คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 359/2538

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

บันทึกข้อตกลงต่อท้ายทะเบียนการหย่าซึ่งระบุว่าจำเลยที่1ในฐานะภริยายกที่พิพาทให้แก่ ม. ซึ่งเป็นสามีเป็นสัญญาแบ่งทรัพย์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1532และเป็นเอกสารที่พนักงานเจ้าหน้าที่ได้จัดทำขึ้นเพื่อประโยชน์แก่ประชาชนให้ประชาชนได้ตรวจดูและอ้างอิงเป็นพยานหลักฐานได้จึงเป็นเอกสารมหาชนต้องด้วยข้อสันนิษฐานตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา127ว่าเป็นของแท้จริงและถูกต้องเมื่อโจทก์ไม่มีพยานมาสืบให้เห็นเป็นอย่างอื่นจึงรับฟังได้ว่าได้มีการแบ่งทรัพย์สินกันเรียบร้อยแล้วที่พิพาทจึงตกเป็นสิทธิของ ม. นับแต่เวลาจดทะเบียนการหย่าการที่จำเลยที่1จดทะเบียนโอนที่พิพาทให้แก่จำเลยที่2และที่3ซึ่งเป็นทายาทของ ม. ในภายหลังมีผลเป็นเพียงการแก้ไขชื่อผู้มีสิทธิในที่พิพาทให้ตรงความจริงหาใช่เป็นการจำหน่ายจ่ายโอนทรัพย์สินอันจะเป็นทางให้โจทก์เจ้าหนี้เสียเปรียบและขอเพิกถอนตามมาตรา237ไม่แม้จำเลยที่1ที่3มิได้ฎีกาแต่เป็นคดีเกี่ยวด้วยการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้จึงให้จำเลยที่1ที่3ได้รับผลจากคำพิพากษาด้วยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา245(1),247

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ว่า เมื่อ วันที่ 22 ธันวาคม 2532 จำเลย ที่ 1 ทำ สัญญาจะขาย ที่ดิน ตาม หนังสือรับรองการทำประโยชน์ เลขที่ 372/202 เนื้อที่12 ไร่ 26 ตารางวา ให้ แก่ โจทก์ ใน ราคา 840,000 บาท โจทก์ ชำระราคา ที่ดิน ให้ จำเลย ที่ 1 ใน วัน ทำ สัญญา 400,000 บาท ที่ เหลือ จะ ชำระใน วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2533 และ จำเลย ที่ 1 จะ ไป จดทะเบียน โอนส่งมอบ การ ครอบครอง ที่ดิน แปลง ดังกล่าว ให้ โจทก์ แต่ จำเลย ที่ 1ผิดสัญญา โจทก์ ฟ้อง จำเลย ที่ 1 เป็น คดีอาญา ต่อ ศาลแขวง เชียงใหม่กับ ฟ้อง จำเลย ที่ 1 เป็น คดีแพ่ง ต่อ ศาลชั้นต้น ให้ จำเลย ที่ 1ใช้ ค่าเสียหาย ให้ แก่ โจทก์ ระหว่าง การ พิจารณา คดีแพ่ง ดังกล่าวจำเลย ทั้ง สาม รู้ อยู่ แล้ว ว่า จำเลย ที่ 1 จะ ต้อง ใช้ เงิน คืน ให้ แก่ โจทก์400,000 บาท ได้ ร่วมกัน ทำการ ฉ้อฉล โจทก์ โดย จำเลย ที่ 1 จดทะเบียน โอนและ ส่งมอบ การ ครอบครอง ที่ดิน ส่วน ของ จำเลย ที่ 1 ตาม หนังสือ รับรองการ ทำประโยชน์ ดังกล่าว ให้ แก่ จำเลย ที่ 2 และ ที่ 3 ทำให้ โจทก์ เสียหายและ เสียเปรียบ ขอให้ พิพากษา เพิกถอน นิติกรรม การ ยกให้ ที่ดิน เฉพาะ ส่วนของ จำเลย ที่ 1 ตาม หนังสือรับรองการทำประโยชน์ เลขที่ 372/202ระหว่าง จำเลย ที่ 1 กับ จำเลย ที่ 2 และ ที่ 3 และ ให้ จำเลย ทั้ง สามจดทะเบียน เปลี่ยนแปลง สิทธิ ทาง ทะเบียน ที่ดิน ดังกล่าว กลับ เป็น ชื่อของ จำเลย ที่ 1 ตาม ส่วน ของ จำเลย ที่ 1 ภายใน 7 วัน นับแต่ วัน มีคำพิพากษา ถ้า ไม่ไป ก็ ให้ ถือเอา คำพิพากษา แทน การแสดง เจตนา โดย จำเลยทั้ง สาม เป็น ผู้ เสีย ค่าใช้จ่าย และ ค่าธรรมเนียม
จำเลย ที่ 1 และ ที่ 3 ขาดนัด ยื่นคำให้การ และ ขาดนัดพิจารณา
จำเลย ที่ 2 ให้การ ว่า จำเลย ทั้ง สาม มิได้ โอน ที่พิพาท โดย มีเจตนา ฉ้อฉล หรือ ฉ้อโกง โจทก์ ที่พิพาท มิใช่ ของ จำเลย ที่ 1 แต่ เป็นมรดก ตก ได้ แก่ จำเลย ที่ 2 และ ที่ 3 การ โอน ตาม ฟ้อง เป็น การ โอน รับมรดกโดยชอบ ด้วย กฎหมาย ไม่ทำ ให้ โจทก์ เสียเปรียบ และ ไม่เสีย หาย เพราะ โจทก์ไม่มี สิทธิ บังคับ ชำระหนี้ เอา แก่ ที่พิพาท และ กรณี มิใช่ จำเลย ที่ 1ทำการ จำหน่าย จ่าย โอน ที่พิพาท ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิพากษายก ฟ้อง
โจทก์ อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ ภาค 2 พิพากษากลับ ให้ เพิกถอน การ ให้ เฉพาะ ส่วนใน ที่ดิน ตาม หนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. 3) เลขที่ 372/202ตำบล แม่โป่ง อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัด เชียงใหม่ ระหว่าง จำเลย ที่ 1กับ จำเลย ที่ 2 ที่ 3 ให้ จำเลย ทั้ง สาม ไป ดำเนินการ เปลี่ยนแปลง สิทธิทาง ทะเบียน ให้ ที่ดิน กลับ เป็น ของ จำเลย ที่ 1 ตาม ส่วน ที่ จำเลย ที่ 1มี อยู่ เดิม ภายใน 7 วัน นับแต่ วัน มี คำพิพากษา ถ้า จำเลย ทั้ง สามไม่ไป ดำเนินการ ก็ ให้ ถือเอา คำพิพากษา ของ ศาล แสดง เจตนา แทน โดยจำเลย ทั้ง สาม เป็น ผู้ เสีย ค่าธรรมเนียม และ ค่าใช้จ่าย เกี่ยวกับการ นี้ ทั้งหมด
จำเลย ที่ 2 ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “พิเคราะห์ แล้ว ข้อเท็จจริง ฟังได้ใน เบื้องต้น ว่า จำเลย ที่ 1 เป็น มารดา ของ จำเลย ที่ 2 และ ที่ 3เมื่อ วันที่ 22 ธันวาคม 2532 จำเลย ที่ 1 ได้ ทำ สัญญาจะขาย ที่ดิน ตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ เลขที่ 372/202 ตำบล บ้านโป่ง อำเภอ ดอยสะเก็ด จังหวัด เชียงใหม่ เนื้อที่ 12 ไร่ 26 ตารางวา ให้ แก่ โจทก์ ใน ราคา 840,000 บาท โจทก์ ชำระ ราคา ให้ แก่ จำเลย ที่ 1ใน วัน ทำ สัญญา 400,000 บาท ที่ เหลือ จะ ชำระ ใน วัน ไป จดทะเบียนการ โอน ที่ดิน วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2533 ครบ กำหนด ตาม สัญญา จำเลย ที่ 1ผิดนัด ไม่ไป จดทะเบียน การ โอน ที่ดิน ให้ แก่ โจทก์ ครั้น วันที่14 พฤษภาคม 2533 โจทก์ ฟ้อง จำเลย ที่ 1 ต่อ ศาลชั้นต้นขอให้ บังคับ จำเลย ที่ 1 ใช้ เงิน จำนวน 400,000 บาท พร้อม ด้วย ดอกเบี้ยใน ระหว่าง ผิดนัด ให้ แก่ โจทก์ ระหว่าง พิจารณา คดี ดังกล่าว เมื่อ วันที่22 ตุลาคม 2533 จำเลย ที่ 1 ได้ จดทะเบียน ยก ที่ดิน ตาม หนังสือ รับรองการ ทำประโยชน์ เลขที่ 372/202 ใน ส่วน ของ ตน อันเป็น ที่พิพาท แก่จำเลย ที่ 2 และ ที่ 3 โดยเสน่หา ต่อมา ศาลชั้นต้น พิพากษา ให้ จำเลย ที่ 1รับผิด ใช้ เงิน 400,000 บาท พร้อม ดอกเบี้ย ให้ แก่ โจทก์ ตาม คดีแพ่งหมายเลขแดง ที่ 2108/2533 ของ ศาลชั้นต้น คดีถึงที่สุด มี ปัญหาวินิจฉัย ตาม ฎีกา ของ จำเลย ที่ 2 ว่า โจทก์ ชอบ ที่ จะ ร้องขอ ให้ เพิกถอนนิติกรรม การ ยกให้ ที่พิพาท ระหว่าง จำเลย ที่ 1 กับ จำเลย ที่ 2 และ ที่ 3เพราะ จำเลย ที่ 1 ลูกหนี้ ได้ กระทำ ลง ทั้ง รู้ อยู่ ว่า จะ เป็น ทาง ให้ โจทก์เจ้าหนี้ เสียเปรียบ ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 237ได้ หรือไม่ โจทก์ คง มี ตัว โจทก์ เบิกความ เป็น พยาน ได้ความ เพียง ว่าก่อน วันที่ 22 ตุลาคม 2533 ที่ จำเลย ที่ 1 จดทะเบียน ยก ที่พิพาทให้ แก่ จำเลย ที่ 2 และ ที่ 3 จำเลย ที่ 1 ยัง เป็น ผู้มีชื่อ ถือ สิทธิครอบครอง ใน หนังสือรับรองการทำประโยชน์ ของ ที่พิพาท อยู่ ตาม สารบัญจดทะเบียน เอกสาร หมาย จ. 3 จำเลย ที่ 2 มี ตัว จำเลย ที่ 2 และ จำเลย ที่ 3เป็น พยาน เบิกความ ว่า เดิม ที่ดิน ตาม หนังสือรับรองการทำประโยชน์เลขที่ 372/202 จำเลย ที่ 1 และ นาย ศรีเนียมหรือมานพ ใจมูล ซึ่ง เป็น สามี ภริยา โดยชอบ ด้วย กฎหมาย และ เป็น บิดา มารดา ของ จำเลย ที่ 2และ ที่ 3 เป็น ผู้มีสิทธิ ครอบครอง ร่วมกัน ต่อมา เมื่อ วันที่ 16กรกฎาคม 2522 จำเลย ที่ 1 กับ นาย มานพ ได้ หย่าขาด จาก การ เป็น สามี ภริยา กัน การ หย่า ได้ ไป จดทะเบียน หย่า ต่อ นายทะเบียน และ จำเลย ที่ 1กับ นาย มานพ ได้ ทำ บันทึก ข้อตกลง แบ่ง ทรัพย์สิน กัน ไว้ ด้วย ตาม เอกสาร หมาย ล. 2 และ ล. 3 ใน คดีแพ่ง หมายเลขแดง ที่ 2108/2533ของ ศาลชั้นต้น ตาม บันทึก ข้อตกลง แบ่ง ทรัพย์สิน เอกสาร หมาย ล. 3 ข้อ 3มี ใจความ ว่า ที่ดิน ที่ สวน ตั้ง