ด้วยกัน ใน ลักษณะสามารถ ยืด ออก และ พับ ได้ ตาม สำเนา สิทธิบัตร การ ประดิษฐ์ เอกสาร หมาย จ. 22จำเลย ที่ 2 ยื่น คำขอ รับ สิทธิบัตร การ ออก แบบ ผลิตภัณฑ์ ใบ ม่าน บังตาสำหรับ ประตู เหล็ก ยืด เลขที่ 001069 และ 001071 เมื่อ วันที่9 สิงหาคม 2525 ตาม สำเนา คำขอ รับ สิทธิบัตร เอกสาร หมาย จ. 23 และจ. 24 โจทก์ ยื่น คำคัดค้าน การ ขอรับ สิทธิบัตร ของ จำเลย ที่ 2 ดังกล่าวอธิบดี กรมทะเบียนการค้า มี คำสั่ง ให้ยก คำคัดค้าน ของ โจทก์ โจทก์ อุทธรณ์ต่อ คณะกรรมการ สิทธิบัตร คณะกรรมการ วินิจฉัย ให้ยก อุทธรณ์ ของ โจทก์โจทก์ ฟ้อง จำเลย ทั้ง สี่ เป็น คดีอาญา ต่อ ศาลอาญา ตาม คดี หมายเลขดำที่ 8152/2528 ของ ศาลอาญา เมื่อ วันที่ 18 ตุลาคม 2528 ว่าจำเลย ทั้ง สี่ ได้ ร่วมกัน ผลิต ผลิตภัณฑ์ หรือ ใช้ กรรมวิธี ตาม สิทธิบัตรของ โจทก์ หรือ ใช้ แบบ ผลิตภัณฑ์ ตาม สิทธิบัตร ของ โจทก์ โดย ไม่มี สิทธิตาม กฎหมาย และ จำเลย ทั้ง สี่ ได้ ร่วมกัน ขาย หรือ มีไว้ เพื่อ ขายซึ่ง ผลิตภัณฑ์ ม่าน เหล็ก บังตา ที่ ผลิต หรือ ใช้ กรรมวิธี หรือ ใช้ แบบผลิตภัณฑ์ ตาม สิทธิบัตร เลขที่ 261 ของ โจทก์ ทั้งนี้ โดย จำเลย ทั้ง สี่ลอก หรือ เลียนแบบ การ ประดิษฐ์ ของ โจทก์ โดย ไม่สุจริต และ ไม่มี สิทธิตาม กฎหมาย
พิเคราะห์ แล้ว คดี มี ปัญหา ต้อง วินิจฉัย ตาม ที่ โจทก์ ฎีกา ว่าจำเลย ทั้ง สี่ ได้ ร่วมกัน กระทำ ละเมิด ต่อ โจทก์ โดย ทำเทียม หรือ เลียนแบบผลิตภัณฑ์ ม่าน เหล็ก บังตา ชนิด ติดกับ ประตู เหล็ก แบบ ยืด และ พับ ได้ตาม สิทธิบัตร การ ประดิษฐ์ เลขที่ 261 ของ โจทก์ ขาย และ มีไว้ เพื่อ ขายซึ่ง ผลิตภัณฑ์ ดังกล่าว โดย ไม่มี สิทธิ ตาม กฎหมาย และ ไม่ได้ รับ อนุญาตจาก โจทก์ หรือไม่ ใน ปัญหา นี้ เห็นว่า คดี นี้ โจทก์ ฟ้อง อ้างว่าจำเลย ทั้ง สี่ กระทำ ละเมิด ต่อ โจทก์ โดย ร่วมกัน ทำเทียม และ เลียนแบบผลิตภัณฑ์ ม่าน เหล็ก บังตา ชนิด ติดกับ ประตู เหล็ก แบบ ยืด และ พับ ได้ตาม สิทธิบัตร การ ประดิษฐ์ เลขที่ 261 โดย ผลิต และ ใช้ กรรมวิธี การ ผลิตตาม สิทธิบัตร ของ โจทก์ ขาย และ มีไว้ เพื่อ ขาย ซึ่ง ผลิตภัณฑ์ ม่าน เหล็กบังตา