คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 633/2538

แหล่งที่มา : สำนักงาน ส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

ผู้แย่งการครอบครองจะต้องเข้าไปครอบครองที่ดินด้วยตนเองหรือโดยผู้แทนศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงเพียงว่าประมาณเดือนกุมภาพันธ์2531 ก. ไปบอกโจทก์ว่าได้ออกน.ส.3ก.ทับที่ดินพิพาทของโจทก์ยังไม่พอจะนำมาวินิจฉัยว่า ก.ได้แย่งการครอบครองที่ดินพิพาทตั้งแต่เวลาดังกล่าวการที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าโจทก์ทราบว่า ก. ออกน.ส.3ก.ทับที่ดินพิพาทของโจทก์ย่อมแสดงให้เห็นอยู่ในตัวว่าโจทก์ได้ทราบว่า ก. ได้แย่งการครอบครองที่ดินพิพาทตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์2531แล้วโจทก์ฟ้องคดีเพื่อเอาคืนซึ่งการครอบครองเกินกว่าหนึ่งปีขาดสิทธิฟ้องเอาคืนเป็นคำวินิจฉัยที่ไม่ชอบเมื่อ ก. ไม่เคยเข้าไปครอบครองที่ดินพิพาทหรือให้บุคคลอื่นครอบครองแทน ก.เพียงขอออกน.ส.3ก.ทับที่ดินโจทก์แม้โจทก์ทราบการกระทำดังกล่าวของ ก.แล้วก็ไม่ใช่การแย่งการครอบครองที่ดินพิพาทจากโจทก์

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง และ แก้ไข คำฟ้อง ขอให้ ขับไล่ จำเลย ทั้ง สอง และ บริวารออกจาก ที่ดิน ห้าม มิให้ จำเลย ทั้ง สอง พร้อม บริวาร เกี่ยวข้อง อีก ต่อไปให้ จำเลย ทั้ง สอง รื้อถอน พืชไร่ ซึ่ง ปลูก อยู่ ใน ที่ดิน โจทก์ และ ขนย้ายทรัพย์สิน ออก ไป ทั้งหมด มิฉะนั้น ให้ โจทก์ เป็น ผู้ รื้อถอน และ ขนย้ายโดย จำเลย ทั้ง สอง เป็น ผู้ เสีย ค่าใช้จ่าย ให้ จำเลย ทั้ง สอง ใช้ค่าเสียหาย ให้ แก่ โจทก์ เดือน ละ 3,000 บาท นับแต่ วันฟ้อง ไป จนกว่าจำเลย และ บริวาร จะ รื้อถอน หรือ ขนย้าย ทรัพย์สิน ออก ไป จาก ที่ดิน
จำเลย ทั้ง สอง ให้การ ว่า ที่ดิน ตาม ฟ้อง เป็น ที่ดิน น.ส.3 ก.เลขที่ 2196 ตำบล ท่าเคย อำเภอสวนผึ้ง จังหวัด ราชบุรี ของ จำเลย ที่ 1 ซึ่ง ซื้อ มาจาก นาย เกียรติ สุนทราชุน ทางราชการ ออก น.