แหล่งที่มา : ADMIN
ย่อสั้น
จำเลยที่1เป็นลูกจ้างจำเลยที่2ทำงานเป็นช่างซ่อมรถจักรยานยนต์ได้ขับขี่รถจักรยานยนต์ที่ลูกค้าของจำเลยที่2นำมาให้ซ่อมไปเพื่อทดลองเครื่องอันเป็นส่วนหนึ่งของการทำงานซ่อมรถตามหน้าที่ถือได้ว่าจำเลยที่1ทำละเมิดในทางการที่จ้างของจำเลยที่2จำเลยที่2จึงต้องร่วมรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ สามีภริยาย่อมมีหน้าที่จะต้องช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1461เมื่อภริยาเสียชีวิตเพราะมีการทำละเมิดสามีย่อมมีสิทธิได้รับค่าสินไหมทดแทนเป็นค่าขาดไร้อุปการะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา443วรรคสามโดยไม่ต้องคำนึงว่าสามีจะยากจนหรือมั่งมีและประกอบอาชีพหาเลี้ยงตนเองได้หรือไม่เพราะเป็นสิทธิของสามีจะพึงได้รับชดใช้ตามกฎหมาย. มารดามีหน้าที่ต้องอุปการะเลี้ยงดูบุตรที่บรรลุนิติภาวะแล้วเฉพาะผู้ทุพพลภาพและหาเลี้ยงตนเองไม่ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1564วรรคสองบุตรซึ่งบรรลุนิติภาวะแล้วและไม่ได้ความชัดว่าเป็นผู้ทุพพลภาพและหาเลี้ยงตนเองไม่ได้จึงไม่อยู่ในข่ายจะได้รับค่าขาดไร้อุปการะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา443วรรคสาม.
ย่อยาว
โจทก์ ฟ้อง ว่า โจทก์ ที่ 1 เป็น สามี ของ นาง พรสุรีย์ โจทก์ ที่2 ถึง ที่ 5 เป็น บุตร ของ โจทก์ ที่ 1 กับ นาง พรสุรีย์ จำเลย ที่2 ตั้ง ร้าน จำหน่าย และ รับ ซ่อม รถ จักรยานยนต์ มี จำเลย ที่ 1เป็น ลูกจ้าง จำเลย ที่ 1 ปฏิบัติ หน้าที่ ใน ทาง การ ที่ จ้าง โดย นำรถ จักรยานยนต์ ซึ่ง ลูกค้า ของ จำเลย ที่ 2 เอา มา ให้ ซ่อม ออก ไปขับขี่ ทดลอง เครื่อง จำเลย ที่ 1 ขับขี่ รถ คัน ดังกล่าว ด้วย ความประมาท เป็น เหตุ ให้ ชน นาง พรสุรีย์ ถึง แก่ ความตาย โจทก์ ทั้ง ห้าเสีย ค่าใช้จ่าย ใน การ จัดการ ศพ 137,988 บาท และ โจทก์ ทั้ง ห้าคิด ค่า ขาดไร้ อุปการะ เป็น เงิน 480,000 บาท ขอ ให้ บังคับ จำเลยทั้ง สอง ร่วมกัน ชำระ พร้อม ดอกเบี้ย
โจทก์ ถอน ฟ้อง จำเลย ที่ 1
จำเลย ที่ 2 ให้การ ว่า จำเลย ที่ 1 กระทำ นอกเหนือ จาก ทาง การที่ จ้าง จำเลย ที่ 2 จึง ไม่ ต้อง ร่วม รับผิด ค่า สินไหม ทดแทน ที่เรียก สูง เกินไป โจทก์ ไม่ ควร ได้ ค่า อุปการะ เลี้ยงดู เพราะ โจทก์บรรลุ นิติภาวะ แล้ว สามารถ ประกอบ อาชีพ ด้วย ตนเอง ได้ ไม่ ได้ เป็นบุคคล ทุพพลภาพ และ ไม่ ถือ ว่า โจทก์ ขาด การ อุปการะ เลี้ยงดู ตามกฎหมาย ขอ ให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิพากษา ให้ จำเลย ที่ 2 ใช้ ค่า สินไหม ทดแทน แก่ โจทก์ทั้ง ห้า 266,871 บาท พร้อม ดอกเบี้ย
จำเลย ที่ 2 อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษา ยืน
จำเลย ที่ 2 ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า จำเลย ที่ 1 ขับขี่ รถ จักรยานยนต์ ซึ่ง ลูกค้าของ จำเลย ที่ 2 นำ มา ให้ ซ่อม โดย ประมาท และ เชื่อ ว่า จำเลย ที่ 1เป็น ลูกจ้าง จำเลย ที่ 2 ทำงาน เป็น ช่างซ่อม รถ จักรยานยนต์ และใน วัน เกิดเหตุ จำเลย ที่ 1 ได้ ขับขี่ รถ จักรยานยนต์ คัน ดังกล่าวไป เพื่อ ทดลอง เครื่อง อัน เป็น ส่วนหนึ่ง ของ การ ทำงาน ซ่อมรถตาม หน้าที่ ต้อง ถือ ว่า จำเลย ที่ 1 ทำ ละเมิด ใน ทาง การ ที่ จ้างของ จำเลย ที่ 2 จำเลย ที่ 2 จึง ต้อง ร่วม รับ ผิด ชดใช้ ค่า สินไหมทดแทน แก่ โจทก์ ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 425
ปัญหา อีก ข้อ ใน เรื่อง จำเลย ที่ 2 จะ ต้อง รับ ผิด เพียงใด นั้นเห็น ว่า ค่า ใช้จ่าย ใน การ ทำ พิธีศพ ที่ ศาลล่าง กำหนด ให้ เป็นเงิน 66,871 บาท โจทก์ มี หลักฐาน การ จ่าย เงิน ไป จริง ตามใบเสร็จรับเงิน เอกสาร หมาย จ.12, จ.13 และ จำนวนเงิน ก็ ไม่เกินสมควร แก่ ฐานะ ความ เป็น อยู่ ของ ครอบครัว ผู้ตาย จึง เหมาะสม แก่รูปคดี แล้ว สำหรับ ค่า ขาดไร้ อุปการะ เห็นว่า โจทก์ ที่ 1 กับผู้ตาย เป็น สามี ภริยา กัน ย่อม มี หน้าที่ จะ ต้อง ช่วยเหลือ อุปการะเลี้ยงดู กัน ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1461 เมื่อ ผู้ตายเสียชีวิต เพราะ มี การ ทำ ละเมิด โจทก์ ที่ 1 ผู้ เป็น สามี จึง มีสิทธิ ได้ รับ ค่า สินไหม ทดแทน เป็น ค่า ขาดไร้ อุปการะ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 443 วรรคสาม โดย ไม่ ต้อง คำนึงว่า โจทก์ ที่ 1 จะ ยากจน หรือ มั่งมี และ ประกอบ อาชีพ หา เลี้ยงตนเอง ได้ หรือไม่ เพราะ เป็น สิทธิ ของ โจทก์ ที่ 1 จะ พึง ได้ รับชดใช้ ตาม กฎหมาย แต่ ผู้ตาย มี หน้าที่ ต้อง อุปการะ เลี้ยงดู บุตรที่ บรรลุ นิติภาวะ แล้ว เฉพาะ ผู้ ทุพพลภาพ และ หาเลี้ยง ตนเอง ไม่ ได้ ตาม ที่ บัญญัติ ไว้ ใน ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1564วรรคสอง เท่านั้น เมื่อ โจทก์ ที่ 2 ถึง ที่ 5 เป็น บุตร ที่ บรรลุนิติภาวะ แล้ว ของ ผู้ตาย และ ไม่ ได้ ความ ชัด ว่า เป็น ผู้ ทุพพลภาพและ หา เลี้ยง ตนเอง ไม่ ได้ จึง ไม่ อยู่ ใน ข่าย จะ ได้ รับ ค่าขาดไร้ อุปการะ ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 443 วรรคสามที่ ศาลล่าง ให้ โจทก์ ที่ 2 ถึง ที่ 5 ได้ รับ ชดใช้ ค่า สินไหม ทดแทนใน ส่วนนี้ ด้วย จึง ไม่ ถูกต้อง จำเลย ที่ 2 ต้อง รับ ผิด ใช้ ค่าสินไหม ทดแทน เป็น ค่า ขาดไร้ อุปการะ แก่ โจทก์ ที่ 1 คนเดียว เป็นเงิน 40,000 บาท เมื่อ คิด ค่า ใช้จ่าย ใน การ ทำ พิธีศพ ผู้ตายรวม เข้า ด้วย เป็น เงิน 106,871 บาท
พิพากษา แก้ เป็น ว่า ให้ จำเลย ที่ 2 ใช้ ค่า สินไหม ทดแทน เป็นค่า ใช้จ่าย ใน การ จัด งานศพ 66,871 บาท แก่ โจทก์ ทั้ง ห้า และ ใช้ค่า ขาดไร้ อุปการะ 40,000 บาท แก่ โจทก์ ที่ 1 คนเดียว นอกจาก ที่แก้ คง ให้ เป็น ไป ตาม คำพิพากษา ศาลอุทธรณ์