ชนิด ติดกับ ประตู เหล็ก แบบ ยืด และ พับ ได้ ตาม ข้อ ถือ สิทธิ ของของ สิทธิบัตร การ ประดิษฐ์ เลขที่ 261 ของ โจทก์ โดย ไม่มี สิทธิ ตาม กฎหมายและ ไม่ได้ รับ อนุญาต จาก โจทก์ ขอให้ห้าม มิให้ จำเลย ทำเทียม หรือเลียนแบบ ผลิต หรือ ใช้ กรรมวิธี ตาม สิทธิบัตร หรือ ใช้ แบบ ผลิตภัณฑ์ตาม สิทธิบัตร รวมทั้ง ห้าม มิให้ จำเลย ขาย หรือ มีไว้ เพื่อ ขาย ซึ่งผลิตภัณฑ์ ม่าน เหล็ก บังตา ตาม ข้อ ถือ สิทธิ แห่ง สิทธิบัตร การ ประดิษฐ์เลขที่ 261 ของ โจทก์ อันเป็น มูลกรณี เดียว กัน กับ ที่ โจทก์ ฟ้อง ขอให้ลงโทษ จำเลย ทั้ง สี่ ตาม พระราชบัญญัติ สิทธิบัตร พ.ศ. 2522 มาตรา 85,86และ 88 ตาม คดี หมายเลขดำ ที่ 8152/2528 ของ ศาลอาญา ดังกล่าว ข้างต้นโดย โจทก์ อ้าง ใน ฟ้องคดี อาญา นั้น ตาม สำเนา คำฟ้อง เอกสาร หมาย ล. 43 ว่าจำเลย ทั้ง สี่ ได้ ร่วมกัน ผลิต ผลิตภัณฑ์ หรือ ใช้ กรรมวิธี ตาม สิทธิบัตรของ โจทก์ หรือ ใช้ แบบ ผลิตภัณฑ์ ตาม สิทธิบัตร ของ โจทก์ โดย ไม่มี สิทธิตาม กฎหมาย และ ได้ ร่วมกัน ขาย หรือ มีไว้ เพื่อ ขาย ซึ่ง ผลิตภัณฑ์ ม่าน เหล็กบังตา ที่ ผลิต หรือ ใช้ กรรมวิธี หรือ ใช้ แบบ ผลิตภัณฑ์ ตาม สิทธิบัตร เลขที่ 261 ของ โจทก์ โดย จำเลย ทั้ง สี่ ลอก หรือ เลียนแบบ การ ประดิษฐ์ของ โจทก์ โดย ไม่สุจริต เช่นเดียว กับ ที่ โจทก์ อ้าง ใน คดี นี้ คดี นี้จึง เป็น คดีแพ่ง เกี่ยวเนื่อง กับ คดีอาญา ดังกล่าว ซึ่ง คำพิพากษาใน คดีอาญา ดังกล่าว นั้น นอกจาก ผูกพัน โจทก์ และ จำเลย ทั้ง สี่ ซึ่งเป็น คู่ความ ใน คดี นั้น แล้ว ใน การ พิพากษาคดี ส่วน แพ่ง คดี นี้ ศาล ยัง ต้องถือ ข้อเท็จจริง ตาม ที่ ปรากฏ ใน คำพิพากษา คดี ส่วน อาญา ตาม ประมวล กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 46 อีก ด้วย ดังนั้น เมื่อ ปรากฏ ตามคำแถลง ของ จำเลย ที่ 3 และ ที่ 4 ลงวันที่ 6 กันยายน 2536 สำเนาคำพิพากษา ศาลอุทธรณ์ และ สำเนา ใบ สำคัญ คดีถึงที่สุด ว่า คดีอาญา ดังกล่าวได้ ถึงที่สุด โดย ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืน ตาม คำพิพากษา ศาลชั้นต้นที่ พิพากษา ให้ยก ฟ้องโจทก์ ใน การ พิพากษาคดี