แหล่งที่มา : ADMIN
ย่อสั้น
โจทก์ป่วยเป็นโรคเบาหวานจนไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่พนักงานขับรถตามตำแหน่งได้จำเลยไม่อาจคาดหมายได้ว่าโจทก์จะมีโอกาสหายจากโรคดังกล่าวหรือไม่และไม่สามารถหางานอื่นที่เหมาะสมให้ได้จำเลยเลิกจ้างโจทก์ได้ไม่ใช่เลิกจ้างไม่เป็นธรรม. การที่ผู้อำนวยการของจำเลยออกคำสั่งมอบอำนาจให้ผู้จัดการเขตการเดินรถมีอำนาจดำเนินการในเขตการเดินรถที่รับผิดชอบรวมทั้งมีอำนาจอนุมัติลาออกเลิกจ้างให้ออกไล่ออกพนักงานหรือลูกจ้างในสังกัดได้คำสั่งดังกล่าวเป็นการแบ่งงานในหน้าที่ซึ่งเป็นการแบ่งเบาภาระของผู้อำนวยการของจำเลยเป็นคำสั่งในทางบริหารงานมิใช่เป็นการมอบอำนาจโดยเฉพาะและมิใช่เป็นการมอบอำนาจให้กระทำนิติกรรมอันหนึ่งอันใดอันพึงต้องปิดอากรแสตมป์ตามประมวลรัษฎากรคำสั่งดังกล่าวซึ่งมิได้ปิดอากรแสตมป์จึงชอบด้วยกฎหมายผู้จัดการเขตการเดินรถจึงมีอำนาจออกคำสั่งเลิกจ้างโจทก์ได้.
ย่อยาว
โจทก์ ฟ้อง ว่า จำเลย จ้าง โจทก์ เป็น พนักงาน ขับรถ ต่อมา โจทก์ ป่วยเป็น โรค เบาหวาน แพทย์ มี ความเห็น ว่า โจทก์ ควร ทำงาน บน พื้นดินผู้จัดการเขตการเดินรถ ออก คำสั่ง ถึง โจทก์ ว่า โจทก์ ป่วย เป็น โรคเบาหวาน ถึง ขั้น ไม่ สามารถ ปฏิบัติ หน้าที่ พนักงาน ขับรถ ต้อง ทำงานเบา หน้าที่ อื่น และ จำเลย ไม่ สามารถ หา ตำแหน่ง งาน หน้าที่ อื่นที่ เหมาะสม ให้ ปฏิบัติ เป็น การ ประจำ ต่อไป จึง ให้ เลิกจ้าง โจทก์ซึ่ง ผู้จัดการเขตการเดินรถ ดังกล่าว ไม่ มี อำนาจ สั่ง เลิกจ้าง ทั้งเป็น คำสั่ง ที่ ไม่ เป็นธรรม เพราะ โจทก์ หาย จาก โรค เบาหวาน แล้วขอ ให้ พิพากษา ยก คำสั่ง เลิกจ้าง ของ จำเลย ให้ จำเลย จ่าย ค่าเสียหายเงินโบนัส ค่าครองชีพ เบี้ยขยัน เบี้ยเลี้ยง เงินสวัสดิการ ของ บุตรเงิน ค่า บำรุง การ ศึกษา ของ บุตร และ ค่า รักษา พยาบาล พร้อม ดอกเบี้ย
จำเลย ให้การ ว่า จำเลย เลิกจ้าง โจทก์ เพราะ โจทก์ ไม่ สามารถ ทำงานให้ กับ จำเลย ใน หน้าที่ พนักงาน ขับ รถยนต์ โดยสาร ประจำทาง จำเลยได้ มอบอำนาจ ให้ ผู้จัดการเขตการเดินรถ มี อำนาจ ใน การ จ้าง และเลิกจ้าง ภายใน อัตรา กำลัง ได้ ตาม คำสั่ง ของ จำเลย คำสั่ง เลิกจ้างจึง ชอบ แล้ว จำเลย ไม่ ต้อง รับ โจทก์ กลับ เข้า ทำงาน และ จ่าย เงินใดๆ ให้ แก่ โจทก์
