คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1134/2529

แหล่งที่มา : ADMIN

ย่อสั้น

โจทก์ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินจากจำเลยข้อความในสัญญากำหนดว่าผู้จะขายยินยอมที่จะดำเนินการขายให้เสร็จภายใน12เดือนเพื่อโอนขายให้แก่ผู้จะซื้อการซื้อขายที่ดินพิพาทจึงยังต้องมีการโอนทางทะเบียนกันแม้จำเลยยอมให้โจทก์ครอบครองที่ดินไปได้ก่อนก็ตามแต่ตราบใดที่ยังไม่มีการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้โจทก์กรรมสิทธิ์ที่ดินยังเป็นของจำเลยการครอบครองที่ดินของโจทก์จึงเป็นการครอบครองโดยอาศัยสิทธิของจำเลยเป็นการยึดถือที่พิพาทแทนจำเลยมิใช่ยึดถือในฐานะเป็นเจ้าของเมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้เปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือแม้โจทก์ครอบครองที่พิพาทเกิน10ปีโจทก์ไม่ได้กรรมสิทธิ์ โจทก์เคยฟ้องให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทมาครั้งหนึ่งแล้วแต่ศาลพิพากษายกฟ้องเพราะขาดอายุความโจทก์จึงมาร้องขอให้พิพากษาว่าโจทก์ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยมิได้อาศัยเหตุอย่างเดียวกันไม่เป็นฟ้องซ้ำตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา148.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)

