แหล่งที่มา : สำนักงาน ส่งเสริมงานตุลาการ
ย่อสั้น
บัญชีพิกัดอัตราอากรขาเข้าตามภาค2ท้ายพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากรพ.ศ.2503พิกัดประเภทที่39.01กำหนดไว้ความว่าซิลิโคนก.ชนิดที่ใช้เป็นวัตถุดิบสำหรับเอามาหล่อหลอมอัดหรือผสมเป็นของสำเร็จรูปฯลฯอัตราอากรร้อยละ40ข.อื่นๆอัตราอากรร้อยละ60การพิจารณาว่าซิลิโคนที่นำเข้าใช้เป็นวัตถุดิบหรือไม่ให้ดู “ชนิด”ของซิลิโคนหาใช่ดูการใช้ซิลิโคนจำนวนนั้นจริงๆไม่เมื่อซิลิโคนที่โจทก์นำเข้าเป็นได้ทั้งชนิดที่ใช้เป็นวัตถุดิบตามพิกัดประเภทที่39.01ก.และวัตถุสำเร็จรูปอันเป็นชนิดอื่นๆตามพิกัดประเภทที่39.01ข.จึงเป็นกรณีของชนิดหนึ่งอาจจัดเข้าได้2ประเภทหรือมากกว่านั้นต้องอาศัยหลักเกณฑ์การตีความพิกัดอัตราศุลกากรตามภาค1ท้ายพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากรพ.ศ.2503บังคับกรณีนี้มิใช่ประเภทหนึ่งระบุลักษณะของไว้ชัดแจ้งและอีกประเภทหนึ่งระบุไว้อย่างกว้างๆตามหลักเกณฑ์ข้อ3(ก)ทั้งมิใช่กรณีของซึ่งผสมหรือประกอบด้วยวัตถุต่างชนิดกันตามหลักเกณฑ์ข้อ3(ข)จึงต้องจัดเข้าประเภทซึ่งมีอัตราอากรสูงที่สุดคือประเภท39.01ข.ตามหลักเกณฑ์ข้อ3(ค)จำเลยเรียกเก็บในอัตราร้อยละ60จึงถูกต้อง.
ย่อยาว
โจทก์ฟ้องขอให้ศาลพิพากษาว่าสินค้าสารเคมีซิลิโคนที่โจทก์นำเข้าจัดอยู่ในพิกัดประเภทที่ 39.01 ก. ตามบัญชีแนบท้ายพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร และให้จำเลยคืนเงินที่เรียกเก็บไว้เกินไปจำนวน501,641.23 บาท แก่โจทก์ พร้อมทั้งดอกเบี้ย อัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี นับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ
จำเลยให้การว่าสินค้าที่โจทก์นำเข้าดังกล่าวต้องจัดเข้าพิกัดประเทภที่ 39.01 ข. จำเลยเรียกเก็บภาษีอากรจากโจทก์ถูกต้องแล้วขอให้ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้ววินิจฉัยว่าสารเคมีซิลิโคนที่โจทก์นำเข้าใช้ได้ทั้งเป็นวัตถุดิบและของสำเร็จรูป ต้องจัดเข้าพิกัดประเภทที่ 39.01 ข. ซึ่งมีอัตราอากรสูงสุด จำเลยเรียกเก็บภาษีอากรไปจากโจทก์ชอบแล้ว พิพากษายกฟ้อง ให้โจทก์ใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนจำเลยโดยกำหนดค่าทนายความให้ 2,000 บาท
โจทก์อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน ให้โจทก์เสียค่าทนายความชั้นอุทธรณ์2,000 บาท แก่จำเลย