ศาลแรงงานกลาง พิพากษา ยกฟ้อง
โจทก์ อุทธรณ์ ต่อ ศาลฎีกา
ศาลฎีกา แผนก คดีแรงงาน วินิจฉัย ว่า โจทก์ ป่วย เป็น โรค เบาหวาน จนไม่ สามารถ ปฏิบัติ หน้าที่ พนักงาน ขับรถ ตาม ตำแหน่ง ได้ และ จำเลยไม่ อาจ คาดหมาย ได้ ว่า โจทก์ จะ มี โอกาส หาย จาก โรค นี้ หรือไม่จำเลย ไม่ สามารถ หา ตำแหน่ง งาน หน้าที่ อื่น ที่ เหมาะสม ให้ ได้จึง ได้ มี คำสั่ง เลิกจ้าง โจทก์ คำสั่ง เลิกจ้าง โจทก์ ดังกล่าว จึงเป็น การ เลิกจ้าง ที่ เป็นธรรม แล้ว ส่วน การ ที่ ข้อตกลง เกี่ยวกับสภาพ การจ้าง กำหนด หลักเกณฑ์ การ พิจารณา เลิกจ้าง พนักงาน ของ จำเลยไว้ ว่า พนักงาน ที่ ถูก ยุบเลิก หน่วยงาน หรือ ตำแหน่งงาน และ องค์การฯ ไม่ สามารถ จัดหา งาน อื่น ที่ เหมาะสม ให้ ถือ ปฏิบัติ เป็น การ ถาวรได้ ให้ เลิกจ้าง นั้น หมายถึง พนักงาน ที่ ยัง มี ความ สามารถ ปฏิบัติงาน ใน หน้าที่ ได้ แต่ ต้อง ถูก ยุบ เลิก หน่วยงาน ที่ ตน สังกัด อยู่หรือ ยุบเลิก ตำแหน่ง ที่ ตน ดำรง อยู่ และ จำเลย ไม่ อาจ หา ตำแหน่งงาน อื่น ที่ เหมาะสม ได้ จึง มี สิทธิ เลิกจ้าง เท่านั้น หา ใช่ มีความหมาย ว่า หาก พนักงาน ผู้ใด ไม่ สามารถ ปฏิบัติ หน้าที่ ได้ เพราะความ ป่วยเจ็บ ไร้ความสามารถ หรือ หย่อน สมรรถภาพ ด้วย เหตุ ของ สุขภาพอนามัย แล้ว จำเลย ไม่ มี สิทธิ เลิกจ้าง ได้ กรณี ของ โจทก์ หา ขัด ต่อบันทึก ดังกล่าว ไม่
ผู้อำนวยการ ของ จำเลย ได้ มี คำสั่ง มอบอำนาจ ให้ผู้จัดการเขตการเดินรถ มี อำนาจ ดำเนินการ ใน เขตการเดินรถ ที่ รับผิดชอบ โดย กำหนด อำนาจ ทั่วไป อำนาจ บริหารงานบุคคลฯลฯ โดยเฉพาะ อย่างยิ่ง มี อำนาจ อนุมัติ และ ลงนาม คำสั่ง หรือ สัญญา บรรจุ จ้าง แต่งตั้งย้าย ลาออก เลิกจ้าง ให้ออก ไล่ออก พนักงาน หรือ ลูกจ้าง ใน สังกัด ได้คำสั่ง ของ จำเลย ดังกล่าว เป็น การ แบ่งงาน ใน หน้าที่ เป็น คำสั่ง ในทาง บริหารงาน ซึ่ง มิใช่ เป็น กรณี มอบอำนาจ ให้ แก่ผู้จัดการเขตการเดินรถ โดยเฉพาะ และ มิใช่ เป็น การ มอบอำนาจ ให้ กระทำนิติกรรม อันหนึ่ง อันใด อัน พึง ต้อง ติด อากรแสตมป์ ตาม ประมวลรัษฎากรไม่ คำสั่ง ของ จำเลย จึง ชอบ ด้วย กฎหมาย และ ผู้จัดการเขตการเดินรถมี อำนาจ ออก คำสั่ง เลิกจ้าง โจทก์ ได้
พิพากษา ยืน.