คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2289/2529

แหล่งที่มา : ADMIN

ย่อสั้น

โจทก์รู้เห็นเป็นใจให้บุคคลอื่นเข้าสอบเลื่อนตำแหน่งแทนเป็นการทุจริตในการสอบซึ่งเป็นความผิดร้ายแรงอยู่ในตัวจึงถือได้ว่าเป็นการประพฤติชั่วอย่างร้ายแรงเป็นความผิดวินับอย่างร้ายแรงตามข้อบังคับของจำเลยจำเลยย่อมมีสิทธิปลดโจทก์ออกจากงานได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ47(3)และไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าตลอดจนค่าเสียหาย.

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ว่า โจทก์ ทั้ง สาม เป็น พนักงาน ของ จำเลย มา นาน คนละกว่า 10 ปี จำเลย ได้ มี คำสั่ง ปลด โจทก์ ทั้ง สาม ออก จาก งาน โดย ไม่บอกกล่าว ล่วงหน้า โดย โจทก์ ทั้ง สาม ไม่ มี ความผิด และ โดย ไม่เป็นธรรม ขอ ให้ บังคับ จำเลย รับ โจทก์ กลับ เข้า ทำงาน หาก ไม่ สามารถปฏิบัติ ได้ ให้ ใช้ ค่าเสียหาย ค่าชดเชย สินจ้าง แทน การ บอกกล่าวล่วงหน้า แก่ โจทก์ ทั้ง สาม
จำเลย ให้การ ว่า โจทก์ ทั้ง สาม กระทำ ผิด วินัย อย่าง ร้ายแรง โดยทุจริต ใน การ สอบ อัน ถือ ว่า เป็น ความผิด ฐาน ประพฤติ ชั่ว อย่างร้ายแรง เป็น การ กระทำ โดย จงใจ ให้ จำเลย เสียหาย และ เป็น การ ฝ่าฝืนข้อบังคับ เกี่ยวกับ การ ทำงาน ของ จำเลย จำเลย จึง มี สิทธิ ปลด โจทก์ทั้ง สาม ออก จาก งาน ได้ โดย ไม่ ต้อง จ่าย เงิน ตาม ฟ้อง ทั้ง ไม่ต้อง รับ โจทก์ กลับ เข้า ทำงาน ขอ ให้ ยกฟ้อง
ศาลแรงงานกลาง พิพากษา ยกฟ้อง
โจทก์ ทั้ง สาม อุทธรณ์ ต่อ ศาลฎีกา
ศาลฎีกา แผนก คดีแรงงาน วินิจฉัย ว่า การ ที่ โจทก์ ทั้ง สาม รู้ เห็นเป็นใจ ให้ บุคคลอื่น เข้า ทำการ สอบ แทน เป็น การ ทุจริต ใน การ สอบการ กระทำ ดังกล่าว เป็น ความผิด ร้ายแรง อยู่ ใน ตัว จึง ถือ ได้ ว่าเป็น การ ประพฤติชั่ว อย่าง ร้ายแรง เป็น ความผิด วินัย อย่าง ร้ายแรงตาม ข้อบังคับ จำเลย ฉบับที่ 3 ว่า ด้วย การ บรรจุฯลฯ พ.ศ. 2520 ข้อ 62 ที่ ว่า ‘พนักงาน และ ลูกจ้าง ผู้ใด ….หรือ กระทำ หรือ ยอม ให้ผู้อื่น กระทำการ อื่น ใด อัน ได้ ชื่อ ว่า เป็น ผู้ ประพฤติชั่ว อย่างร้ายแรง เป็น ความผิด วินัย อย่าง ร้ายแรง’ ซึ่ง เมื่อ โจทก์ ทั้ง สามกระทำ ผิด วินัย อย่าง ร้ายแรง แล้ว จำเลย ย่อม มี สิทธิ ที่ จะ ปลดโจทก์ ทั้ง สาม ออก จาก งาน ได้ ตาม ข้อ 71 ข้อบังคับ เดียวกัน และ ยังได้ ความ ด้วย ว่า ก่อน ที่ จำเลย จะ มี คำสั่ง ปลด โจทก์ ทั้ง สามออก จาก งาน นั้น จำเลย ได้ ตั้ง คณะกรรมการ สอบสวน โจทก์ ทั้ง สามใน ความผิด ที่ ถูก กล่าวหา ตาม ข้อบังคับ ของ จำเลย โดย ชอบ แล้วโจทก์ ทั้ง สาม จะ อ้าง ว่า เป็น การ ลงโทษ ที่ ไม่ เป็นธรรม ย่อม ฟังไม่ ขึ้น เมื่อ การ กระทำ ของ โจทก์ ทั้ง สาม เป็น การ ฝ่าฝืน ข้อบังคับของ จำเลย อัน เป็น กรณี ที่ ร้ายแรง แล้ว จำเลย ย่อม มี สิทธิ เลิกจ้างโจทก์ ทั้ง สาม ได้ โดย ไม่ ต้อง จ่าย ค่าชดเชย ตาม ข้อ 47 แห่ง ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน และ ไม่ ต้อง จ่าย สินจ้างแทน การ บอกกล่าว ล่วงหน้า ตลอด จน ค่าเสียหาย
พิพากษา ยืน.

Share