โจทก์ฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ฯ “พิจารณาแล้ว ปัญหาว่าซิลิโคนบริสุทธิ์99.9 เปอร์เซ็นต์ ที่โจทก์นำเข้าสามารถใช้เป็นวัตถุดิบได้อย่างเดียวหรือไม่ โจทก์มีนายสมเกียรติ จงถาวรวาสนา ผู้รับมอบอำนาจจากโจทก์เบิกความว่า ซิลิโคน 99.9 เปอร์เซ็นต์ ไม่สามารถนำไปใช้ได้ทันทีต้องนำไปผสมก่อน เป็นคำเบิกความลอย ๆ ไม่มีหลักฐานและเหตุผลประกอบให้มีน้ำหนัก นายสมพร กัณหเสน เลขาธิการสมาคมชิปปิ้งแห่งประเทศไทย พยานโจทก์อีกปากหนึ่งเบิกความว่าในเชิงค้าการนำซิลิโคนฟลูอิดมาเป็นน้ำมันหล่อลื่นจะไม่ทำกัน เพียงราคาสูงกว่าน้ำมีนหล่อลื่นธรรมดามาก แต่ก็หาได้เบิกความว่าไม่มีการนำซิลิโคนฟลูอิดไปใช้ในสภาพเป็นวัตถุสำเร็จรูปทีเดียวไม่ ส่วนที่ได้ความว่าโจทก์นำซิลิโคน 99.9 เปอร์เซ็นต์ ของโจทก์ไปใช้เป็นวัตถุดิบทำการผลิตเป็นซิลิโคนอีมูชั่นตรายปอน บี .370ก็เป็นเรื่องเฉพาะรายของโจทก์ ไม่เป็นหลักฐานแสดงว่าซิลิโคน 99.9เปอร์เซ็นต์ใช้เป็นวัตถุดิบได้อย่างเดียว จำเลยมีนางสาวน้ำทิพย์ศรีหิรัญ นักวิทยาศาสตร์ระดับ 6 กรมศุลกากร เบิกความเป็นพยานจำเลยว่า ซิลิโคนฟลูอิคหรือซิลิโคนออยล์สามารถใช้ได้ทั้งในทางวัตถุดิบและวัตถุสำเร็จรูป การใช้ในทางสำเร็จรูป เช่น ใช้ทำเป็นตัวหล่อลื่นหรือกำจัดฟอง โดยเฉพาะถุงยางอนามัยก็นำซิลิโคนสำเร็จรูปมาใช้ได้ทันที เมื่อกลางปี พ.ศ. 2523 ได้มีการส่งตัวอย่างสินค้าที่โจทก์นำเข้ามาไปให้พยานตราจวิเคราะห์ พยานตรวจวิเคราะห์แล้วพบว่าเป็นซิลิโคนฟลูอิดมีความบริสุทธิ์ 999 เปอร์เซ็นต์ พยานจึงบันทึกลงในใบขนสินค้าว่าให้เสียภาษีในพิกัดประเภทที่ 39.01 ข.มีนางนิดน้อย สุจริตกุล เบิกความเป็นพยานจำเลยว่า เมื่อ พ.ศ.2520 พยานรับราชการเป็นผู้อำนายการกอง กองเคมี กรมวิทยาศาสตร์พยานได้ตรวจวิเคราะห์ตัวอย่างสินค้าที่กรมศุลกากรส่งไปให้ตรวจวิเคราะห์ ปรากฏว่าเป็นซิลิโคนฟลูอิค หรือซิลิโคนออยล์ พยานตอบไปยังกรมศุลกากรว่า สารดังกล่าวใช้ได้ทั้งเป็นวัตถุดิบและวัตถุสำเร็จรูป ปรากฏตามหนังสือเอกสารหมาย ล.4 กรณีใช้เป็นวัตถุสำเร็จรูปพยานเบิกความว่า เช่นนำไปใช้เป็นน้ำมันหล่อลื่น นำไปใช้ในทางการหล่อแบบพิมพ์ นำไปใช้ฉีดเข้าร่างกายมนุษย์ เพื่อทำให้อวัยวะเต่งตึงขึ้นมา เห็นว่า พยานจำเลย 2 ปากนี้สำเร็จการศึกษาวิทยาศาสตร์บัณฑิต สาขาเคมีให้ความเห็นตามทางราชการ ไม่มีผลประโยชน์ได้เสียเป็นส่วนตัว ถ้อยคำมีน้ำหนัก นอกจากนั้นจำเลยยังมีนายสุชัย พูลพานิชผล หัวหน้าพิจารณาพิกัดอัตราศุลกากรสินคาทางเคมีภัณฑ์ กองพิกัดอัตราศุลกากร กรมศุลกากร เบิกความว่า เมื่อพ.