คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 676/2529

แหล่งที่มา : ADMIN

ย่อสั้น

คดีความผิดฐานฆ่าและพยายามฆ่าผู้อื่นซึ่งมีอัตราโทษสูงแม้จำเลยจะให้การรับสารภาพต่อศาลโจทก์ก็ยังต้องนำพยานมาสืบให้เป็นที่พอใจศาลว่าจำเลยเป็นผู้กระทำผิดจริง.ศาลจึงจะลงโทษจำเลยได้ลำพังคำรับสารภาพนอกศาลแต่ในชั้นศาลจำเลยให้การปฏิเสธย่อมไม่มีน้ำหนักเพียงพอให้ศาลรับฟังลงโทษจำเลยได้การที่โจทก์ส่งคำให้การพยานชั้นสอบสวนแต่นำตัวพยานมาเบิกความต่อศาลไม่ได้.จำเลยไม่มีโอกาสซักค้านพยานดังกล่าวคำให้การพยานในชั้นสอบสวนจึงไม่มีน้ำหนัก.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ขอ ให้ ลงโทษ จำเลย ฐาน มี และ พา อาวุธปืน ไป ใน หมู่บ้านฐาน ฆ่า นาย อัมพร รังศิษฐ์ และ ฐาน พยายาม ฆ่า นาย ดาวเรือง เดชะแก้วและ นาย อุเทน เทอดไทย โดย ไตร่ตรอง ไว้ ก่อน
จำเลย ให้การ ปฏิเสธ
ศาลชั้นต้น พิพากษา ว่า จำเลย มี ความผิด ฐาน ฆ่า และ พยายาม ฆ่าผู้อื่น ฐาน มี และ พา อาวุธปืน ไป ใน ทาง สาธารณะ ลงโทษ ฐาน ฆ่า และพยายาม ฆ่า ผู้อื่น ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288 ซึ่ง เป็น บทหนักจำคุก 20 ปี ฐาน มี อาวุธปืน ไม่ รับ อนุญาต จำคุก 2 ปี ฐาน พา อาวุธปืนไป ใน ทางสาธารณะ ลงโทษ ตาม พระราชบัญญัติ อาวุธปืน ซึ่ง เป็น บทหนักจำคุก 1 ปี รวม จำคุก 23 ปี
จำเลย อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษา กลับ ให้ ยกฟ้อง โจทก์
โจทก์ ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า ข้อเท็จจริง ฟัง ได้ ว่า วัน เวลา เกิดเหตุนาย อัมพร ผู้ตาย นาย ดาวเรือง และ นาย อุดม ผู้เสียหาย ถูก คนร้าย ใช้อาวุธปืน ยิง เป็น เหตุ ให้ ผู้ตาย ถึง แก่ ความตาย และ ผู้เสียหาย ทั้งสอง ได้ รับ บาดเจ็บ ปัญหา ที่ จะ ต้อง วินิจฉัย มี ว่า จำเลย เป็นคนร้าย ราย นี้ หรือไม่ โจทก์ มี พยาน รู้เห็น ขณะ เกิดเหตุ มา สืบคือ นาย ดาวเรือง ผู้เสียหาย และ ร้อยตำรวจตรี สรพล พยุงวีระน้อย แต่พยาน ที่ ยืนยัน ว่า จำ คนร้าย ได้ คง มี ร้อยตำรวจตรี สรพล เพียงปาก เดียว ส่วน นาย ดาวเรือง ผู้เสียหาย จำ คนร้าย ไม่ ได้ ร้อยตำรวจตรีสรพล พยาน โจทก์ เบิกความ ว่า ขณะ พยาน นั่ง ซ้อนท้าย รถจักรยานยนต์ซึ่ง พลตำรวจ นิพนธ์ เป็น คน ขับ ไป ใกล้ จะ ถึง ปากซอย เหล่าลดาได้ยิน เสียง ปืน ดัง ทาง ปากซอย เหล่าลดา ขณะนั้น พยาน อยู่ ห่างปากซอย ดังกล่าว ประมาณ 100 เมตร พยาน จึง ไป ที่ ปากซอย เหล่าลดาได้ เห็น คนร้าย 3 คน กำลัง ใช้ อาวุธปืน ยิง ไป ยัง กลุ่ม นาย อัมพรผู้ตาย กับพวก จึง ร้อง บอก ให้ หยุด และ แสดงตัว เป็น เจ้าพนักงานตำรวจ คนร้าย ทั้ง สาม หัน หน้า ไป มอง