คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 373/2538

แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

ย่อสั้น

พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2497บัญญัติไว้โดยเด็ดขาดให้เจ้าหน้าที่ต้องปฏิบัติตามบทบัญญัติมาตรา9เมื่อพระราชกฤษฎีกากำหนดแนวทางหลวงที่จะสร้างทางหลวงเทศบาลสาย รัชดาภิเษก ตอนแขวงบางซื่อ-แขวงลาดยาวพ.ศ.2517มาตรา4บัญญัติไว้ว่าให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเป็นเจ้าหน้าที่ดำเนินการตามพระราชกฤษฎีกานี้ดังนั้นกรุงเทพมหานครจำเลยที่1จึงมีหน้าที่ต้องแจ้งให้สำนักงานที่ดินกรุงเทพมหานครทราบตามมาตรา9ค.เมื่อจำเลยที่1มิได้แจ้งจึงเป็นการละเว้นไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายหากจำเลยที่1ไม่ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยแจ้งต่อเจ้าพนักงานที่ดินเมื่อโจทก์มาจดทะเบียนการซื้อขายเจ้าพนักงานที่ดินก็จะต้องแจ้งให้โจทก์ทราบว่าที่ดินซึ่งเป็นที่ตั้งของอาคารพิพาทจะต้องถูกเวนคืนโจทก์ก็คงจะไม่ซื้อที่ดินและอาคารพิพาทการละเว้นไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายของจำเลยที่1ดังกล่าวจึงเป็นผลโดยตรงก่อให้บังเกิดความเสียหายแก่โจทก์ย่อมเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ การที่จำเลยที่2ไม่แจ้งให้บริษัท ธ.ทราบเป็นการกระทำละเมิดต่อบริษัท ธ. หากมีความเสียหายเกิดขึ้นก็เป็นเรื่องที่บริษัท ธ.จะไปว่ากล่าวเอาแก่จำเลยที่2ส่วนโจทก์ซึ่งรับโอนอาคารพิพาทจากบริษัท ธ.ตามสัญญาซื้อขายอีกต่อหนึ่งนั้นโจทก์หาได้มีนิติสัมพันธ์กับจำเลยที่2ไม่ความเสียหายที่โจทก์ได้รับเพราะที่ดินถูกเวนคืนและอาคารพิพาทถูกรื้อจึงถือไม่ได้ว่าเป็นผลโดยตรงจากการทำละเมิดของจำเลยที่2จำเลยที่2มิได้ทำละเมิดต่อโจทก์ จำเลยที่1ได้ส่งเจ้าหน้าที่เข้าครอบครองและรื้อถอนอาคารพิพาทเมื่อวันที่14ตุลาคม2529ถือได้ว่ามูลละเมิดเกิดขึ้นนับตั้งแต่วันที่กล่าวนี้เป็นต้นไปโจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่1มิถุนายน2530ยังไม่เกิน1ปีนับแต่มูลละเมิดเกิดขึ้นคดีโจทก์ยังไม่ขาดอายุความ

