แหล่งที่มา : ADMIN
ย่อสั้น
จำเลยออกเช็คชำระหนี้ค่าเช่าซื้อในขณะที่ออกเช็คและในขณะที่ธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงินจำเลยยังคงมีหน้าที่จะต้องชำระค่าเช่าซื้อให้แก่โจทก์ตามสัญญาจึงเป็นเช็คที่ออกโดยมีมูลหนี้ที่มีผลผูกพันกันตามกฎหมายแม้ต่อมาโจทก์จะบอกเลิกสัญญาเช่าซื้ออันจะมีผลทำให้จำเลยไม่ต้องชำระค่าเช่าซื้อที่ค้างให้แก่โจทก์อีกต่อไปก็หาทำให้ความผิดอาญาที่เกิดขึ้นสำเร็จแล้วระงับไปไม่.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)
ย่อยาว
โจทก์ ฟ้อง ว่า จำเลย ออก เช็ค 3 ฉบับ ให้ แก่ โจทก์ เพื่อ ชำระ หนี้ครั้น เช็ค แต่ ละ ฉบับ ถึง กำหนด ธนาคาร ตาม เช็ค ปฏิเสธ การ จ่ายเงินขอ ให้ ลงโทษ ตาม พระราชบัญญัติ ว่าด้วย ความผิด อัน เกิดจาก การใช้เช็ค พ.ศ. 2497 มาตรา 3
ศาลชั้นต้น ไต่สวน มูลฟ้อง แล้ว ให้ ประทับ ฟ้อง
จำเลย ให้การ ปฏิเสธ
ศาลชั้นต้น พิพากษา ว่า จำเลย มี ความผิด ลงโทษ จำคุก 5 เดือน
จำเลย อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษา ยืน แต่ ให้ เรียง กระทง ลงโทษ จำคุก กระทง ละ50 วัน รวม สาม กระทง เป็น จำคุก 5 เดือน
จำเลย ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า ‘คดี มี ปัญหา ข้อกฎหมาย ที่ จะ ต้อง วินิจฉัยตาม ฎีกา ของ จำเลย ข้อ 3 ซึ่ง ศาลชั้นต้น มี คำสั่ง ให้ รับ ฎีกา มาว่า มูลหนี้ ตาม เช็ค พิพาท สืบเนื่อง มา จาก ค่าเช่าซื้อ เมื่อ โจทก์ได้ ยึด รถยนต์ ที่ จำเลย เช่าซื้อ คืน ไป แล้ว สัญญา เช่าซื้อ เป็น อันยกเลิก โจทก์ ไม่ มี สิทธิ เรียกร้อง เงิน ค่าเช่าซื้อ ที่ ค้าง ชำระจาก จำเลย อีก เช็ค พิพาท จึง ไม่ มี มูลหนี้ ต่อ กัน การ กระทำ ของจำเลย ไม่ เป็น ความผิด ตาม พระราชบัญญัติ ว่าด้วย ความผิด อัน เกิดจากการ ใช้ เช็ค ใน การ วินิจฉัย ปัญหา ข้อกฎหมาย ดังกล่าว ศาลฎีกา จะ ต้องฟัง ข้อเท็จจริง ตาม ที่ ศาลอุทธรณ์ ได้ วินิจฉัย มา แล้ว จากพยานหลักฐาน ใน สำนวน ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 222ซึ่ง ศาลอุทธรณ์ ฟัง ข้อเท็จจริง มา ว่า จำเลย ได้ ทำ สัญญา เช่าซื้อรถยนต์ กับ โจทก์ เมื่อ วันที่ 28 ธันวาคม 2525 โดย มี เงื่อนไข ของสัญญา ระบุ ว่า ค่าเช่าซื้อ ที่ เหลือ อีก 570,000 บาท จำเลย จะ ผ่อนชำระ เป็น งวด งวด ละ 19,000 บาท เริ่ม งวดแรก วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2526 และ ทุก วันที่ 1 ของ เดือน ถัดไป จนกว่า จะ ครบ เช็ค พิพาท ทั้ง สามฉบับ จำเลย ออก ให้ แก่ โจทก์ เพื่อ ชำระหนี้ ค่าเช่าซื้อ งวด ประจำเดือน พฤษภาคม มิถุนายน และ กรกฎาคม 2526 เมื่อ เช็ค ดังกล่าว ถึง กำหนด โจทก์ นำ ไป เรียก เก็บ เงิน แต่ ธนาคาร ตาม เช็ค ปฏิเสธ การ จ่าย เงินโจทก์ บอก เลิก สัญญา เช่าซื้อ และ ยึด รถยนต์ คืน ไป จาก จำเลย เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2526 พิเคราะห์ แล้ว เห็น ว่า เช็ค พิพาท ทั้ง สามฉบับ จำเลย ออก ให้ แก่ โจทก์ เพื่อ ชำระ หนี้ ค่า เช่าซื้อ ตาม สัญญาเช่าซื้อ เมื่อ โจทก์ ผู้ทรง นำเช็ค ดังกล่าว ไป เรียก เก็บ เงิน แต่ธนาคาร ตาม เช็ค ปฏิเสธ การจ่ายเงิน การ กระทำ ของ จำเลย ย่อม เกิด เป็นความผิด สำเร็จ ตาม พระราชบัญญัติ ว่า ด้วย ความผิด อัน เกิดจาก การ ใช้เช็ค แล้ว แม้ ต่อมา โจทก์ จะ บอกเลิก สัญญา เช่าซื้อ อัน จะ มี ผลทำ ให้ จำเลย ไม่ต้อง ชำระ ค่าเช่าซื้อ ที่ ค้าง ให้ แก่ โจทก์ อีกต่อไป แต่ กรณี ดังกล่าว ก็ หา ทำ ให้ ความผิด อาญา ที่ เกิดขึ้น สำเร็จแล้ว ระงับ ไป ไม่ เพราะ ใน ขณะ ที่ จำเลย ออก เช็ค พิพาท และ ใน ขณะที่ ธนาคาร ตาม เช็ค ปฏิเสธ การ จ่าย เงิน อัน ทำ ให้ ความผิด เกิดขึ้นสำเร็จ นั้น จำเลย ยัง คง มี หน้าที่ จะ ต้อง ชำระ ค่าเช่าซื้อ ให้ แก่โจทก์ ตาม สัญญา เช็ค พิพาท จึง เป็น เช็ค ที่ ออก โดย มี มูลหนี้ ที่มี ผล ผูกพัน กัน ตาม กฎหมาย การ กระทำ ของ จำเลย จึง เป็น ความผิด ตามที่ โจทก์ ฟ้อง แต่ ศาลฎีกา พิเคราะห์ เห็น ว่า หนี้ ตาม เช็ค เกิดจากการ เช่าซื้อ รถยนต์ ซึ่ง ปรากฏ ว่า จำเลย ได้ ชำระ เงิน ไป แสนกว่า บาท และ ผู้เสียหาย ได้ ยึด รถ คืน ไป แล้ว ไม่ สมควร ที่ จะ จำคุก จำเลยไป เลย โดย ไม่ ให้ โอกาส กลับ ตัว
พิพากษา แก้ เป็น ว่า ให้ รอ การ ลงโทษ ไว้ มี กำหนด หนึ่ง ปี ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 56 นอกจาก ที่ แก้ คง ให้ เป็น ไป ตาม คำพิพากษาศาลอุทธรณ์’