คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 812/2538

แหล่งที่มา : สำนักงาน ส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

ท. ครอบครองที่ดินโฉนดพิพาทของ ฮ. จนได้กรรมสิทธิ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1382แล้วแต่ยังมิได้มีการเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนต่อมา ท. ยกที่ดินดังกล่าวให้แก่ ข. กับ ห. โดย ข. กับ ห. ได้ครอบครองอย่างเป็นเจ้าของต่อมา ข. กับ ห. จึงได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทตั้งแต่ได้รับการยกให้โจทก์จดทะเบียนสมรสกับ ข. หลังจาก ท. ยกที่ดินพิพาทให้แก่ ข. ที่ดินพิพาทจึงมิใช่ทรัพย์ที่ ข. ได้มาระหว่างสมรสกับโจทก์การที่ ข. กับ ห. ยื่นคำร้องขอแสดงกรรมสิทธิ์ต่อศาลและได้ทำสัญญาประนีประนอมกับ ฮ. ก็เป็นการกระทำเพื่อเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนและเพื่อระงับข้อพิพาทระหว่างกันหามีผลเปลี่ยนแปลงกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทแต่อย่างใดไม่ ข. จึงมีสิทธิทำพินัยกรรมยกที่ดินพิพาทส่วนของตนให้แก่จำเลยได้