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ว่า โจทก์ ซื้อ อาคาร พร้อม ที่ดิน จาก บริษัท ธนสถิตย์ จำกัด ซึ่ง ได้รับ อนุญาต จาก จำเลย ที่ 2 ผู้รักษาราชการแทน หัวหน้าเขต ดุสิต ให้ ทำการ ก่อสร้าง ได้ โดย จำเลย ที่ 2 ควร จะ รู้ ว่า ที่ดินบริเวณ ดังกล่าว ถูก เวนคืน โดย พระราชกฤษฎีกากำหนด แนว ทางหลวง ที่ จะ สร้าง ทางหลวง เทศบาลสาย รัชดาภิเษก ตอน แขวง บาง ซื้อ -แขวง ลาดยาว พ.ศ. 2517 กลับ ออก หนังสือ อนุญาต ให้ บริษัท ธนสถิตย์ จำกัด ให้ ทำการ ก่อสร้าง ได้ และ จำเลย ที่ 1 เป็น เจ้าหน้าที่ รับผิดชอบ การ เวนคืน อสังหาริมทรัพย์มี หน้าที่ ต้อง แจ้ง ให้ เขต หรือ สำนักงาน ที่ดิน ทราบ ถึง ที่ดิน ที่ จะถูก เวนคืน และ ห้าม มิให้ มี การ ซื้อ ขาย กลับ ไม่แจ้ง ให้ เขต หรือสำนักงาน ที่ดิน ทราบ คง ปล่อย ให้ ออก หนังสือ อนุญาต ให้ ปลูกสร้างและ สำนักงาน ที่ดิน กรุงเทพมหานคร จดทะเบียน โอน กรรมสิทธิ์ ให้ โจทก์นอกจาก นั้น จำเลย ที่ 1 ยัง กระทำ โดย จงใจ ประมาท เลินเล่อ เข้า ครอบครองที่ดิน และ ดำเนินการ รื้อถอน อาคาร ของ โจทก์ ทำให้ โจทก์ เสียหาย ขอให้จำเลย ทั้ง สอง ชำระ ค่าเสียหาย เป็น เงิน 900,000 บาท พร้อม ด้วย ดอกเบี้ย
จำเลย ทั้ง สอง ให้การ และ แก้ไข คำให้การ ทำนอง เดียว กัน ว่า จำเลยทั้ง สอง ไม่ได้ กระทำ ละเมิด ต่อ โจทก์ ฟ้องโจทก์ ขาดอายุความ ขอให้ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิพากษายก ฟ้อง
ศาลอุทธรณ์ พิพากษากลับ ว่า ให้ จำเลย ทั้ง สอง ชำระ เงิน จำนวน460,044 บาท พร้อม ด้วย ดอกเบี้ย อัตรา ร้อยละ เจ็ด ครึ่ง ต่อ ปี นับแต่วันฟ้อง จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ แก่ โจทก์
จำเลย ทั้ง สอง ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า ข้อเท็จจริง ที่ คู่ความ รับ กัน และ ไม่ได้โต้เถียง กัน ฟังได้ ว่า พระราชกฤษฎีกา กำหนด แนว ทางหลวง ที่ จะ สร้าง ทางหลวงเทศบาล สาย รัชดาภิเษก ตอน แขวง บางซื่อ-แขวงลาดยาว พ.ศ. 2517ซึ่ง มีผล บังคับ ใช้ ตั้งแต่ วันที่ 28 พฤษภาคม 2517 โดย ให้ผู้ว่าราชการ กรุงเทพมหานคร เป็น เจ้าหน้าที่ ผู้ดำเนินการ ตามพระราชกฤษฎีกา นี้ หลังจาก ที่ พระราชกฤษฎีกา ดังกล่าว มีผล บังคับ แล้วบริษัท ธนสถิตย์ จำกัด ได้ ขออนุญาต เขต ดุสิต ปลูกสร้าง อาคาร 4 ชั้น รวม 29 ห้อง บน ที่ดิน ซึ่ง อยู่ ใน แนวเขต สร้าง ทางหลวง เทศบาลตาม พระราชกฤษฎีกา ดังกล่าว จำเลย