ย่อยาว

ผู้ร้อง ยื่น คำร้อง ว่า ผู้ร้อง ได้ ซื้อ ที่ พิพาท จาก นาย หาเกษราธิกุล กับพวก ผู้ร้อง ได้ ครอบครอง ที่ พิพาท เกิน 10 ปี จึงได้ กรรมสิทธิ์ โดย ครอบครอง ปรปักษ์ ขอ ให้ ศาล มี คำสั่ง ว่า ที่ดินพิพาท เป็น กรรมสิทธิ์ ของ ผู้ร้อง
ผู้คัดค้าน ยื่น คำ คัดค้าน ว่า ผู้ร้อง ได้ ทำ หนังสือ สัญญา จะซื้อจะ ขาย ที่ดิน พิพาท จาก ผู้ คัดค้าน กับพวก แต่ ผู้ร้อง ยัง ชำระ เงินไม่ ครบถ้วน ผู้ร้อง เคย ฟ้อง ผู้ คัดค้าน ให้ จด ทะเบียน โอน ที่ดินพิพาท แก่ ผู้ร้อง แต่ ศาลชั้นต้น พิพากษา ยกฟ้อง อ้างว่า คดี ขาดอายุ ความ ผู้ร้อง ครอบครอง ที่ดิน โดย อาศัย สิทธิ ตาม สัญญาจะซื้อจะขาย ซึ่ง ยัง ชำระ เงิน ไม่ ครบถ้วน ผู้ร้อง จึง ไม่ ได้กรรมสิทธิ์ โดย การ ครอบครอง ปรปักษ์ และ การ ร้อง เป็น คดี นี้ เป็นฟ้อง ซ้ำ ขอ ให้ ยก คำร้อง
ศาลชั้นต้น ให้ ดำเนินคดี เป็น คดี มี ข้อพิพาท โดย เรียก ผู้ร้องว่า โจทก์ เรียก ผู้คัดค้าน ว่า จำเลย
ศาลชั้นต้น พิพากษา ว่า ฟ้อง โจทก์ ไม่ เป็น ฟ้อง ซ้ำ และ โจทก์ ได้กรรมสิทธิ์ ใน ที่ดิน พิพาท โดย การ ครอบครอง ปรปักษ์ แล้ว
จำเลย อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ วินิจฉัย ว่า โจทก์ เข้า ครอบครอง ที่ พิพาท โดย สัญญาจะ ซื้อ จะ ขาย ไม่ ได้ กรรมสิทธิ์ พิพากษา กลับ ให้ ยกฟ้อง
โจทก์ ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า ‘ข้อ ที่ จำเลย แก้ ฎีกา ว่า ฟ้อง (คำร้องขอ) ของ โจทก์ เป็น ฟ้องซ้ำ กับ คดีแพ่ง หมายเลข แดง ที่ 540/2528ฎีกา ของ ศาลชั้นต้น เห็นว่า คดีแพ่ง หมายเลข แดง ที่ 540/2525 ของศาลชั้นต้น เป็น เรื่อง ฟ้อง ขอ ให้ จำเลย ปฏิบัติ ตาม สัญญาจะซื้อจะขาย โดย ให้ จด ทะเบียน โอน กรรมสิทธิ์ ที่ดิน พิพาท ให้ โจทก์ ส่วน คดีนี้ เป็น เรื่อง ขอ ให้ พิพากษา ว่า โจทก์ ได้ กรรมสิทธิ์ใน ที่ดิน พิพาท โดย การ ครอบครอง ประเด็น ที่ จะ ต้อง วินิจฉัยมิได้ วินิจฉัย โดย อาศัย เหตุ อย่างเดียว กัน กรณี จึง ไม่ เป็นฟ้องซ้ำ ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148’
ที่ โจทก์ ฎีกา ว่า โจทก์ ได้ กรรมสิทธิ์ ใน ที่ดิน พิพาท โดย การครอบครอง ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 นั้น ศาลฎีกาวินิจฉัย ว่า ‘ข้อเท็จจริง ฟัง ได้ ตาม ที่ โจทก์ นำสืบ และ คู่ความรับ กัน เป็น ยุติ ว่า โจทก์ กับพวก ได้ ทำ สัญญา จะ ซื้อ ที่ดิน พิพาทจาก จำเลย กับพวก ใน ราคา 8,625 บาท และ ชำระ ค่า ที่ดิน ใน วันทำ สัญญา เป็น เงิน 8,000 บาท ตาม หนังสือ สัญญา จะซื้อจะขาย เอกสารหมาย จ.2 คง ค้าง ชำระ ค่า ที่ดิน อยู่ 625 บาท โจทก์ ได้ เข้าครอบครอง ทำ ประโยชน์ ใน ที่ดิน พิพาท มา เกิน 10 ปี แล้ว และ โจทก์กับพวก เคย ฟ้อง จำเลย เกี่ยวกับ ที่ดิน พิพาท มา ครั้งหนึ่ง แล้วซึ่ง ศาลชั้นต้น พิพากษา ยกฟ้อง เพราะ คดี ขาด อายุ ความ ตาม คดีแพ่งหมายเลข แดง ที่ 540/2525 พิเคราะห์ แล้ว เห็นว่า ตาม สัญญา จะซื้อจะขายเอกสาร หมาย จ.2 ข้อ 4 มี ข้อความ ว่า ผู้จะขาย (จำเลย กับพวก) ยินยอมที่ จะ ดำเนินการ ขาย ที่ดิน แปลง ตาม ข้อ 1 (ที่ดิน พิพาท) ตามระเบียบ ให้ เสร็จ ภายใน 12 เดือน นับแต่ วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2513เป็นต้น ไป เพื่อ โอน ขาย ให้ แก่ ผู้จะซื้อ (โจทก์ กับพวก) หากผู้จะขาย บิดพลิ้ว ไม่ ยอม ขาย ที่ดิน แปลงนี้ ให้ แก่ ผู้จะซื้อ จะโดยเหตุ ประการ ใด ก็ ตาม ยินยอม ให้ ผู้จะซื้อ ปรับ ได้ เป็น จำนวน10 เท่า ของ เงิน มัดจำ การ ซื้อ ขาย ที่ดิน พิพาท นี้ ยัง จะ ต้องมี การ โอนทาง ทะเบียน กัน สัญญา ดังกล่าว เป็น เพียง สัญญา จะซื้อจะขายตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 456 วรรคสอง เมื่อ ยัง ไม่ ได้จด ทะเบียน โอน กรรมสิทธิ์ ที่ดิน พิพาท เป็น ของ โจทก์ กรรมสิทธิ์ยัง คง เป็น ของ ผู้ มี ชื่อ ใน โฉนด การ ที่ โจทก์ เข้า ครอบครองทำ ประโยชน์ ใน ที่ดิน พิพาท ก็ โดย จำเลย กับ พวก ยินยอม ตาม สัญญาข้อ 6 ซึ่ง มี ข้อความ ว่า นับแต่ วันทำ สัญญา นี้ เป็นต้น ไป ผู้จะขาย (จำเลย กับพวก) ยินยอม ให้ ผู้จะซื้อ (โจทก์ กับพวก) เข้า ครอบครองที่ดิน ตาม ข้อ 1 (ที่ดิน พิพาท) ได้ โดย ทันที และ จะ ไม่ เกี่ยวข้องด้วย ประการ ใดๆ ทั้งนี้ เพราะ ผู้จะซื้อ จะ เข้า ทำ ประโยชน์ ใน ที่ดินแปลง ที่ กล่าว ใน ข้อ 1 ตั้งแต่ วันทำ สัญญา นี้ จึง เป็น การ ครอบครองโดย อาศัย สิทธิ ของ จำเลย กับพวก ตาม สัญญา จะซื้อจะขาย ซึ่ง เป็นการ ยึดถือ ที่ดิน พิพาท แทน จำเลย มิใช่ เป็น การ ยึดถือ ใน ฐานะเป็น เจ้าของ กรณี ไม่ ต้อง ด้วย ข้อ สันนิษฐาน ของ กฎหมาย ว่าโจทก์ ยึดถือ เพื่อตน ครอบครอง โดย สุจริต โดย ความ สงบ และ โดย เปิดเผยหรือ จำเลย ได้ สละ การ ครอบครอง ให้ โจทก์ แล้ว ตาม ข้อ ฎีกา ของ โจทก์ ส่วน ข้อ ที่ โจทก์ ฎีกา ว่า เมื่อ ล่วงเลย กำหนด เวลา ที่ จำเลยจะ ต้อง โอน ที่ดิน พิพาท ให้ แก่ โจทก์ ตาม สัญญา ข้อ 4 แล้ว จำเลยมิได้ ฟ้อง บังคับ ให้ โจทก์ ส่งมอบ ที่ดิน พิพาท คืน คง ปล่อย ให้โจทก์ ครอบครอง ต่อมา เป็น เวลา กว่า 10 ปี โจทก์ ย่อม ได้ กรรมสิทธิ์นั้น เห็นว่า กรณี ดังกล่าว ยัง ถือ ไม่ ได้ ว่า โจทก์ ได้ เปลี่ยนลักษณะ แห่ง การ ยึดถือ ทั้ง ไม่ ปรากฎ ว่า ต่อมา โจทก์ เปลี่ยนลักษณะ แห่ง การ ยึดถือ โดย บอกกล่าว ไป ยัง จำเลย ว่า ไม่ มี เจตนาจะ ยึดถือ ที่ดิน พิพาท แทน จำเลย ต่อ ไป ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1381 แต่ กลับ ได้ ความ ว่า เมื่อพ.ศ. 2525 โจทก์ กับพวก ฟ้อง จำเลย ให้ ปฏิบัติ ตาม สัญญา โดย ให้จด ทะเบียน โอน กรรมสิทธิ์ ที่ดิน พิพาท ซึ่ง ศาล พิพากษา ยกฟ้อง ตามคดีแพ่ง หมายเลข แดง ที่ 540/2525 ของ ศาลชั้นต้น ดังนั้น แม้ จะ ฟังว่า โจทก์ ครอบครอง ทำ ประโยชน์ ใน ที่ดิน พิพาท ติดต่อ กัน มา เป็นเวลา เกิน 10 ปี โจทก์ ไม่ ได้ กรรมสิทธิ์ ใน ที่ดิน พิพาท โดย การครอบครอง ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 ศาลอุทธรณ์พิพากษา กลับ คำพิพากษา ศาลชั้นต้น ให้ ยกฟ้อง นั้น ศาลฎีกา เห็นพ้องด้วย ฎีกา ของ โจทก์ ฟัง ไม่ ขึ้น
พิพากษายืนฯ’

Share