อยู่ หมู่ ที่ 3 ตำบล แม่โป่ง เนื้อที่ ประมาณ 12 ไร่ เศษ ซึ่ง เป็น ที่ดิน ตาม หนังสือรับรองการทำประโยชน์เลขที่ 372/202 ยกให้ แก่ นาย มานพ ทะเบียน การ หย่า และ บันทึก ข้อตกลง ต่อ ท้าย ทะเบียน การ หย่า เอกสาร หมาย ล. 2 และ ล. 3 เป็น เอกสาร ที่พนักงาน เจ้าหน้าที่ ได้ จัดทำ ขึ้น เพื่อ ประโยชน์ แก่ ประชาชน และ ให้ประชาชน ได้ ตรวจ ดู และ อ้างอิง เป็น พยานหลักฐาน ได้ เอกสาร ดังกล่าวจึง เป็น เอกสารมหาชน ต้องด้วย ข้อสันนิษฐาน ตาม ประมวล กฎหมาย วิธีพิจารณาความ แพ่ง มาตรา 127 ว่า เป็น ของ แท้จริง และ ถูกต้อง เป็น หน้าที่ของ คู่ความ ฝ่าย ที่ ถูก อ้าง เอกสาร ดังกล่าว มา ยัน ต้อง นำสืบความ ไม่ บริสุทธิ์ หรือ ความ ไม่ถูกต้อง แห่ง เอกสาร ดังกล่าว เมื่อ โจทก์ไม่มี พยาน มา สืบ ให้ เห็น เป็น อย่างอื่น จึง รับฟัง ได้ว่า ทะเบียน หย่าและ บันทึก ข้อตกลง แบ่ง ทรัพย์สิน เอกสาร หมาย ล. 2 และ ล. 3 เป็น เอกสารที่ จำเลย ที่ 1 กับ นาย มานพ ได้ ทำ ขึ้น แท้จริง และ ถูกต้อง บันทึก ข้อตกลง แบ่ง ทรัพย์สิน เอกสาร หมาย ล. 3 เป็น สัญญา แบ่ง ทรัพย์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1532 เมื่อ นายทะเบียน จดทะเบียนการ หย่า ให้ แก่ จำเลย ที่ 1 กับ นาย มานพ แล้ว ย่อม ถือว่า ได้ มี การ แบ่ง ทรัพย์สิน ดังกล่าว กัน เรียบร้อย แล้ว นับแต่ เวลา จดทะเบียน การ หย่าที่ดิน ตาม หนังสือรับรองการทำประโยชน์ เลขที่ 372/202 รวมทั้งส่วน ที่ เป็น ที่พิพาท จึง ตกเป็น สิทธิ ของ นาย มานพ นับแต่ เวลา จดทะเบียน การ หย่า เมื่อ ที่พิพาท มิใช่ ทรัพย์สิน ของ จำเลย ที่ 1 การ ที่ จำเลย ที่ 1จดทะเบียน สิทธิ เกี่ยวกับ ที่พิพาท ใน เวลา ต่อมา มีผล เป็น เพียง การ แก้ไขชื่อ ผู้มีสิทธิ ใน ที่พิพาท ให้ ตรง ความจริง เท่านั้น หาใช่ เป็น การ ทำนิติกรรม ใด ๆ ซึ่ง มีผล เป็น การ จำหน่าย จ่าย โอน ทรัพย์สิน ของ ตนอัน จะ เป็น ทาง ให้ โจทก์ เจ้าหนี้ เสียเปรียบ และ ขอ เพิกถอน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 237 ไม่ ที่ ศาลอุทธรณ์ ภาค 2พิพากษา มา นั้น ไม่ต้อง ด้วย ความเห็น ของ ศาลฎีกา ฎีกา ของ จำเลย ที่ 2ฟังขึ้น เมื่อ ฟังได้ ดังนี้ แม้ จำเลย ที่ 1 ที่ 3 มิได้ ฎีกา แต่ คดี นี้เป็น คดี เกี่ยว ด้วย การ ชำระหนี้ อัน ไม่อาจ แบ่งแยก ได้ จึง ให้ จำเลย ที่ 1ที่ 3 ได้รับ ผล จาก คำพิพากษา นี้ ด้วย ตาม ประมวล กฎหมาย วิธีพิจารณาความ แพ่ง มาตรา 245(1) ประกอบ ด้วย มาตรา 247”
พิพากษากลับ ให้ยก ฟ้อง

Share