ส่วน แพ่ง นี้ ศาลฎีกาเห็นว่า สำเนา คำพิพากษา ศาลอุทธรณ์ และ ใบ สำคัญ คดีถึงที่สุด ดังกล่าวเป็น พยานหลักฐาน อัน สำคัญ ซึ่ง เกี่ยวกับ ประเด็น แห่ง คดี เพื่อ ประโยชน์แห่ง ความยุติธรรม ศาลฎีกา มีอำนาจ รับฟัง พยานหลักฐาน ดังกล่าว เข้า สู่สำนวน ความใน ชั้นฎีกา ได้ และ จำต้อง ถือ ข้อเท็จจริง ตาม ที่ ปรากฏใน คำพิพากษา คดี ส่วน อาญา ของ ศาลอุทธรณ์ ดังกล่าว ว่า ได้ มี การ ออกสิทธิบัตร การ ประดิษฐ์ ม่าน เหล็ก บังตา แบบ ยืด และ พับ ได้ ไว้ ใน ต่างประเทศก่อน โจทก์ ยื่น คำขอ รับ สิทธิบัตร ตาม สิทธิบัตร การ ประดิษฐ์ เลขที่ 261ของ โจทก์ และ ก่อน โจทก์ ยื่น คำขอ รับ สิทธิบัตร เช่นนั้น การ ประดิษฐ์ดังกล่าว ได้ มี การ เปิดเผย สาระสำคัญ ใน เอกสาร ที่ ได้ เผยแพร่ อยู่ แล้วซึ่ง เมื่อ ข้อเท็จจริง ฟังได้ เช่นนั้น การ ประดิษฐ์ ม่าน เหล็ก บังตาชนิด ติดกับ ประตู เหล็ก ชนิด แบบ ยืด และ พับ ได้ ที่ โจทก์ ขอรับ สิทธิบัตรจึง เป็น การ ประดิษฐ์ ที่ ได้ มี การ เปิดเผย สาระสำคัญ ใน เอกสาร ที่ ได้เผยแพร่ อยู่ แล้ว ก่อน วัน ขอรับ สิทธิบัตร มิใช่ การ ประดิษฐ์ ขึ้น ใหม่ที่ โจทก์ จะ ขอรับ สิทธิบัตร การ ประดิษฐ์ ได้ ตาม พระราชบัญญัติ สิทธิบัตรพ.ศ. 2522 มาตรา 5 สิทธิบัตร การ ประดิษฐ์ เลขที่ 261 ของ โจทก์จึง เป็น สิทธิบัตร ที่ ได้ ออก ไป โดย ไม่ชอบ ด้วย มาตรา 5 ดังกล่าวซึ่ง พระราชบัญญัติ สิทธิบัตร พ.ศ. 2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง ให้ ถือว่าเป็น สิทธิบัตร ที่ ไม่สมบูรณ์ ตาม ที่ จำเลย ทั้ง สี่ กล่าวอ้าง การ ประดิษฐ์ตาม ข้อ ถือ สิทธิ ใน สิทธิบัตร การ ประดิษฐ์ เลขที่ 261 ของ โจทก์ จึงไม่ได้ รับ ความคุ้มครอง ตาม พระราชบัญญัติ สิทธิบัตร พ.ศ. 2522แต่ ประการใด แม้ จำเลย ทั้ง สี่ ร่วมกัน ผลิต และ ขาย หรือ มีไว้ เพื่อ ขายซึ่ง ผลิตภัณฑ์ ดังกล่าว ก็ ไม่เป็น การ ละเมิด ต่อ โจทก์ ที่ ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน ตาม คำพิพากษา ศาลชั้นต้น ที่ พิพากษา ให้ยก ฟ้องโจทก์ นั้นศาลฎีกา เห็นพ้อง ด้วย ใน ผล ฎีกา ของ โจทก์ ฟังไม่ขึ้น ”
พิพากษายืน

Share