ส.3 ก. เลขที่ 2196 ให้ แก่ นาย เกียรติ เมื่อ วันที่ 8 ตุลาคม 2530 โดย นาย เกียรติ ได้ ครอบครอง ที่ดินพิพาท ตลอดมา โจทก์ ไม่ได้ ฟ้อง เอาคืน ซึ่ง การ ครอบครอง ภายใน ระยะเวลา หนึ่ง ปี ตาม ที่ กฎหมายกำหนด ที่ดินพิพาท หาก จะ ให้ เช่า ก็ ได้ ค่าเช่า เพียง เดือน ละ 833.33 บาทขอให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิพากษา ให้ ขับไล่ จำเลย ทั้ง สอง และ บริวาร ออกจาก ที่ดินพิพาท ห้าม มิให้ จำเลย ทั้ง สอง พร้อม บริวาร เข้า ไป เกี่ยวข้อง อีก ให้ จำเลยทั้ง สอง รื้อถอน พืชไร่ ที่ ปลูก อยู่ ใน ที่ดินพิพาท และ ขนย้าย ทรัพย์สินออก ไป ทั้งหมด ให้ จำเลย ทั้ง สอง ใช้ ค่าเสียหาย แก่ โจทก์ เดือน ละ700 บาท นับแต่ วันฟ้อง ไป จนกว่า จำเลย และ บริวาร จะ รื้อถอน หรือขนย้าย ทรัพย์สิน ออก ไป จาก ที่ดินพิพาท คำขอ อื่น นอกจาก นี้ ให้ยก
จำเลย ทั้ง สอง อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษากลับ ให้ยก ฟ้องโจทก์
ระหว่าง ระยะเวลา ยื่นฎีกา ปรากฏ จาก คำแถลง ของ โจทก์ และ คำร้องขอขยาย ระยะเวลา ฎีกา ของ เจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์ ของ โจทก์ ว่า โจทก์ถูก ศาลแพ่ง พิพากษา ให้ เป็น บุคคล ล้มละลาย แล้ว ตาม คดี หมายเลขแดงที่ ล. 300/2535 ของ ศาลแพ่ง
โจทก์ โดย เจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์ ของ โจทก์ ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “เห็นว่า การ แย่ง การ ครอบครอง ผู้ แย่ง จะ ต้องเข้า ไป ครอบครอง ที่ดิน ด้วย ตนเอง หรือ โดย ผู้แทน แต่ การ วินิจฉัย ปัญหาเรื่อง แย่ง การ ครอบครอง นั้น ศาลอุทธรณ์ ฟัง ข้อเท็จจริง เพียง ว่า ประมาณเดือน กุมภาพันธ์ 2531 นาย เกียรติ ไป บอก โจทก์ โจทก์ จึง ทราบ ว่า นาย เกียรติ ออก น.ส.3 ก. ทับ ที่ดินพิพาท ของ โจทก์ ข้อเท็จจริง ที่ ศาลอุทธรณ์ รับฟัง มา ดังกล่าว ยัง ไม่พอ ที่ จะ นำ มา วินิจฉัย ว่านาย เกียรติ ได้ แย่ง การ ครอบครอง ที่ดินพิพาท ตั้งแต่ เดือน กุมภาพันธ์ 2531 เพราะ ไม่ปรากฏ ข้อเท็จจริง ว่า นาย เกียรติ ได้ เข้า ครอบครอง ที่ดินพิพาท ด้วย ตนเอง หรือ โดย ผู้แทน หรือไม่ ตั้งแต่ เมื่อใด ดังนั้นที่ ศาลอุทธรณ์ วินิจฉัย ว่า โจทก์ ทราบ ว่า นาย เกียรติ ออก น.ส.3 ก. ทับ ที่ดินพิพาท ของ โจทก์ ย่อม แสดง ให้ เห็น อยู่ ใน ตัว ว่า โจทก์ ได้ ทราบว่า นาย เกียรติ ได้ แย่ง การ ครอบครอง ที่ดินพิพาท ตั้งแต่ เดือน กุมภาพันธ์ 2531 แล้ว เมื่อ โจทก์ ฟ้องคดี เพื่อ เอาคืน ซึ่ง การ ครอบครองเกินกว่า หนึ่ง ปี จึง ขาด สิทธิ ฟ้อง เอาคืน ที่ดินพิพาท เป็น คำวินิจฉัยที่ ไม่ชอบ ศาลฎีกา ย่อม มีอำนาจ วินิจฉัย ข้อเท็จจริง เพิ่มเติม เพื่อนำ มา