ที่ 2 ซึ่ง ปฏิบัติ ราชการ แทนหัวหน้าเขต ดุสิต ได้ อนุญาต ให้ ปลูกสร้าง อาคาร ดังกล่าว ได้ โดย มิได้ แจ้ง ให้ บริษัท ธนสถิตย์ จำกัด ผู้ขออนุญาต ทราบ ว่า อาคาร ที่ จะ ปลูกสร้าง อยู่ ใน แนว ทางหลวง เทศบาล สาย รัชดาภิเษก ตาม พระราชกฤษฎีกา ฉบับ ดังกล่าว ครั้น เมื่อ บริษัท ธนสถิตย์ จำกัด ได้ ทำการ ปลูกสร้าง อาคาร ที่ ขออนุญาต เสร็จ แล้ว ได้ โอน ขาย อาคาร พร้อม ที่ดิน ให้ แก่ โจทก์รวม 3 ห้อง และ ได้ ไป จดทะเบียน การ ซื้อ ขาย กัน ที่ สำนักงาน ที่ดินกรุงเทพมหานคร เมื่อ วันที่ 17 พฤศจิกายน 2521 โดย เจ้าพนักงาน ที่ดินไม่ได้ แจ้ง ให้ โจทก์ ทราบ ว่า ที่ดิน และ อาคาร ดังกล่าว อยู่ ใน แนวเขตทางหลวง เทศบาล ตาม พระราชกฤษฎีกา ฉบับ ดังกล่าว ทั้งนี้ เพราะจำเลย ที่ 1 ไม่ได้ แจ้ง เรื่อง ที่ มี พระราชกฤษฎีกา ฉบับ ดังกล่าว ให้เจ้าพนักงาน ที่ดิน ทราบ ต่อมา ทางราชการ ได้ มี พระราชบัญญัติ เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ เพื่อ สร้าง ทางหลวง เทศบาล สาย รัชดาภิเษกฯ พ.ศ. 2526 ซึ่ง มีผล บังคับ ใช้ ตั้งแต่ วันที่ 31 มีนาคม 2526 และ ใน วันที่14 ตุลาคม 2529 ผู้ว่าราชการ กรุงเทพมหานคร ได้ สั่ง ให้ เจ้าหน้าที่เข้า ครอบครอง และ รื้อ อาคาร ของ โจทก์ ที่ ซื้อ มา ดังกล่าว คดี มีข้อ วินิจฉัย ตาม ฎีกา จำเลย ทั้ง สอง ว่า จำเลย ทั้ง สอง ได้ ทำละเมิดต่อ โจทก์ หรือไม่ จำเลย ที่ 1 ฎีกา ว่า ตาม พระราชบัญญัติ ว่าด้วยการ เวนคืน อสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2497 มาตรา 9 ไม่ได้ บังคับ ไว้โดย เด็ดขาด ว่า เจ้าหน้าที่ จะ ต้อง มอบ พระราชกฤษฎีกา และ พระราชบัญญัติเวนคืน ณ สถานที่ ตาม มาตรา ดังกล่าว ข้อ ก. ข. และ ค. แต่อย่างใดการ ที่ จำเลย ที่ 1 มิได้ ปฏิบัติ ตาม กฎหมาย ดังกล่าว จึง ไม่เป็นการ ทำละเมิด ต่อ โจทก์ เห็นว่า ตาม พระราชบัญญัติ ว่าด้วย การ เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2497 มาตรา 9 บัญญัติ ไว้ ว่า นอกจาก ที่ จะ ต้องประกาศ ใน ราชกิจจานุเบกษา แล้ว ให้ เจ้าหน้าที่ มอบ สำเนา อัน แท้จริงแห่ง พระราชกฤษฎีกา และ พระราชบัญญัติ ดังกล่าว ใน มาตรา 6 และมาตรา 8 พร้อม ทั้ง แผนที่ ท้าย พระราชกฤษฎีกา และ พระราชบัญญัติ นั้น ๆไว้ ณ สถานที่ เหล่านี้ คือ ก. ที่ทำการ เจ้าหน้าที่ ข. ที่ทำการ ผู้ว่าราชการจังหวัด ซึ่ง ทรัพย์สิน ที่ ต้อง เวนคืน นั้น ตั้ง อยู่ ค. ที่ว่าการ อำเภอ หรือ หอทะเบียน ที่ดิน ใน ตำบล ซึ่ง ทรัพย์สิน ที่ ต้อง เวนคืน นั้น ตั้ง อยู่ และ มาตรา 4 บัญญัติ ว่า “เจ้าหน้าที่ “หมายความ ว่า กระทรวง ทบวง กรม ใน รัฐบาล หรือ ทบวง การเมือง อื่นหรือ บุคคล ผู้กระทำ การ เพื่อ ประโยชน์ ของรัฐ ซึ่ง มีอำนาจ ที่ จะกระทำการ ใด ๆ ที่ ได้รับ อำนาจ ให้ กระทำ หรือ ควบคุม การ เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ ดังนี้ ถือว่า พระราชบัญญัติ ว่าด้วย การ เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2497 บัญญัติ ไว้ โดย เด็ดขาด ให้ เจ้าหน้าที่ต้อง ปฏิบัติ ตาม บทบัญญัติ มาตรา 9 เมื่อ พระราชกฤษฎีกา กำหนด แนวทางหลวง ที่ จะ สร้าง ทางหลวง เทศบาล สาย รัชดาภิเษก ตอน แขวง บางซื่อ-แขวงลาดยาว พ.ศ. 2517 มาตรา 4 บัญญัติ ไว้ ว่า ให้ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เป็น เจ้าหน้าที่ ดำเนินการ ตาม พระราชกฤษฎีกา นี้ดังนั้น จำเลย ที่ 1 จึง มี หน้าที่ ต้อง แจ้ง ให้ สำนักงาน ที่ดินกรุงเทพมหานคร ทราบ ตาม มาตรา 9 ค. เมื่อ ข้อเท็จจริง ฟังได้ ว่าจำเลย ที่ 1 มิได้ แจ้ง จึง เป็น การ ละเว้น ไม่ปฏิบัติ หน้าที่ตาม กฎหมาย หาก จำเลย ที่ 1 ไม่ ละเว้น การปฏิบัติหน้าที่ โดย แจ้ง ต่อเจ้าพนักงาน ที่ดิน เมื่อ โจทก์ มา จดทะเบียน การ ซื้อ ขาย เจ้าพนักงาน ที่ดินก็ จะ ต้อง แจ้ง ให้ โจทก์ ทราบ ว่า ที่ดิน ซึ่ง เป็น ที่ ตั้ง ของ อาคาร พิพาทจะ ต้อง ถูก เวนคืน โจทก์ ก็ คง จะ ไม่ ซื้อ ที่ดิน และ อาคาร พิพาท การ ละเว้นไม่ปฏิบัติ หน้าที่ ตาม กฎหมาย ของ จำเลย ที่ 1 ดังกล่าว จึง เป็น ผล โดยตรงก่อ ให้ บังเกิด ความเสียหาย แก่ โจทก์ กล่าว คือ ทำให้ โจทก์ ซื้ออาคาร พิพาท มา และ ต้อง ถูก รื้อ ย่อม เป็น การกระทำ ละเมิด ต่อ โจทก์ฎีกา ของ จำเลย ที่ 1 ข้อ นี้ ฟังไม่ขึ้น ส่วน จำเลย ที่ 2 ฎีกา ว่า ไม่มีกฎหมาย หรือ ระเบียบ ข้อบังคับ ให้ จำเลย ที่ 2 ต้อง แจ้ง ให้ บริษัท ธนสถิตย์ จำกัด ผู้ขออนุญาต ปลูกสร้าง อาคาร ทราบ ว่า ที่ดิน จะ ถูก เวนคืน เห็นว่า ถึง หาก จะ ฟัง ว่า จำเลย ที่ 2 ไม่แจ้ง ให้ บริษัท ธนสถิตย์ จำกัด ทราบ จะ เป็น การ ทำละเมิด เพราะ เกิดจาก