คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2400/2529

แหล่งที่มา : ADMIN

ย่อสั้น

จำเลยใช้อาวุธปืนยิงผู้เสียหายในระยะห่าง1-2เมตรกระสุนปืนถูกผู้เสียหายที่ราวนมซ้ายบาดแผลขนาด1X1เซนติเมตรรอบๆบาดแผลมีรอยถลอกเล็กๆหลายแผลรักษาหายภายใน14วันผลการเอกซเรย์ไม่พบโลหะในร่างกายของผู้เสียหายแพทย์ผู้ทำการตรวจชันสูตรบาดแผลของผู้เสียหายสันนิษฐานว่ากระสุนปืนทำขึ้นเองความเร็วต่ำไม่อาจทำอันตรายถึงแก่ความตายได้ทั้งไม่ได้ความว่าถ้ารักษาไม่ทันอาจถึงแก่ความตายได้แสดงว่าอาวุธปืนที่จำเลยใช้ยิงไม่อาจทำให้ผู้เสียหายถึงตายได้ถือว่าการกระทำของจำเลยไม่สามารถบรรลุผลได้อย่างแน่แท้เพราะปัจจัยที่ใช้ในการกระทำผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา81.

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ว่า จำเลย บังอาจ มี อาวุธปืน สั้น ชนิด ทำ ใน ประเทศไทยไม่ มี หมายเลข ทะเบียน ของ เจ้าพนักงาน ประทับ ไว้ ใน ครอบครอง โดยไม่ รับ อนุญาต และ มี กระสุนปืน เล็ก ยาว แบบ 88 ขนาด 7.62 มม.1 นัด ซึ่ง เป็น เครื่อง กระสุนปืน ที่ นายทะเบียน ไม่ อาจ ออก ใบอนุญาตให้ ได้ ไว้ ใน ครอบครอง โดย ฝ่าฝืน กฎหมาย และ บังอาจ พา อาวุธปืนและ เครื่อง กระสุนปืน ดังกล่าว ติดตัว ไป ใน เมือง หมู่บ้าน ทางสาธารณะ โดย ไม่ มี เหตุ อัน สมควร และ ไม่ ได้ รับ ใบ อนุญาต ให้ มีอาวุธปืน ติดตัว และ จำเลย ใช้ อาวุธปืน และ เครื่อง กระสุนปืน ดังกล่าวยิง นาย มงคล คำเจริญ ผู้เสียหาย 1 นัด โดย เจตนา ฆ่า และ ไตร่ตรอง ไว้ก่อนกระสุนปืน ถูก ผู้เสียหาย ได้ รับ บาดเจ็บ ปรากฏ ตาม ผล การ ตรวจชันสูตร บาดแผล ของ แพทย์ ท้าย ฟ้อง ผู้เสียหาย ไม่ ถึง แก่ ความตายเพราะ แพทย์ ได้ รักษา ทัน ท่วงที ขอ ให้ ลงโทษ ตาม ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 288, 289, 80, 91 พระราชบัญญัติ แก้ไข เพิ่มเติม ประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2526 มาตรา 4 พระราชบัญญัติ อาวุธปืนเครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืนพ.ศ. 2490 มาตรา 7, 8 ทวิ, 55, 72, 72 ทวิ, 78 พระราชบัญญัติ อาวุธปืนเครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน(ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2522 มาตรา 6, 8 คำสั่ง ของ คณะปฏิรูป การปกครองแผ่นดิน ฉบับที่ 44 ลง วันที่ 21 ตุลาคม 2519 ข้อ 3, 6, 7 และ สั่ง ริบของกลาง
จำเลย ให้การ รับ ว่า พยายาม ฆ่า ผู้เสียหาย จริง แต่ ปฏิเสธ ว่ามิได้ กระทำ โดย ไตร่ตรอง ไว้ ก่อน ส่วน ข้อหา อื่น ให้การ รับสารภาพ
ศาลชั้นต้น พิพากษา ว่า จำเลย มี ความผิด ตาม ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 80, 91, 288, 289, พระราชบัญญัติ อาวุธปืน เครื่องกระสุนปืนวัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ. 