ศ. 2521 ที่ประชุมคณะกรรมการพิกัดอัตราศุลกากร ซึ่งพยานเช้าประชุมด้วยได้พิจารณากละวินิจฉัยว่า ซิลิโคนฟลูอิดหรือซิลิโคนออยล์ใช้ได้ทั้งเป็นวัตถุดิบและของสำเร็จรูป ควรจัดเข้าพิกัดประเภทที่ 39.02 ข. ปรากฏตามรายงานการประชุมเอกสารหมาย ล.5 ต่อมาได้แก้ไขเป็นประเภทที่ 39.01 ข. ปรากฏตรารายงานการประชุมเอกสารหมายล.6 ครั้นในปี พ.ศ. 2525 ได้มีการประชุมเรื่องนี้กันใหม่อีกตรารายงานการประชุมเอกสารหมายเลข ล.7 ยืนยันตามความเห็นเดิมดังนี้ คณะกรรมการดังกล่าวย่อมเป็นผู้รู้จักสินค้าดี มติของคณะกรรมการจึงน่าจะถูกต้อง พยานหลักฐานของจำเลยมีน้ำหนักยิ่งกว่าพยานหลักฐานโจทก์ ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าซิลิโคนบริสุทธิ์ที่โจทก์นำเข้ามาใช้ประโยชน์ทั้งสองทางพร้อมกัน คือใช้ได้ทั้งเป็นวัตถุดิบและวัตถุสำเร็จรูป ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย
โจทก์ฎีกาต่อไปว่า ซิลิโคนรายพิพาทที่โจทก์นำเข้ามาโจทก์นำไปผสมเสียก่อน จึงจะใช้ได้ ย่อมจัดเป็นชนิดที่ใช้เป็นวัตถุดิบตามพิกัดประเภทที่ 39.01 หาใช่ประเภทที่ 39.01 ข. ไม่ ข้อนี้บัญชีพิกัดอัตรากอากรขาเข้าตามภาค 2 ท้ายพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2503 พิกัดประเภทที่ 39.01 กำหนดไว้ความว่าซิลิโคน ก. ชนิดที่ใช้เป็นวัตถุดิบสำหรับเอามาหล่อ หลอม อัด หรือผสมเป็นของสำเร็จรูป ฯลฯ อัตราอากรร้อยละ 40 ข. อื่น ๆอัตราอากรร้อยละ 60 เห็นว่า การพิจารณาว่าซิลิโคนที่นำเข้าใช้เป็นวัตถุดิลหรือไม่ ให้ดู “ชนิด” ของซิลิโคน หาใช่ดูการใช้ซิลิโคนจำนวนนั้นจริง ๆ ไม่ เมื่อซิลิโคนที่โจทก์นำเข้าเป็นได้ทั้งชนิดที่ใช้เป็นวัตถุดินตามพิกัดประเภทที่ 39.01 ก. และวัตถุสำเร็จรูปอันเป็นชนิดอื่น ๆ ตามพิกัดประเภทที่ 39.01 ข. จึงเป็นกรณีของชนิดหนึ่งอาจจัดเข้าได้ 2 ประเภทหรือมากกว่านั้น ต้องอาศัยหลักเกณฑ์การตีความพิกัดอัตราศุลกากร ตามภาค 1 ท้ายพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2503 บังคับ กรณีนี้ มิใช่ประเภทหนึ่งระบุลักษณะของของไว้ชัดแจ้ง และอีกประการหนึ่งระบุไว้อย่างกว้าง ๆ ตามหลักเกณฑ์ข้อ 3 (ก) ทั้งมิใช่ของซึ่งผสมหรือประกอบด้วยวัตถุต่างชนิดกันตามหลักเกณฑ์ข้อ 3(ข) จึงต้องนำเข้าประเภทซึ่งมีอัตราอากรสูงที่สุด คือประเภทที่ 39.01 ข. ตามหลักเกณฑ์ข้อ 3(ค)จำเลยเรียกเก็บอากรในอัตราร้อยละ 60 ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าเรียกเก็นถูกต้องแล้ว ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย ฎีกาโจทก์ทุกข้อฟังไม่ขึ้น