วินิจฉัย ปัญหาข้อกฎหมาย ใน ประเด็น ที่ ว่า โจทก์ ฟ้องคดี เพื่อ เอาคืนซึ่ง ที่ดินพิพาท ภายใน หนึ่ง ปี นับแต่ ถูก แย่ง การ ครอบครอง หรือไม่และ ประเด็น เกี่ยวเนื่อง ว่า โจทก์ เสียหาย หรือไม่ เพียงใด ด้วยโดย ไม่ต้อง ย้อนสำนวน ไป ให้ ศาลอุทธรณ์ วินิจฉัย เพิ่มเติม และ พิพากษาใหม่ เพราะ คู่ความ ได้ นำสืบ มา จน สิ้น กระแสความ แล้ว ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 243(3) ปัญหา ดังกล่าวโจทก์ มี นาย ชวน ฉ่ำตากล้อง เป็น พยาน เบิกความ ว่า พยาน เป็น ผู้ช่วย ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ ที่ 3 ตำบล ท่าเคย พยาน เริ่ม เช่า ที่ดิน จาก โจทก์ ตั้งแต่ ปี 2525 ใน ตอนแรก เช่า เนื้อที่ 10 ไร่ และ เพิ่ม จำนวนที่ดิน ที่ เช่า เรื่อย มา จน กระทั่ง เดือน เมษายน 2532 เป็น 90 ไร่ ตามสำเนา สัญญาเช่า เอกสาร หมาย จ. 13 ถึง จ. 16 ที่ดิน โจทก์ ด้าน ทิศเหนือจด ที่ดิน นาย วน ทิศตะวันตก เป็น ทางสาธารณะ ตาม ที่ดิน ใน เส้น สีแดง ใน แผนที่ พิพาท เอกสาร หมาย จ. ล. 1 พยาน เช่า ที่ดิน โจทก์ ทำกิน เรื่อย มาไม่มี ผู้ใด โต้แย้ง คัดค้าน จน กระทั่ง ปลาย เดือน มีนาคม 2532นาย เกียรติ กล่าวอ้าง ว่า ที่ดิน เป็น ของ ตน พยาน จึง ไป แจ้ง ให้ โจทก์ ทราบ และ นาย ล้วน จันทร์ศรีเจริญ พยานโจทก์ อีก ปาก เบิกความ ว่า พยาน เช่า ที่ดิน จาก นาย เกียรติ ตาม สำเนา สัญญาเช่า เอกสาร หมาย จ. 28 ซึ่ง อยู่ ติดกับ ไร่ อ้อย ของ โจทก์ โจทก์ มอบหมาย ให้ พยาน ดูแลที่ดิน โจทก์ เนื้อที่ ประมาณ 120 ไร่ ตาม พื้นที่ ใน เส้น สีแดง ใน แผนที่พิพาท เอกสาร หมาย จ. ล. 1 ใน ช่วง ที่ พยาน ดูแล ที่ดิน ให้ โจทก์ นั้นนาย ชวน ได้ เช่า ที่ดิน โจทก์ อยู่ ต่อมา วันที่ 20 เมษายน 2532 พยาน และ สิบตำรวจโท อดุลย์ ได้ เข้า ไป ดู ที่ดิน โจทก์ เห็น รถไถ เข้า ไป ไถ ที่ดิน โจทก์ จึง แจ้ง ให้ โจทก์ ทราบ ส่วน จำเลย ทั้ง สอง มี ตัว จำเลย ที่ 1เบิกความ ว่า จำเลย ที่ 1 ซื้อ ที่ดินพิพาท มาจาก นาย เกียรติ เมื่อ เดือน มีนาคม 2531 นาย เกียรติ พา จำเลย ที่ 1 ไป ดู ที่ดิน และ ชี้ แนว เขต ใน ตอน นั้น ที่ดินพิพาท เป็น ที่โล่ง ไม่มี ใคร ครอบครอง ทำประโยชน์ไม่มี ร่องรอย การ ปลูก พืชผล ต่อมา เดือน พฤศจิกายน 2531 จำเลย ที่ 1ให้ จำเลย ที่ 2 เช่า ที่ดิน ดังกล่าว ปลูก มัน สำปะ หลัง ค่าเช่า ปี ละ10,000 บาท