คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2397/2529

แหล่งที่มา : ADMIN

ย่อสั้น

ข้อบังคับเกี่ยวกับโครงการเงินบำเหน็จเมื่อออกจากงานของจำเลยกำหนดจำนวนเงินบำเหน็จในกรณีลูกจ้างออกจากงานเพราะเกษียณอายุว่า’……….จำนวนเงินบำเหน็จจะเท่ากับเงินเดือนมูลฐานครั้งสุดท้ายทั้งเดือนคูณด้วยจำนวนปีของการเป็นลูกจ้างในบริษัท’คำว่าเงินเดือนมูลฐานมีความหมายจำกัดลงมาเฉพาะเงินเดือนที่แท้จริงค่านำร่องพิเศษหาใช่เงินเดือนมูลฐานอันจะนำมาคำนวณจำนวนเงินบำเหน็จไม่ต่างกับเรื่องค่าจ้างที่จะนำค่านำร่องพิเศษมาเป็นฐานคำนวณค่าชดเชย. ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยหมวดวินัยและโทษทางวินัยระบุว่าการเตือนด้วยวาจาและการเตือนเป็นลายลักษณ์อักษรเป็นโทษทางวินัยโดยหัวหน้าฝ่ายเป็นผู้มีอำนาจลงโทษสองสถานนี้ได้และหมวดการยื่นคำร้องทุกข์และข้อเสนอแนะกำหนดให้นายเรือมีตำแหน่งเป็นหัวหน้าฝ่ายด้วยโจทก์ซึ่งเป็นกัปตันหรือนายเรือจึงเป็นผู้มีอำนาจหน้าที่ทำการแทนนายจ้างสำหรับกรณีการลงโทษโจทก์ไม่มีสิทธิได้รับค่าทำงานในวันหยุดตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานฯข้อ43และ36(1). ตามข้อบังคับเกี่ยวกับโครงการเงินบำเหน็จเมื่อออกจากงานของจำเลยข้อ9(ค)ให้สิทธิแก่จำเลยที่จะหักเงินจำนวนเท่าค่าชดเชยออกจากเงินบำเหน็จได้จำเลยได้ใช้สิทธินำค่าชดเชยส่วนอื่นไปหักจากเงินบำเหน็จตามที่แจ้งให้โจทก์ไปรับแล้วการที่มิได้นำค่าชดเชยในเงินค่าเบี้ยเลี้ยงไปหักออกด้วยก็เพราะจำเลยเข้าใจว่าเบี้ยเลี้ยงมิใช่ค่าจ้างเมื่อเบี้ยเลี้ยงเป็นค่าจ้างทั้งจำเลยก็ได้แสดงเจตนาขอหักมาในคำให้การแล้วจึงชอบที่จะหักเงินค่าชดเชยที่เพิ่มขึ้นออกจากเงินบำเหน็จที่จำเลยจะต้องจ่ายได้.

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ว่า โจทก์ เป็น ลูกจ้าง ประจำ ของ จำเลย ตำแหน่ง สุดท้ายเป็น กัปตัน เรือ ขนส่ง น้ำมัน มี เงินเดือน มูลฐาน ครั้ง สุดท้ายทั้ง เดือน 36,260 บาท เป็น เงินเดือน จำนวน 30,260 บาท ค่า นำร่องพิเศษ อีก 6,000 บาท ต่อมา จำเลย เลิกจ้าง โจทก์ เพราะ เหตุ เกษียณอายุ จำเลย จะ ต้อง จ่าย เงิน ตาม โครงการ ออมทรัพย์ และ เงิน บำเหน็จ ให้โจทก์ การ จ่าย เงิน บำเหน็จ จำเลย ไม่ นำ ค่า นำร่อง พิเศษ มา รวมเป็น ฐาน คำนวณ ด้วย จึง ไม่ ถูกต้อง นอกจาก นั้น จำเลย ยัง ต้อง จ่ายค่า ชดเชย ให้ โจทก์ แต่ จำเลย มิได้ นำ เงิน เบี้ยเลี้ยง อีก วันละ90 บาท มา รวม เป็น ฐาน คำนวณ จึง จ่าย ขาด ไป 11,610 บาท และ โจทก์มี สิทธิ ได้ รับ ค่าจ้าง ใน วันหยุด ซึ่ง ขอ คิด เพียง 6 ปี นับแต่พ.ศ. 2521 ถึง พ.ศ. 2526 ขอ ให้ บังคับ โจทก์ จ่าย เงิน ดังกล่าว พร้อมดอกเบี้ย ให้ จำเลย
จำเลย ให้การ ว่า ตาม ระเบียบ ข้อบังคับ การ ทำงาน และ โครงการเงินบำเหน็จ ของ จำเลย การ จ่ายเงิน บำเหน็จ ให้ ถือ เงินเดือน เป็นมูลฐาน อย่างเดียว และ จำเลย มี สิทธิ หัก เงิน ออมทรัพย์ หรือ เงินบำเหน็จ ออก เท่ากับ ค่าชดเชย ได้ จำเลย จ่าย ค่าชดเชย ให้ โจทก์ ไปแล้ว 260,930 บาท โจทก์ จะ เอา เบี้ยเลี้ยง มา คำนวณ ด้วย ไม่ ได้เพราะ มิใช่ ค่าจ้าง แต่ ถ้า ศาล ฟัง ว่า เป็น ค่าจ้าง จำเลย ก็ ขอ ใช้สิทธิ หัก เงิน ค่าชดเชย จำนวน ที่ เพิ่มขึ้น ออกจาก เงิน ออมทรัพย์หรือ เงินบำเหน็จ สำหรับ วันหยุด ตาม ประเพณี และ วัน หยุด พักผ่อนประจำปี โจทก์ ใช้ สิทธิ ไป หมด แล้ว อย่างไร ก็ ดี เงิน ค่า ทำงานใน วันหยุด เป็น ค่าจ้าง มี อายุความ 2 ปี ขาด อายุความ แล้ว และจำนวนเงิน ที่ โจทก์ คิด มา ก็ ไม่ ถูกต้อง ทั้ง โจทก์ เป็น กัปตันเรือซึ่ง เป็น ตำแหน่ง ที่ มี อำนาจ หน้าที่ ทำการ แทน จำเลย ใน การ ให้บำเหน็จ ลงโทษ หรือ วินิจฉัย ข้อ ร้องทุกข์ ของ พนักงาน ประจำเรือ ได้ไม่ มี สิทธิ ได้ รับ ค่า ทำงาน ใน วันหยุด
ศาลแรงงานกลาง พิพากษา ให้ จำเลย จ่าย เงิน ตาม โครงการ ออมทรัพย์111,180 บาท เงินบำเหน็จ 180,361 บาท 67 สตางค์ (โดย หัก ค่าชดเชยที่ จ่าย ไป จำนวน 260,930 บาท ออก แล้ว) ค่าชดเชย ที่ ยัง ขาด อยู่11,610 บาท พร้อม ดอกเบี้ย คำ ขอ อื่น นอกจาก นี้ ให้ ยก เสีย