2490 มาตรา 7, 8ทวิ, 55, 72 ทวิ, 78 พระราชบัญญัติ อาวุธปืน เครื่องกระสุนปืนวัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2522มาตรา 6, 8 คำสั่ง ของ คณะปฏิรูป การปกครอง แผ่นดิน ฉบับ ที่ 44 ลงวันที่ 21 ตุลาคม 2519 ข้อ 3, 6, 7 ฐาน มี อาวุธปืน ไว้ ใน ครอบครองโดย ไม่ รับ อนุญาต ให้ จำคุก 1 ปี ฐาน มี เครื่องกระสุนปืน ซึ่งนายทะเบียน ไม่ อาจ ออก ใบอนุญาต ให้ ได้ ไว้ ใน ครอบครอง ให้ จำคุก2 ปี ฐาน พา อาวุธปืน ติดตัว ไป ใน เมือง หมู่บ้าน และ ทาง สาธารณะให้ จำคุก 6 เดือน ฐาน พยายาม ฆ่า ผู้อื่น โดย ไตร่ตรอง ไว้ ก่อน ให้จำคุก ตลอด ชีวิต จำเลย ให้การ รับสารภาพ เป็น ประโยชน์ ต่อ การ พิจารณามี เหตุ บรรเทา โทษ จึง ลดโทษ ให้ กึ่ง หนึ่ง สำหรับ ความผิด ต่อพระราชบัญญัติ อาวุธปืนฯ และ หนึ่ง ใน สาม สำหรับ ความผิด ต่อ ชีวิตและ พยายาม ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 ประกอบ มาตรา 53 ฐาน มีอาวุธปืน ไว้ ใน ครอบครอง โดย ไม่ รับ อนุญาต ให้ จำคุก 6 เดือน ฐานมี เครื่องกระสุนปืน ซึ่ง นายทะเบียน ไม่ อาจ ออก ใบอนุญาต ให้ ได้ไว้ ใน ครอบครอง ให้ จำคุก 1 ปี ฐาน พา อาวุธปืน ติดตัว ไป ใน เมืองหมู่บ้าน และ ทางสาธารณะ ให้ จำคุก 3 เดือน ฐาน พยายาม ฆ่า ผู้อื่นโดย ไตร่ตรอง ไว้ ก่อน ให้ จำคุก 33 ปี 4 เดือน รวม โทษ ทุก กระทง แล้วให้ จำคุก จำเลย 35 ปี 1 เดือน ริบ ของกลาง
จำเลย อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษา แก้ เป็น ว่า จำเลย มี ความผิด ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 289, 81 ประกอบ มาตรา 52 (2) จำคุก 15 ปีคำ ให้การ ของ จำเลย ชั้น สอบสวน และ ชั้น พิจารณา ของ ศาล เป็นประโยชน์ แก่ การ พิจารณา มี เหตุ บรรเทา โทษ ลดโทษ ให้ หนึ่ง ใน สามตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 คง จำคุก จำเลย 10 ปี เมื่อ รวม กับโทษ จำคุก ข้อหา ความผิด ต่อ พระราชบัญญัติ อาวุธปืน ที่ ศาลชั้นต้นกำหนด ไว้ ด้วย แล้ว คง จำคุก จำเลย มี กำหนด 11 ปี 9 เดือน นอกจากที่ แก้ ให้ เป็น ไป ตาม คำพิพากษา ศาลชั้นต้น
โจทก์ ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า มี ปัญหา ใน ชั้น ฎีกา ว่า การ ที่ จำเลย ใช้อาวุธปืน ยิง ผู้เสียหาย บาดเจ็บ ไม่ ถึง แก่ ความตาย เป็น การ พยายามกระทำ ความผิด ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 80 หรือ 81 ข้อเท็จจริง ฟังได้ ว่า จำเลย ยิง ผู้เสียหาย ใน ระยะ ห่าง 1 – 2 เมตร (ตาม คำ เบิกความของ ผู้เสียหาย และ นาย จรัส แสนอนันต์ พยาน โจทก์) กระสุนปืน ถูกผู้เสียหาย ที่ ราวนม ซ้าย บาดแผล ขนาด 1 X 1 เซนติเมตร รอบๆ บาดแผลมี รอย ถลอก เล็กๆ หลาย แผล รักษา หาย ภายใน 14 วัน ปรากฏ ตาม รายงานการ ชันสูตร บาดแผล ของ แพทย์ ท้าย ฟ้อง นายแพทย์ สุพัตร นาโค ผู้ ทำการ ตรวจ ชันสูตร บาดแผล ของ ผู้เสียหาย เบิกความ ว่า เอกซเรย์ ไม่ พบโลหะ ใน ร่างกาย ของ ผู้เสียหาย สันนิษฐาน ว่า กระสุนปืน ทำ ขึ้น เองความเร็ว ต่ำ ไม่ อาจ ทำ อันตราย ถึง แก่ ความตาย ได้ และ ไม่ ได้ ความว่า ถ้า รักษา ไม่ ทัน อาจ ถึง แก่ ความตาย ได้ แสดงว่า อาวุธปืน ที่จำเลย ใช้ ยิง ไม่ อาจ ทำ ให้ ผู้เสียหาย ถึง ตาย ได้ ดังนี้ ต้อง ถือว่า การ กระทำ ของ จำเลย ไม่ สามารถ บรรลุ ผล ได้ อย่าง แน่แท้ เพราะปัจจัย ที่ ใช้ ใน การ กระทำ ผิด ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 81
พิพากษา ยืน.

Share