ความประมาท เลินเล่อ ของ จำเลย ที่ 2 การกระทำ ของ จำเลย ที่ 2 ดังกล่าว ก็ เป็นการ ทำละเมิด ต่อ บริษัท ธนสถิตย์ จำกัด หาก มี ความเสียหาย เกิดขึ้น ก็ เป็น เรื่อง ที่ บริษัท ธนสถิตย์ จำกัด จะ ไป ว่ากล่าว เอา แก่ จำเลย ที่ 2 ส่วน โจทก์ ซึ่ง รับโอน อาคาร พิพาท จาก บริษัท ธนสถิตย์ จำกัด ตาม สัญญาซื้อขาย มา อีก ต่อ หนึ่ง นั้น โจทก์ หา ได้ มี นิติสัมพันธ์ กับจำเลย ที่ 2 ไม่ ความเสียหาย ที่ โจทก์ ได้รับ เพราะ ที่ดิน ถูก เวนคืนและ อาคาร พิพาท ถูก รื้อ จึง ถือไม่ได้ว่า เป็น ผล โดยตรง จาก การ ทำละเมิดของ จำเลย ที่ 2 คดี ฟัง ไม่ได้ ว่า จำเลย ที่ 2 ทำละเมิด ต่อ โจทก์ฎีกา จำเลย ที่ 2 ฟังขึ้น
ส่วน ปัญหา ข้อ อายุความ จำเลย ที่ 1 ฎีกา ว่า อายุความ ฟ้องร้องคดี นี้ เริ่ม นับ ตั้งแต่ วันที่ โจทก์ ได้รับ ทราบ หนังสือ ของ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ที่ แจ้ง การ เข้า ครอบครอง และ ให้ รื้อถอน อาคาร พิพาทฉบับ ลงวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2526 ตาม เอกสาร หมาย ล. 3 แต่ โจทก์ฟ้องคดี นี้ เมื่อ วันที่ 1 มิถุนายน 2530 เกิน 1 ปี นับแต่ วัน รู้ตัวผู้ที่ จะ ต้อง ใช้ ค่าสินไหมทดแทน คดี โจทก์ จึง ขาดอายุความ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 นั้น เห็นว่า แม้ โจทก์ จะ ได้ทราบ ถึง การ แจ้ง การ ครอบครอง และ ให้ รื้อถอน อาคาร พิพาท ตั้งแต่เดือน กุมภาพันธ์ 2526 ดัง ที่ จำเลย ที่ 1 ฎีกา ก็ ตาม แต่ ใน ขณะ นั้นอาคาร พิพาท ยัง ไม่ ถูก เข้า ครอบครอง และ รื้อถอน มูลละเมิด จึง ยังไม่ เกิด แต่ ข้อเท็จจริง ฟังได้ ว่า จำเลย ที่ 1 ได้ ส่ง เจ้าหน้าที่เข้า ครอบครอง และ รื้อถอน อาคาร พิพาท เมื่อ วันที่ 14ตุลาคม 2529 ดังนี้ ถือได้ว่า มูลละเมิด เกิดขึ้น นับ ตั้งแต่ วันที่กล่าว นี้ เป็นต้น ไป โจทก์ ฟ้องคดี นี้ เมื่อ วันที่ 1 มิถุนายน 2530ยัง ไม่เกิน 1 ปี นับแต่ มูลละเมิด เกิดขึ้น คดี โจทก์ ยัง ไม่ ขาดอายุความ
พิพากษาแก้ เป็น ว่า ให้ จำเลย ที่ 1 ชำระ เงิน จำนวน 230,067 บาทแก่ โจทก์ พร้อม ด้วย ดอกเบี้ย อัตรา ร้อยละ เจ็ด ครึ่ง ต่อ ปี นับแต่ วันฟ้องจนกว่า จะ ชำระ เสร็จ ให้ยก ฟ้องโจทก์ สำหรับ จำเลย ที่ 2 นอกจาก ที่ แก้ให้ เป็น ไป ตาม คำพิพากษา ศาลอุทธรณ์

Share