โจทก์ และ จำเลย อุทธรณ์ ต่อ ศาลฎีกา
ศาลฎีกา แผนก คดี แรงงาน วินิจฉัย ว่า โจทก์ อุทธรณ์ ว่า ค่า นำร่องพิเศษ เป็น ส่วนหนึ่ง ของ เงินเดือน อัน ถือว่า เป็น เงินเดือน มูลฐานสำหรับ นำ มา คำนวณเงิน บำเหน็จ ด้วย พิเคราะห์ แล้ว ข้อบังคับเกี่ยวกับ โครงการ เงิน บำเหน็จ เมื่อ ออก จาก งาน ของ จำเลย เอกสารหมาย จ.5 กำหนด จำนวน เงิน บำเหน็จ ใน กรณี ลูกจ้าง ออก จาก งานเพราะ เกษียณอายุ ไว้ ใน ข้อ 8 (ก) ว่า’……… จำนวน เงิน บำเหน็จจะ เท่ากับ เงินเดือน มูลฐาน ครั้ง สุดท้าย ทั้ง เดือน คูณ ด้วยจำนวน ปี ของ การ เป็น ลูกจ้าง ใน บริษัท…………’ คำว่า เงินเดือนมูลฐาน เห็น ได้ ว่า มี ความหมาย จำกัด ลง มา เฉพาะ เงินเดือน ที่แท้จริง โจทก์ ได้ รับ เงินเดือน เดือน ละ 30,260 บาท ค่า นำร่อง พิเศษเดือนละ 6,000 บาท ดังนี้ ค่า นำร่อง พิเศษ หา ใช่ เงินเดือน มูลฐาน ไม่ คำพิพากษา ฎีกา ที่ โจทก์ อ้าง เป็น เรื่อง ค่าจ้าง ที่ จะ นำ มาเป็น ฐาน คำนวณ ค่าชดเชย ไม่ ตรงกัน ศาลแรงงานกลาง วินิจฉัย ว่าจำเลย ไม่ ต้อง นำ ค่า นำร่อง พิเศษ มา เป็น ฐาน คำนวณ เงิน บำเหน็จศาลฎีกา เห็นพ้อง ด้วย
โจทก์ อุทธรณ์ ว่า โจทก์ เป็น กัปตัน เรือ แม้ เป็น ผู้บังคับ บัญชาสูงสุด ใน เรือ ขณะ ที่ เรือแล่น อยู่ ใน ทาง น้ำ แต่ โจทก์ มิได้ มีอำนาจ หน้าที่ ตาม ที่ กำหนด ไว้ ใน ประกาศ กระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 36(1) เช่น ไม่ สามารถ จ้าง ลด ค่าจ้าง เลิกจ้างลูกเรือ โจทก์ จึง มี สิทธิ ที่ จะ ได้ รับ ค่า ทำงาน ใน วันหยุดพิเคราะห์ แล้ว หนังสือ คู่มือ นโยบาย และ ข้อบังคับ เกี่ยวกับ การทำงาน ของ จำเลย เอกสาร หมาย ล.14 หมวด วินัย และ โทษ ทาง วินัยแสดงว่า การ เตือน ด้วย วาจา และ การ เตือน เป็น ลายลักษณ์ อักษร เป็นโทษ ทาง วินัย โดย หัวหน้า ฝ่าย เป็น ผู้ มี อำนาจ ลงโทษ สอง สถานนี้ ได้ และ หมวด การ ยื่น คำร้องทุกข์ และ ข้อเสนอแนะ (การ สื่อข้อความ) ข้อ 7.1 กำหนด ให้ นายเรือ มี ตำแหน่ง เป็น หัวหน้า ฝ่ายตาม ระเบียบ นี้ ด้วย ดังนั้น โจทก์ ซึ่ง เป็น กัปตัน หรือ นายเรือจึง เป็น ผู้ มี อำนาจ หน้าที่ ทำการ แทน นายจ้าง สำหรับ กรณี การลงโทษ ตาม ประกาศ กระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 36(1)ศาลแรงงานกลาง วินิจฉัย ว่า โจทก์ ไม่ มี สิทธิ ได้ รับ ค่า ทำงานใน วันหยุด ตาม ประกาศ กระทรวงมหาดไทย ฉบับ ดังกล่าว ข้อ 43 และ 36 (1)ศาลฎีกา เห็นพ้อง ด้วย
