คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3608/2529

แหล่งที่มา : ADMIN

ย่อสั้น

ตามประมวลรัษฎากรมาตรา39เงินได้อันจะนำมาคำนวณภาษีนั้นไม่ว่าจะเป็นทรัพย์สินหรือประโยชน์อย่างอื่นก็ต้องเป็นสิ่งที่ผู้มีเงินได้ได้รับมาแล้ว. การคำนวณภาษีเงินได้หักณที่จ่ายกฎหมายมุ่งประสงค์ให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินหักภาษีไว้เท่าจำนวนที่ผู้มีเงินได้จะต้องเสียเท่านั้นคือต้องคำนวณจากเงินได้ที่ผู้มีเงินได้รับแล้วหรือเป็นที่แน่ชัดว่าควรจะได้รับต่อไปจนถึงเดือนสุดท้ายของปีเท่านั้นดังนั้นวิธีคำนวณภาษีเงินได้หักณที่จ่ายสำหรับผู้มีเงินได้ที่เข้าทำงานระหว่างปีที่ถูกต้องคือให้นำเงินเดือนเริ่มตั้งแต่เดือนที่จ่ายคำนวณล่วงหน้าจนถึงสิ้นปีเป็นเงินได้พึงประเมินสำหรับคำนวณภาษีตามเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนดไว้แล้วหารด้วยจำนวนเดือนที่จ่ายหักไว้เป็นภาษีแต่ละเดือน. ฟ้องของโจทก์ขอให้เพิกถอนคำสั่งของเจ้าพนักงานประเมินของจำเลยและเพิกถอนคำสั่งของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ของจำเลยเฉพาะ2รายการที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาให้เพิกถอนคำสั่งของเจ้าพนักงานประเมินของจำเลยและเพิกถอนคำสั่งของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ของจำเลยทั้งหมดจึงเป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้องไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา142.

ย่อยาว

โจกท์ ฟ้อง ว่า เจ้าพนักงาน ประเมิน ของ จำเลย มี หนังสือ แจ้ง ให้โจทก์ นำ เงิน ภาษี เงินได้ ของ คนงาน และ พนักงาน ประจำปี 2520 ซึ่งโจทก์ หัก เวลา จ่าย ไว้ ยัง ไม่ ครบ ขาดเงิน อยู่ อีก 65,938 บาท 14สตางค์ คือ ยอดเงิน สำหรับ ภาษี ของ คนงาน จำนวน 52,921 บาท 24 สตางค์สำหรับ ภาษี ของ พนักงาน โจทก์ สอง คน จำนวน 13,016 บาท 90 สตางค์ซึ่ง จำเลย อ้าง ว่า โจทก์ ยัง ชำระ ไม่ ครบ โจทก์ ไม่ เห็น ด้วย กับพนักงาน ประเมิน ของ จำเลย จึง ได้ ยื่น อุทธรณ์ ต่อมา โจทก์ พิจารณาเห็น ว่า ยอดเงิน จำนวน 52,921 บาท 24 สตางค์ สำหรับ ภาษี ของ คนงานนั้น โจทก์ เห็นด้วย กับ พนักงาน ของ จำเลย โจทก์ จึง ชำระ เงิน 52,921บาท 24 สตางค์ ให้ จำเลย คง ให้ จำเลย วินิจฉัย ปัญหา เกี่ยวกับ ภาษีสำหรับ พนักงาน โจทก์ เท่านั้น ต่อมา จำเลย ได้ แจ้ง คำวินิจฉัย อุทธรณ์ให้ โจทก์ ทราบ โดย ให้ โจทก์ ชำระ เงิน เต็ม ตาม ที่ จำเลย เรียกร้องโจทก์ เห็นว่า คำวินิจฉัย อุทธรณ์ ของ จำเลย ไม่ ชอบ ขอ ให้ เพิกถอนคำสั่ง ของ เจ้าพนักงาน ประเมิน ลง วันที่ 17 ธันวาคม 2523 และ เพิกถอนคำสั่ง ของ คณะกรรมการ พิจารณา อุทธรณ์ ของ จำเลย ลง วันที่ 15 มกราคม2524 เกี่ยวกับ ภาษี เงินได้ บุคคล ธรรมดา หัก ณ ที่ จ่ายปี 2520
จำเลย ให้การ ว่า การ ประเมิน ภาษี ของ เจ้าพนักงาน ประเมิน ปฏิบัติโดย ชอบ ด้วย กฎหมาย แล้ว ขอ ให้ ยกฟ้อง
โจทก์ ขอ ให้ เรียก นาย พนัส สิมะเสถียร ใน ฐานะ ประธาน คณะกรรมการพิจารณา อุทธรณ์ เข้า เป็น จำเลยร่วม ศาลชั้นต้น อุนญาต
จำเลยร่วม ให้การ ต่อสู้ ใจความ ทำนอง เดียว กับ จำเลย ทุก ประการ
ศาลชั้นต้น พิพากษา ให้ เพิกถอน คำสั่ง ของ เจ้าพนักงาน ประเมินลง วันที่ 17 ธันวาคม 2523 และ ให้ เพิกถอน คำสั่ง ของ ของ คณะกรรมการพิจารณา อุทธรณ์ ของ จำเลย ลง วันที่ 15 มกราคม 2524 เกี่ยวกับ ภาษีเงินได้ บุคคล ธรรมดา หัก ณ ที่ จ่าย ปี 2520
จำเลย อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษา ยืน
จำเลย ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า พิเคราะห์ แล้ว มี ปัญหา ที่ โต้แย้ง กัน มา สู่ศาลฎีกา เพียง ประการ เดียว ว่า วิธีการ คำนวณ ภาษี เงินได้ สำหรับราย นาย โยชิฮารุ เอจิมา และ ราย นางสาว พรพิมล เมฆะมาน พนักงาน ของโจทก์ ซึ่ง เข้า ทำงาน ระหว่าง ปี นั้น ควร ต้อง ใช้ วิธี นำ จำนวนเงินเดือน เริ่ม ตั้งแต่ ที่ จ่าย คำนวณ ล่วงหน้า จน ถึง สิ้นปี คูณด้วย จำนวน คราว ที่ จะ ต้อง จ่าย โดย ราย นาย โยชิฮารุ และ ราย นางสาวพรพิมล คูณ ด้วย 10 และ 9 ตาม ลำดับ เป็น เงิน ได้ พึง ประเมิน สำหรับคำนวณ ภาษี ตาม เกณฑ์ ที่ กฎหมาย กำหนด ไว้ แล้ว หาร ด้วย จำนวน เดือนที่ จ่าย ได้ ผลลัพธ์ เป็น เงิน เท่าใด ให้ หัก ไว้ เป็น ภาษี เงินได้แต่ ละ เดือน ดัง โจทก์ คิด คำนวณ หรือ ใช้ วิธี คำนวณ โดย ถือ ว่าพนักงาน ของ โจทก์ ได้ รับ เงินเดือน เต็ม ทั้ง ปี หรือ นัย หนึ่งคูณ เงินเดือน ที่ จ่าย ด้วย 12 เสมอ ไป ไม่ ว่า ผู้นั้น จะ ทำงานกี่ เดือน ใน ปี นั้น ก็ ตาม ถือว่า เป็น การ ทำงาน ทั้ง ปี และ โดยไม่ คำนึง ว่า ผู้ มี เงินได้ จะ ได้ รับ เงินได้ จริง เท่าใด ดัง จำเลยคิด คำนวณ เห็นว่า ตาม ประมวลรัษฎากร มาตรา 39 คำว่า ‘เงินได้พึงประเมิน’ หมายความ ว่า เงินได้ อัน เข้า ลักษณะ พึง เสีย ภาษี ในหมวด นี้ เงินได้ ที่ กล่าว นี้ ให้ หมายความ รวม ตลอด ถึง ทรัพย์สินหรือ ประโยชน์ อย่างอื่น ที่ ได้ รับ ซึ่ง อาจ คิด คำนวณ ได้ เป็นเงินฯลฯ แสดง ว่า เงินได้ อัน จะ นำ มา คำนวณ ภาษี นั้น ไม่ ว่า จะเป็น ทรัพย์สิน หรือ ประโยชน์ อย่างอื่น ก็ ต้อง เป็น สิ่ง ที่ ผู้ มีเงินได้ ได้ รับ มา แล้ว ทั้ง การ หัก ภาษี เงินได้ ณ ที่ จ่าย ก็ มีมาตรา 50(1) บัญญัติ ให้ ผู้จ่าย เงิน ได้ พึงประเมิน หัก ภาษี เงินได้ไว้ ทุกคราว ที่ จ่าย เงิน ได้ พึงประเมิน ตาม มาตรา 40 โดย ใน กรณีเงินได้ พึงประเมิน ตาม มาตรา 40(1) และ (2) ให้ คูณ เงินได้ พึงประเมินที่ จ่าย ด้วย จำนวน คราว ที่ จะ ต้อง จ่าย เพื่อ ให้ ได้ จำนวนเงินเสมือน หนึ่ง ว่า ได้ จ่าย ทั้งปี แล้ว คำนวณ ภาษี ตาม เกณฑ์ ใน มาตรา48 เป็น เงิน ภาษี ทั้งสิ้น เท่าใด ให้ หาร ด้วย จำนวน คราว ที่ จะ ต้องจ่าย ได้ ผลลัพธ์ เท่าใด ให้ หัก เป็น เงิน ภาษี ไว้ เท่านั้น ข้อความที่ ว่า เงินได้ พึงประเมิน ตาม มาตรา 40(1) และ (2) ให้ คูณ เงินได้พึงประเมิน ที่ จ่าย ด้วย จำนวน คราว ที่ จะ ต้อง จ่าย แสดง ให้ เห็นว่า เงินได้ ที่ จะ นำ มา คำนวณ ภาษี ก็ ต้อง เป็น เงินได้ ที่ ได้จ่าย คูณ ด้วย จำนวน คราว ที่ จะ ต้อง จ่าย ต่อไป จน ถึง เดือน สุดท้ายของ ปี เพราะ นอกจาก กฎหมาย มาตรา เดียวกัน นี้ จะ กำหนด ให้ คูณ ด้วยจำนวน คราว ที่ จะ ต้อง จ่าย แล้ว ยัง กำหนด ต่อไป ด้วย ว่า เมื่อคำนวณ เป็น เงิน ภาษี ทั้งสิ้น เท่าใด ก็ ให้ หาร ด้วย จำนวน คราวที่ จะ ต้อง จ่าย ผลลัพธ์ จึง จะ หัก เป็น เงิน ภาษี ไว้ ทั้ง ตัวคูณและ ตัวหาร รับกัน อยู่ เช่นนี้ จึง หา ชอบ ที่ จะ แปล ข้อความ ตามกฎหมาย ดังกล่าว เป็น ว่า หาก มี การ จ่าย เงินได้ พึงประเมิน กัน เป็นรายเดือน ก็ ต้อง เอา 12 คูณ เพราะ ปี หนึ่ง มี 12 เดือน ดัง จำเลย ฎีกา ส่วน ที่ กฎหมาย มาตรา ดังกล่าว บัญญัติ ข้อความ ต่อไป ว่า เพื่อ ให้ได้ จำนวน เงิน เสมือน หนึ่ง ว่า ได้ จ่าย ทั้งปี นั้น ก็ หมายถึง เป็นการ คำนวณ ภาษี ล่วงหน้า จาก เงินได้ พึงประเมิน ที่ คาดหมาย ว่า ผู้มี เงินได้ จะ พึง ได้ รับ ตลอด ไป จน ถึง สิ้นปี หาก จะ ตีความ ว่าเพื่อ ให้ ได้ จำนวนเงิน ที่ จ่าย เต็ม ทั้งปี ก็ ไม่ จำต้อง บัญญัติให้ คูณ เงินได้ ที่ จ่าย ด้วย จำนวน คราว ที่ ต้อง จ่าย และ เมื่อได้ เป็น เงิน ภาษี ทั้งสิ้น แล้ว ยัง บัญญัติ ให้ หาร ด้วย จำนวน คราวที่ ต้อง จ่าย อีก ที่ จำเลย ฎีกา ว่า คำว่า ‘เพื่อ ให้ ได้ จำนวนเงินเสมือน หนึ่ง ว่า ได้ จ่าย ทั้งปี’ คำว่า ‘เงิน’ ต้อง มี ความหมาย ต่างกับ คำว่า ‘เงินได้ พึงประเมิน’ ใน มาตรา เดียวกัน ดังนั้น จึง ไม่จำเป็น ต้อง เป็น เงิน ที่ ได้ รับ แล้ว จริง เมื่อ ไม่ จำเป็น ต้องเป็น เงิน ที่ จ่าย จริง ก็ จึง ไม่ จำต้อง เป็น จำนวน คราว ที่ จะ ต้องมี การ จ่าย กัน จริง นั้น เห็นว่า คำว่า ‘เงิน’ หรือ ‘จำนวนเงิน’ดังกล่าว เป็น คำ ขยายความ ของ คำ ว่า ‘เพื่อ ให้ ได้’ นั้นเอง ซึ่งก็ หมายความ ว่า เพื่อ ให้ ได้ เงินได้ พึงประเมิน เป็น จำนวน เงิน รวมกัน ซึ่ง มา จาก เงินได้ พึงประเมิน ที่ จ่าย คูณ ด้วย จำนวน คราว ที่จะ ต้อง จ่าย หา ได้ มี ความหมาย พิเศษ รวมทั้ง หมายความ เลย ไป ถึงว่า ไม่ จำเป็น ต้อง เป็น เงิน ที่ ได้ รับ แล้ว จริง ดัง จำเลย ฎีกาไม่ และ การ ที่ จำเลย อ้าง ใน ฎีกา ว่า วิธีการ ที่ จำเลย คำนวณก็ เพื่อ ป้องกัน การ หลบเลี่ยง ภาษี รวมทั้ง ตัวอย่าง ที่ จำเลย ยกขึ้นอ้าง ล้วน แต่ เป็น ความเห็น ของ จำเลย ทั้งสิ้น หา มี ผล ลบล้างบทบัญญัติ แห่ง กฎหมาย ที่ กล่าว แล้ว ไม่ เป็น ดังนี้ โจทก์ ผู้จ่ายเงินได้ ซึ่ง ต้อง รับผิด ร่วมกับ ผู้มี เงินได้ ใน การ เสีย ภาษีที่ ต้อง ชำระ ตาม จำนวน เงิน ภาษี ที่ มิได้ หัก หรือ นำส่ง หรือ ตามจำนวน ที่ ขาด ตาม ประมวลรัษฎากร มาตรา 54 จึง ต้อง รับผิด เช่นเดียวกับ ผู้ มี เงินได้ สำหรับ จำนวน ภาษี ที่ ต้อง ชำระ เท่านั้น การ ที่จำเลย คำนวณ ภาษี เงินได้ จาก เงินเดือน พนักงาน ของ โจทก์ ซึ่ง เข้าทำงาน ระหว่าง ปี เป็น ว่า มี เงินได้ ทั้งปี โดย ที่ โจทก์ มิได้จ่าย เงิน จำนวน นั้น จึง เป็น การ นำ จำนวนเงิน ที่ ผู้มี เงินได้มิได้ รับ จริง ซึ่ง เงิน จำนวน นั้น ยัง ไม่ เป็น เงินได้ พึงประเมินตาม มาตรา 39 มา รวม คำนวณ ภาษี เงินได้ ด้วย ย่อม เป็น วิธี คำนวณ ให้ยอดเงิน ภาษี เงินได้ สูงกว่า ที่ ผู้ มี เงินได้ ควร จะ ต้อง ชำระและ จะ ทำ ให้ ผู้เสีย ภาษี ต้อง มี ภาระ ใน การ ขอ คืน ภาษี ตาม มาตรา63 นอกจากนี้ ข้อความ ตาม มาตรา 50(1) ที่ ว่า ถ้า การ หาร ด้วย จำนวนคราว ที่ จะ ต้อง จ่าย ไม่ ลงตัว เหลือ เศษ เท่าใด ให้ เพิ่มเงิน จำนวนเท่า ที่ เหลือ เศษ นั้น รวม เข้า กับ เงิน ภาษี ที่ จะ ต้อง หัก ไว้ครั้ง สุดท้าย ใน ปี นั้น เพื่อ ให้ ยอดเงิน ภาษี ที่ หัก รวม ทั้ง ปีเท่ากับ จำนวน ภาษี ที่ จะ ต้อง เสีย ทั้งปี ยิ่ง ทำ ให้ เห็นชัด ว่ากฎหมาย มุ่ง ประสงค์ จะ ให้ ผู้จ่าย เงินได้ พึงประเมิน หัก ภาษี ไว้เท่า จำนวน ที่ ผู้ มี เงินได้ จะ ต้อง เสีย เท่านั้น คือ ต้อง คำนวณจาก เงินได้ ที่ ผู้ มี เงินได้ ได้ รับ แล้ว หรือ เป็น ที่ แน่ชัด ว่าควร จะ ได้ รับ ต่อไป จนถึง เดือน สุดท้าย ของ ปี เท่านั้น สรุป แล้วศาลฎีกา เห็นว่า วิธี คำนวณ ภาษี เงินได้ บุคคล ธรรมดา ของ โจทก์ เฉพาราย นาย โยชิฮารุ และ นางสาว พรพิมล ชอบ ด้วย บทบัญญัติ แห่งประมวลรัษฎากร แล้ว แต่ ที่ ศาลอุทธรณ์ พิพากษา ให้ เพิกถอน คำสั่ง ของเจ้าพนักงาน ประเมิน ลง วันที่ 17 ธันวาคม 2523 และ เพิกถอน คำสั่ง ของคณะกรรมการ พิจารณา อุทธรณ์ ของ จำเลย ลง วันที่ 15 มกราคม 2524เกี่ยวกับ ภาษี เงินได้ บุคคล ธรรมดา หัก ณ ที่จ่าย ปี 2520 นั้น แม้โจทก์ จะ มี คำขอ ท้ายฟ้อง ขอ ให้ เพิกถอน คำสั่ง ของ เจ้าพนักงานประเมิน ลง วันที่ 17 ธันวาคม 2523 และ เพิกถอน คำสั่ง ของ คณะกรรมการพิจารณา อุทธรณ์ ของ จำเลย ลง วันที่ 15 มกราคม 2524 ก็ ตาม แต่ ฟ้องของ โจทก์ คง บรรยาย ฟ้อง เพียง ว่า เจ้าพนักงาน ประเมิน ของ จำเลยและ คณะกรรมการ พิจารณา อุทธรณ์ ของ จำเลย คำนวณ ภาษี เงินได้ เฉพาะราย นาย โยชิฮารุ เอจิมา และ ราย นางสาว พรพิมล เมฆะมาน ไม่ ชอบ ฟ้องของ โจทก์ จึง มี ผล เพียง ตาม ที่ บรรยาย ฟ้อง ไว้ เท่านั้น กล่าวคือขอ ให้ เพิกถอน คำสั่ง ของ เจ้าพนักงาน ประเมิน และ เพิกถอน คำสั่ง ของคณะกรรมการ พิจารณา อุทธรณ์ เฉพาะ 2 ราย ดังกล่าว ดังนั้น การ ที่ศาลล่าง ทั้ง สอง พิพากษา ให้ เพิกถอน คำสั่ง ของ เจ้าพนักงาน ประเมินของ จำเลย และ เพิกถอน คำสั่ง ของ คณะกรรมการ พิจารณา อุทธรณ์ ของ จำเลยทั้งหมด จึง เป็น การ พิพากษา เกินไป กว่า หรือ นอกจาก ที่ ปรากฏ ในคำฟ้อง ไม่ ชอบ ด้วย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 ศาลฎีกาจึง เห็น สมควร แก้ เสีย ให้ ถูกต้อง โดย เพิกถอน คำสั่ง ดังกล่าวเฉพาะ ราย นาย โยชิฮารุ และ ราย นางสาว พรพิมล เท่านั้น ฎีกา จำเลย ฟังขั้น บาง ส่วน
พิพากษา แก้ เป็น ว่า ให้ เพิกถอน คำสั่ง ของ เจ้าพนักงาน ประเมิน ลงวันที่ 17 ธันวาคม 2523 และ ให้ เพิกถอน คำสั่ง ของ คณะกรรมการ พิจารณาอุทธรณ์ ของ จำเลย ลง วันที่ 15 มกราคม 2524 เกี่ยวกับ ภาษี เงินได้บุคคล ธรรมดา หัก ณ ที่จ่าย ปี 2520 เฉพาะ ราย นาย โยชิฮารุ เอจิมาและ ราย นางสาว พรพิมล เมฆะมาน นอกจาก ที่ แก้ ให้ เป็น ไป ตามคำพิพากษา ศาลอุทธรณ์

Share