และ จำเลย ที่ 2 เบิกความ ว่า จำเลย ที่ 2เช่า ที่ดินพิพาท จาก จำเลย ที่ 1 เมื่อ วันที่ 21 พฤศจิกายน 2531และ ได้ เข้า ปลูก มัน สำปะหลัง ใน ที่ดินพิพาท จำเลย ที่ 1 เคย เห็นนาย เกียรติ ทำประโยชน์ ใน ที่ดินพิพาท มา ก่อน ต่อมา เห็น นาย ชวน ทำประโยชน์ และ ทิ้ง ว่าง ไว้ 2 ปี เห็นว่า พยานโจทก์ ดังกล่าว เป็น ผู้ทำประโยชน์ ใน ที่ดินพิพาท และ เป็น ผู้ได้รับ มอบหมาย จาก โจทก์ ให้ ดูแลที่ดินพิพาท เป็น ผู้ที่ อยู่ ใกล้ชิด และ เกี่ยวข้อง กับ ที่ดินพิพาท โดยตรงย่อม รู้เห็น ว่า ผู้ใด เป็น ผู้ครอบครอง ที่ดินพิพาท ตั้งแต่ เมื่อใดส่วน จำเลย ทั้ง สอง นอกจาก ไม่ได้ นำ นาย เกียรติ ซึ่ง จำเลย ทั้ง สอง อ้างว่า เป็น ผู้ครอบครอง ที่ดินพิพาท ก่อน ที่ จะขาย ให้ แก่ จำเลย ที่ 1 มา เบิกความสนับสนุน แล้ว จำเลย ที่ 1 ก็ ไม่ได้ เบิกความ ว่า นาย เกียรติ เป็น ผู้ครอบครอง ที่ดิน แต่ กลับ เบิกความ ว่า ที่ดินพิพาท เป็น ที่โล่ง ไม่มีใคร ครอบครอง ทำประโยชน์ และ จำเลย ที่ 2 เบิกความ เพียง ว่า เคย เห็นนาย เกียรติ ทำประโยชน์ ใน ที่ดินพิพาท มา ก่อน แต่ ไม่ได้ เบิกความ ถึง เลย ว่า นาย เกียรติ ครอบครอง ที่ดินพิพาท ตั้งแต่ เมื่อใด นอกจาก นี้ ยัง เบิกความ เจือสม พยานโจทก์ ว่า เห็น นาย ชวน ทำประโยชน์ ใน ที่ดิน พิพาท พยานหลักฐาน ของ โจทก์ จึง มี น้ำหนัก มาก กว่า พยานหลักฐาน ของ จำเลยทั้ง สอง ข้อเท็จจริง ฟังได้ ว่า นาย เกียรติ ไม่เคย เข้า ไป ครอบครอง ที่ดินพิพาท หรือ ให้ บุคคลอื่น ครอบครองแทน การ ที่นาย เกียรติ เพียง ขอ ออก น.ส.3 ก. ทับ ที่ดิน โจทก์ แม้ โจทก์ ทราบ การกระทำ ดังกล่าวของ นาย เกียรติ แล้ว ก็ ตาม ก็ ไม่ใช่ การ แย่ง การ ครอบครอง ที่ดินพิพาท จาก โจทก์ และ จาก ทางนำสืบ ของ จำเลย ทั้ง สอง ปรากฏว่า จำเลย ที่ 1 ซื้อที่ดินพิพาท จาก นาย เกียรติ เมื่อ วันที่ 9 มีนาคม 2531 แต่ ก็ มิได้ เข้า ครอบครอง ทำประโยชน์ ใน ที่ดินพิพาท ใน ทันที จน วันที่ 29 พฤศจิกายน2531 จึง ให้ จำเลย ที่ 2 เช่า ปลูก มัน สำปะหลัง ซึ่ง ถือได้ว่า เป็นวันที่ จำเลย ที่ 1 โดย จำเลย ที่ 2 เข้า แย่ง การ ครอบครอง ที่ดินพิพาทจาก โจทก์ นับ ถึง วันฟ้อง คือ วันที่ 25 พฤษภาคม 2532 ยัง ไม่เกิน หนึ่ง ปีโจทก์ ยัง ไม่ ขาด สิทธิ ฟ้อง เรียกคืน ที่ดินพิพาท ”
พิพากษากลับ ให้ บังคับคดี ตาม คำพิพากษา ศาลชั้นต้น

Share