จำเลย อุทธรณ์ ว่า หาก ศาลฎีกา ฟัง ว่า เงิน เบี้ยเลี้ยง เป็น ค่าจ้างต้อง นำมา เป็น ฐาน คำนวณ ค่าชดเชย ให้ แก่ โจทก์ ซึ่ง จะ เป็น ค่าชดเชยจำนวน 11,610 บาท จำเลย ก็ ขอ ให้ นำ ค่าชดเชย จำนวน นี้ ไป หัก ออกจาก เงิน ออมทรัพย์ หรือ เงิน บำเหน็จ ที่ จำเลย จะ ต้อง จ่าย ให้แก่ โจทก์ ด้วย พิเคราะห์ แล้ว ข้อบังคับ เกี่ยวกับ โครงการ เงินบำเหน็จ เมื่อ ออก จาก งาน เอกสาร หมาย จ.5 ข้อ 9 (ค) กำหนด ว่า’หาก รัฐ หรือ รัฐบาล ได้ นำ โครงการ หรือ กองทุน เงินบำนาญ หรือผลประโยชน์ เมื่อ ออก จาก งาน หรือ เงินทุน สงเคราะห์ สำหรับ ผู้ ที่ออก จาก งาน เมื่อ สูง อายุ หรือ ผลประโยชน์ อื่น มา ใช้ ภายหลัง นี้หรือ ได้ นำ มา ดัดแปลง เพื่อ ใช้ บังคับ กับ ลูกจ้าง ของ บริษัทหรือ ถ้า ภายหลัง จาก นี้ บริษัท มี หน้าที่ ตาม กฎหมาย ที่ จะ ต้องจ่าย เงิน บำเหน็จ เมื่อ ออก จาก งาน หรือ เงิน ชดเชย อย่าง อื่น ใดใน การ ออก จาก งาน ให้ แก่ ลูกจ้าง เช่นว่า นี้ บริษัท จะ หัก เงินตาม จำนวน ที่ บริษัท มี หน้าที่ ตาม กฎหมาย ที่ จะ ต้อง จ่าย แก่ลูกจ้าง หรือ บุคคล อื่น เนื่องจาก ลูกจ้าง ออก จาก งาน ของ บริษัทออก จาก จำนวน เงินบำเหน็จ ที่ จะ พึง จ่าย ให้ แก่ ลูกจ้าง ตาม ข้อ8′ เป็น การ ให้ สิทธิ แก่ จำเลย ที่ จะ หัก เงิน จำนวน เท่า ค่าชดเชยออก จาก เงิน บำเหน็จ ได้ กรณี นี้ เห็นว่า จำเลย ได้ ใช้ สิทธิ นำค่า ชดเชย ส่วน อื่น ไป หัก จาก เงินบำเหน็จ ตาม ที่ แจ้ง ให้ โจทก์ไป รับ แล้ว การ ที่ มิได้ นำ ค่าชดเชย จำนวน นี้ ไป หัก ออก ด้วยก็ เพราะ จำเลย เข้าใจ ว่า เบี้ยเลี้ยง มิใช่ ค่าจ้าง ทั้ง จำเลย ก็ได้ แสดง เจตนา ขอ หัก มา ใน คำให้การ แล้ว จึง ชอบ ที่ จะ หัก เงินจำนวน 11,610 บาท เท่า ค่าชดเชย ที่ เพิ่มขึ้น ออก จาก เงิน บำเหน็จที่ จำเลย จะ ต้อง จ่าย ได้ ที่ ศาลแรงงานกลาง วินิจฉัย ว่า จำเลย ไม่มี สิทธิ นำ ค่า ชดเชย จำนวน นี้ ไป หัก จาก เงิน บำเหน็จ ศาลฎีกาไม่ เห็นพ้อง ด้วย
พิพากษา แก้ เป็น ว่า ให้ จำเลย จ่าย เงิน บำเหน็จ แก่ โจทก์168,751 บาท 67 สตางค์ และ ไม่ ต้อง จ่าย ดอกเบี้ย ใน ต้นเงิน ออมทรัพย์และ เงิน บำเหน็จ นอกจาก ที่ แก้ ให้ เป็น ไป ตาม คำพิพากษาศาลแรงงานกลาง

Share