คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2260/2529

แหล่งที่มา : ADMIN

ย่อสั้น

บิดามารดาปล่อยปละละเลยให้บุตรผู้เยาว์ขับขี่รถจักรยานยนต์ทั้งๆยังไม่มีใบอนุญาตขับขี่ถือว่าไม่ได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแก่หน้าที่ผู้ปกครองบุตรที่ดีต้องร่วมรับผิดในผลแห่งการทำละเมิดที่บุตรผู้เยาว์ก่อขึ้นแก่บุคคลอื่นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา429.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ขอ ให้ บังคับ ให้ จำเลย ที่ 1 ผู้เยาว์ กับ จำเลย ที่ 2,ที่ 3 ซึ่ง เป็น บิดา มารดา ของ จำเลย ที่ 1 ร่วมกัน รับผิด ใช้ค่าเสียหาย แก่ โจทก์ เพราะ จำเลย ที่ 1 ขับรถ จักรยานยนต์ โดย ประมาทชน นาย เวทย์ เฟื่องฟูวงศ์ สามี โจทก์ ถึง แก่ ความตาย
จำเลย ทั้ง สาม ให้การ ว่า ผู้ตาย เป็น ฝ่าย ขับรถ โดย ประมาท เองวัน เกิดเหตุ จำเลย ที่ 1 เอา รถ ไป โดย พลการ จำเลย ที่ 2 และ ที่ 3ได้ ตักเตือน และ ห้ามปราม การ ใช้ รถ และ ได้ ใช้ ความ ระมัด ระวัง ตามสมควร แก่ หน้าที่ แล้ว จึง ไม่ ต้อง ร่วม รับผิด กับ จำเลย ที่ 1 ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิพากษา ให้ จำเลย ทั้ง สาม ร่วมกัน ใช้ เงิน 150,000 บาทพร้อม ดอกเบี้ย ร้อยละ เจ็ดครึ่ง ต่อ ปี นับ แต่ วัน ทำ ละเมิด จนกว่าจะ ชำระ เสร็จ ให้ โจทก์ กับ ให้ จำเลย ทั้ง สาม ร่วมกัน ใช้ ค่าฤชาธรรมเนียม แทน โจทก์ โดย กำหนด ค่าทนายความ 2,000 บาท
จำเลย ทั้ง สาม อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษา ยืน
จำเลย ทั้ง สาม ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า ‘ฯ ใน ปัญหา ว่า จำเลย ที่ 2 และ ที่ 3 จะ ต้องร่วม รับผิด ใน ฐานะ เป็น บิดา มารดา ของ จำเลย ที่ 1 ใน ผล ของ การละเมิด คดี นี้ หรือไม่ นั้น ข้อเท็จจริง ฟัง ได้ ว่า จำเลย ที่ 1 เป็นผู้เยาว์ อยู่ ใน ความ ปกครอง และ พัก อยู่ อาศัย ร่วม บ้านเรือนเดียวกับ จำเลย ที่ 2 และ ที่ 3 ซึ่ง มี อาชีพ ทำไร่ จำเลย ที่ 1 ไม่ มีใบอนุญาต ขับขี่ รถจักรยานยนต์ จำเลย ที่ 2 ว่า จำเลย ที่ 1 ขี่รถจักรยานยนต์ เป็น ก่อน เกิดเหตุ ประมาณ 3 ปี เคย อนุญาต ให้ จำเลย ที่ 1 ขับขี่ รถจักรยานยนต์ ไป ใช้ ได้ แสดง ว่า จำเลย ที่ 2 และ ที่ 3ปล่อยปละ ละเลย ให้ จำเลย ที่ 1 ขับขี่ รถจักรยานยนต์ มา ช้านาน แล้วทั้ง รู้ อยู่ ว่า การ ขับขี่ รถจักรยานยนต์ ไม่ มี ใบอนุญาต ขับขี่เป็น การ กระทำ ที่ ฝ่าฝืน กฎหมาย ตลอดทั้ง การ ขับขี่ รถจักรยานยนต์นั้น อาจ ก่อ อันตราย แก่ ผู้อื่น ได้ ดังนี้ ต้อง ฟัง ว่า จำเลย ที่2 และ ที่ 3 ไม่ ได้ ใช้ ความ ระมัด ระวัง ตาม สมควร แก่ หน้าที่ผู้ปกครอง บุตร ที่ ดี จึง ไม่ พ้น ที่ จะ ต้อง รับผิด ร่วมกับ จำเลยที่ 1 ต่อ โจทก์ ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 429
ฯลฯ
พิพากษา ยืนฯ’

Share