คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1587/2529

แหล่งที่มา : ADMIN

ย่อสั้น

การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยชี้ขาดข้อเท็จจริงแห่งคดีในชั้นไต่สวนมูลฟ้องว่า’พยานโจทก์ที่นำสืบมาฟังไม่ได้ว่าจำเลยฟ้องโจทก์เป็นฟ้องเท็จ’นั้นเป็นการวินิจฉัยว่าพยานโจทก์ตามที่นำสืบมาไม่มีมูลในความผิดฐานฟ้องเท็จนั่นเองไม่เป็นการขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา. ข้อสำคัญในคดีสำหรับความผิดฐานฉ้อโกงตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา341คือหลอกลวงผู้อื่นด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จหรือปกปิดข้อความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้งและโดยการหลอกลวงดังว่านั้นได้ไปซึ่งทรัพย์สินจากผู้ถูกหลอกลวงการเอาเช็คไปขอแลกเงินสดมิใช่เป็นการหลอกลวงให้ส่งทรัพย์ถึงโจทก์จะกระทำตามที่จำเลยเบิกความโจทก์ก็ไม่มีความผิดฐานฉ้อโกงดังนั้นแม้จำเลยจะรู้ว่าเช็คฉบับดังกล่าวเป็นเช็คที่โจทก์นำมามอบให้จำเลยเกี่ยวกับการเล่นการพนันสลากกินรวบแล้วจำเลยมาเบิกความว่าเป็นเช็คที่โจทก์นำไปขอแลกเงินสดจากจำเลยข้อที่จำเลยเบิกความดังกล่าวแม้จะเป็นความเท็จก็มิใช่เป็นข้อสำคัญในคดีสำหรับความผิดฐานฉ้อโกง.

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ขอ ให้ ลงโทษ จำเลย ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 175, 177,90, 91
ศาลชั้นต้น ไต่สวน มูลฟ้อง แล้ว พิพากษา ยกฟ้อง
โจทก์ อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษา ยืน
โจทก์ ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ใน ปัญหา ว่า การ ที่ ศาลอุทธรณ์ วินิจฉัย ชี้ขาดข้อเท็จจริง แห่ง คดี ใน ชั้น ไต่สวน มูลฟ้อง ว่า จำเลย ไม่ มี ความผิดฐาน ฟ้องเท็จ เป็น การ ขัดต่อ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา หรือไม่นั้น ศาลอุทธรณ์ วินิจฉัย ไว้ ว่า ‘พยาน โจทก์ ที่ นำสืบ มา ฟัง ไม่ ได้ว่า จำเลย ฟ้อง โจทก์ เป็น ฟ้องเท็จ’ เห็นว่า คำวินิจฉัย ของ ศาลอุทธรณ์ดังกล่าว เป็น การ วินิจฉัย ว่า พยานโจทก์ ตาม ที่ นำสืบ มา ไม่ มี มูลใน ความผิด ฐาน ฟ้องเท็จ นั่นเอง จึง ไม่ เป็น การ ขัด ต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา แต่ อย่างใด และ ปัญหา ที่ ว่าคำเบิกความ ของ จำเลย ใน คดี ฉ้อโกง เป็น ข้อสำคัญ ใน คดี หรือไม่ นั้น โจทก์ ฟ้อง ความ ว่า จำเลย เบิกความเท็จ ใน คดี หมายเลขดำ ที่1562/2525 (คดี หมายเลขแดง ที่ 2857/2526) ของ ศาลอาญา โดย เบิกความว่า โจทก์ นำ เช็ค ธนาคาร กรุงเทพ จำกัด สาขา ราชวัตร เลขที่ 0238499ลง วันที่ 2 พฤศจิกายน 2524 จำนวน เงิน 190,000 บาท ซึ่ง นาย สมชายเปรมปริก เป็น ผู้สั่งจ่าย ไป ขอ แลก เงินสด จาก จำเลย และ โจทก์ ได้รับ เงิน ตาม เช็ค ไป จาก จำเลย แล้ว ซึ่ง ไม่ เป็น ความจริง ความจริงโจทก์ นำ เช็ค ฉบับ ดังกล่าว ไป มอบ ให้ จำเลย พร้อม ด้วย เอกสารการ เล่น การ พนัน สลากกินรวบ ใน ฐานะ ที่ โจทก์ เป็น คนกลาง ระหว่างจำเลย กับ ผู้ มี ชื่อ โดย โจทก์ มี หน้าที่ ติดต่อ หา คน มา เล่นสลากกินรวบ ซึ่ง จำเลย ก็ ทราบ ดี ศาลฎีกา เห็น ว่า ข้อสำคัญ ใน คดีสำหรับ ความผิด ฐาน ฉ้อโกง ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341 คือ หลอกลวงผู้อื่น ด้วย การ แสดง ข้อความ อัน เป็น เท็จ หรือ ปกปิด ข้อความ จริงซึ่ง ควร บอก ให้ แจ้ง และ โดย การ หลอกลวง ดัง ว่า นั้น ได้ ไป ซึ่งทรัพย์สิน จาก ผู้ ถูก หลอกลวง แต่ การ เอา เช็ค ไป ขอ แลก เงินสด มิใช่เป็น การ หลอกลวง ให้ ส่ง ทรัพย์ ถึง โจทก์ จะ กระทำ ตาม ที่ จำเลยเบิกความ โจทก์ ก็ ไม่ มี ความผิด ฐาน ฉ้อโกง ดังนั้น แม้ จำเลย จะรู้ ว่า เช็ค ฉบับ ดังกล่าว เป็น เช็ค ที่ โจทก์ นำ มา มอบ ให้ จำเลยเกี่ยวกับ การ เล่น การพนัน สลาก กินรวบ แล้ว จำเลย มา เบิกความ ว่าเป็น เช็ค ที่ โจทก์ นำ ไป ขอ แลกเงิน สด จาก จำเลย ข้อ ที่ จำเลยเบิกความ ดังกล่าว แม้ จะ เป็น เท็จ ก็ มิใช่ เป็น ข้อสำคัญ ใน คดีสำหรับ ความผิด ฐาน ฉ้อโกง
พิพากษา ยืน.

Share