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ว่า ที่ดิน โฉนด เลขที่ 14314 ซึ่ง มี ชื่อ นาง ขม กับ นาย หวาน เป็น เจ้าของรวม กัน ส่วน ของ นาง ขม เป็น ทรัพย์ ที่ ได้ มา ใน ระหว่าง ที่ โจทก์ กับ นาง ขม เป็น สามี ภรรยา กัน โดยชอบ ด้วย กฎหมาย โจทก์ จึง มี ส่วน เป็น เจ้าของรวม กับ นาง ขม ต่อมา นาง ขม ถึง แก่ ความตาย จำเลย ได้ นำ โฉนด ที่ดิน ดังกล่าว ไป จดทะเบียน โอน กรรมสิทธิ์ส่วน ของ นาง ขม เป็น ของ จำเลย โดย อ้างว่า นาง ขม ทำ พินัยกรรม ยกให้ จำเลย ขอให้ มี คำสั่ง เพิกถอน การ จดทะเบียน รับมรดก ของ จำเลยใน ส่วน ที่ มี ชื่อ ของ นาง ขม ถือ กรรมสิทธิ์ ใน ที่ดิน โฉนด เลขที่ 14341และ บังคับ ให้ จำเลย ไป จดทะเบียน ใส่ ชื่อ โจทก์ เป็น ผู้ถือกรรมสิทธิ์ใน ส่วน ของ นาง ขม กึ่งหนึ่ง ใน ฐานะ สินสมรส หาก จำเลย ไม่ปฏิบัติ ตาม ให้ ถือเอา คำพิพากษา เป็น การแสดง เจตนา แทน จำเลย
จำเลย ให้การ ว่า ที่ดิน โฉนด เลขที่ 14314 เดิม นาย ทอง ซื้อ มาจาก นาย ฮะ ปุญญวา เมื่อ ประมาณ 60 ปี มา แล้ว แต่ การ ซื้อ ขาย มิได้ ทำ เป็น หนังสือ และ จดทะเบียน ต่อ พนักงาน เจ้าหน้าที่ เพียงแต่ นาย ฮะ ส่งมอบ ที่ดิน และ โฉนด ที่ดิน ดังกล่าว ให้ นาย ทอง ครอบครอง ทำกิน นาย ทอง ได้ ครอบครอง ทำกิน ตลอดมา จน กระทั่ง นาย ทอง ตาย แต่ก่อน ตาย นาย ทอง ได้ ยก ที่ดิน ดังกล่าว ให้ แก่ นาง ขม กับ นาย หวาน ซึ่ง เป็น บุตร นาง ขม กับ นาย หวาน ได้ ครอบครอง ทำกิน ตลอดมา โจทก์ เพิ่ง มา แต่งงาน จดทะเบียนสมรส กับ นาง ขม ใน ภายหลัง ที่ดินพิพาท จึง ไม่ใช่ ทรัพย์สิน ที่ โจทก์ กับ นาง ขม ทำ มา หา ได้ ร่วมกัน ก่อน ตาย นาง ขม ได้ ทำ พินัยกรรม ยก ที่ดินพิพาท ให้ แก่ จำเลย แล้ว ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิจารณา แล้ว พิพากษายก ฟ้อง
โจทก์ อุทธรณ์ ศาลชั้นต้น สั่ง รับ อุทธรณ์ แต่ เฉพาะ ปัญหาข้อกฎหมาย
ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืน
โจทก์ ฎีกา ศาลชั้นต้น สั่ง รับ ฎีกา แต่ เฉพาะ ปัญหาข้อกฎหมาย
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “คดี นี้ ฎีกา ได้ แต่ เฉพาะ ปัญหาข้อกฎหมายดังนั้น การ วินิจฉัย ปัญหา ดังกล่าว ศาลฎีกา จำต้อง ถือ ข้อเท็จจริง ตาม ที่ศาลชั้นต้น และ ศาลอุทธรณ์ ได้ วินิจฉัย มา แล้ว จาก พยานหลักฐาน ใน สำนวนทั้งนี้ ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 238 ประกอบมาตรา 247 ศาลชั้นต้น และ ศาลอุทธรณ์ ฟัง ข้อเท็จจริง ว่า ที่ดินพิพาทโฉนด เลขที่ 14314 เป็น ส่วน หนึ่ง ของ ที่ดิน โฉนด เลขที่ 995ตำบล เบิกไพร อำเภอบ้านโป่ง จังหวัด ราชบุรี เดิม เป็น ของ นาย ฮะ ปุญญวา โดย นาย ฮะ ซื้อ มาจาก การ ขายทอดตลาด ของ ศาล เมื่อ ประมาณ ปี 2469 หลังจาก ซื้อ มา แล้ว นาย ฮะ ได้ ขาย ให้ แก่ นาย ทอง เพชรสน แต่ การ ซื้อ ขาย มิได้ จดทะเบียน ต่อ พนักงาน เจ้าหน้าที่ นาย ฮะ เพียง ส่งมอบ โฉนด และ การ ครอบครอง ที่ดิน ดังกล่าว ให้ แก่ นาย ทอง นาย ทอง ครอบครอง ทำกิน อย่าง เป็น เจ้าของ มา หลาย สิบ ปี แล้ว ยกให้ นาง ขม กับ นาย หวาน เพชรสน ผู้เป็น บุตร ก่อน ที่ โจทก์ จะ ได้ จดทะเบียนสมรส กับ นาง ขม นาง ขม กับ นาย หวาน ครอบครอง ที่ดิน แปลง นี้ ตลอดมา ต่อมา นาง ขม กับ นาย หวาน ได้ ยื่น คำร้อง ต่อ ศาล ขอให้ แสดง กรรมสิทธิ์ ที่ดิน แปลง ดังกล่าว นาย ฮะ ได้ ยื่น คำร้อง คัดค้าน ระหว่าง พิจารณา คดี ได้ มี การ ทำ สัญญา ประนีประนอม ยอมความ โดยนาย ฮะ ยอม จดทะเบียน โอน ที่ดินพิพาท ให้ แก่ นาง ขม กับ นาย หวาน และ นาง ขม กับ นาย หวาน ยอม จ่าย ค่าตอบแทน จำนวน 10,000 บาท ให้ แก่ นาย ฮะ ศาล พิพากษา ตามยอม ซึ่ง ต่อมา ได้ มี การ จดทะเบียน ใส่ ชื่อ นาง ขม กับ นาย หวาน เป็น เจ้าของ หลังจาก นั้น นาง ขม กับ นาย หวาน ได้ แบ่ง ที่ดิน ส่วน หนึ่ง ขาย ให้ แก่ บริษัท ราชบุรีอุตสาหกรรม จำกัด ส่วน ที่ เหลือ ได้ แยก ออก มา เป็น ที่ดินพิพาท โฉนด เลขที่ 14314 มี ชื่อนาง ขม กับ นาย หวาน เป็น เจ้าของ กรรมสิทธิ์ร่วม กัน ก่อน ตาย นาง ขม ได้ ทำ พินัยกรรม ยก ที่ดิน ส่วน ของ ตน ให้ แก่ จำเลย หลังจาก นาง ขม ตาย จำเลย นำ โฉนด ที่ดินพิพาท ไป จดทะเบียน รับมรดก ใส่ ชื่อ จำเลย เป็น เจ้าของ แทนส่วน ของ นาง ขม คดี มี ปัญหาข้อกฎหมาย ตาม ฎีกา ของ โจทก์ ว่า นาง ขม มีสิทธิ ยก ที่ดินพิพาท ให้ แก่ จำเลย หรือไม่ เห็นว่า นาย ทอง ได้ ครอบครอง ที่ดิน โฉนด เลขที่ 995 ที่ กล่าว ข้างต้น อย่าง เป็น เจ้าของ จน ได้กรรมสิทธิ์ แล้ว เพียงแต่ ยัง มิได้ มี การ เปลี่ยนแปลง ทาง ทะเบียน เท่านั้นเมื่อ นาย ทอง ยก ที่ดิน แปลง ดังกล่าว ให้ แก่ นาง ขม กับ นาย หวาน และ นาง ขม กับ นาย หวาน ได้ ครอบครอง อย่าง เป็น เจ้าของ ต่อมา นาง ขม กับ นาย หวาน จึง ได้ กรรมสิทธิ์ ใน ที่ดินพิพาท ตั้งแต่ ได้รับ การ ยกให้ จาก นาย ทอง เมื่อ โจทก์ จดทะเบียนสมรส กับ นาง ขม ภายหลัง จาก นาย ทอง ยก ที่ดินพิพาท ให้ แก่ นาง ขม ที่ดินพิพาท จึง มิใช่ ทรัพย์ ที่นาง ขม ได้ มา ระหว่าง สมรส กับ โจทก์ แต่ เป็น สินส่วนตัว ของ นาง ขม นาง ขม จึง มีสิทธิ ทำ พินัยกรรม ยกให้ แก่ จำเลย ได้ การ ที่นา ง ขม ยื่น คำร้องขอ แสดง กรรมสิทธิ์ ต่อ ศาล เป็น การกระทำ เพื่อ เปลี่ยนแปลงทาง ทะเบียน เท่านั้น และ การ ที่นา ง ขม กับ นาย หวาน ทำ สัญญา ประนีประนอม ยอมความ กับ นาย ฮะ เกี่ยวกับ ที่ดินพิพาท ก็ เป็น การกระทำ เพื่อ ระงับ ข้อพิพาท ระหว่าง กัน หา มีผล เปลี่ยนแปลง กรรมสิทธิ์ ใน ที่ดินพิพาท แต่อย่างใด ไม่ ศาลล่าง ทั้ง สอง พิพากษายก ฟ้องโจทก์ ชอบแล้วฎีกา ของ โจทก์ ฟังไม่ขึ้น ”
พิพากษายืน

Share