พยาน จึง เห็น หน้า และ จำคนร้าย ทั้ง สาม คน ได้ คนร้าย คน หนึ่ง คือ จำเลย นี้ พิเคราะห์ แล้วเห็น ว่า ขณะ เสียง ปืน ดัง ร้อยตำรวจตรี สรพล ยัง อยู่ ห่าง ที่เกิดเหตุ ถึง ประมาณ 100 เมตร แม้ พยาน จะ นั่ง ซ้อนท้าย รถ จักรยานยนต์ไป กว่า พยาน จะ ไป ถึง ที่เกิดเหตุ คนร้าย ก็ น่า จะ วิ่ง ไป แล้วเพราะ ข้อเท็จจริง ปรากฏ ตาม คำเบิกความ ของ นาย ดาวเรือง ผู้เสียหายว่า เสียง ปืน ดัง 4-5 นัด ผู้เสียหาย รู้สึก เจ็บ ที่ อก ด้านซ้ายผู้เสียหาย ลุก ขึ้น วิ่ง ไป ประมาณ 3 ก้าว ก็ ถูก ยิง ที่ ด้าน หลังอีก 1 นัด ผู้เสียหาย กับพวก จึง วิ่งหนี กลับ ไป ที่ ร้าน จากคำเบิกความ ดังกล่าว แสดงว่า คนร้าย ยิง ปืน ทั้งหมด ประมาณ 5-6 นัดและ ยิง ใน ระยะ ไม่ ห่าง กัน ที่ ร้อยตำรวจตรี สรพล พยาน โจทก์เบิกความ ว่า เมื่อ ไป ถึง ที่ เกิดเหตุ ได้ เห็น คนร้าย กำลัง ใช้ ปืนยิง ผู้เสียหาย และ ผู้ตาย กับพวก จึง ยัง เป็น ที่ น่าสงสัย อยู่หาก ร้อยตำรวจตรี สรพล พยาน จะ เห็น คนร้าย ก็ น่า จะ เห็น คนร้ายด้านหลัง ขณะ คนร้าย วิ่ง หลบหนี หลังจาก ยิง ผู้เสียหาย กับพวก แล้วอย่างไร ก็ ดี แม้ จะ ฟัง ว่า ร้อยตำรวจตรี สรพล พยาน ไป ถึง ที่เกิดเหตุ ขณะ คนร้าย กำลัง ใช้ ปืน ยิง ผู้เสียหาย กับพวก พยาน ก็ ไปจอด รถ ด้านหลัง คนร้าย และ เห็น ด้านหลัง คนร้าย แม้ คนร้าย จะ หันหน้าไป มอง พยาน ก็ หัน ไป เพียง ชั่ว ระยะ เวลา อัน สั้น ประมาณ ครึ่ง นาทีเท่านั้น คนร้าย เป็น คน ที่ พยาน ไม่ เคย รู้จัก มา ก่อน ขณะ เกิดเหตุเป็น เวลา กลางคืน พยาน น่า จะ เห็น หน้า คนร้าย ไม่ ถนัด อาจ จำผิดพลาด ได้ ที่ พยาน เบิกความ ว่า จำ คนร้าย ได้ ว่า เป็น จำเลย จึงยัง มี เหตุ อันควร สงสัย อยู่ ว่า พยาน อาจ จำ ผิด พลาด ได้ ส่วน ที่โจทก์ นำสืบ ว่า จำเลย รับสารภาพ ใน ชั้น จับกุม และ ให้การ ภาค เสธ ในชั้น สอบสวน นั้น เห็น ว่า คดี นี้ มี อัตรา โทษ สูง แม้ จำเลย จะให้การ รับสารภาพ ต่อ ศาล โจทก์ ก็ ยัง ต้อง นำ พยาน มา สืบ ให้ เป็นที่ พอใจ ศาล ว่า จำเลย เป็น ผู้ กระทำ ผิด จริง ศาล จึง จะ ลงโทษ จำเลยได้ ลำพัง คำ รับสารภาพ นอก ศาล ซึ่ง ใน ชั้น ศาล จำเลย ให้การ ปฏิเสธย่อม ไม่ มี น้ำหนัก เพียงพอ ให้ ศาล รับฟัง ลงโทษ จำเลย ได้ ที่ โจทก์ส่ง คำให้การ พยาน ใน ชั้น สอบสวน ซึ่ง โจทก์ นำ ตัว พยาน มา เบิกความต่อ ศาล ไม่ ได้ นั้น ก็ เห็น ว่า จำเลย ไม่ มี โอกาส ซักค้าน พยานดังกล่าว คำให้การ พยาน ใน ชั้น สอบสวน จึง ไม่ มี น้ำหนัก สรุป แล้วเห็น ว่า พยาน โจทก์ ที่ นำสืบ มา ยัง ไม่ เป็น ที่ ปราศจาก ข้อสงสัยว่า จำเลย เป็น คนร้าย รายนี้ จึง ควร ยก ประโยชน์ แห่ง ความ สงสัยให้ แก่ จำเลย ไม่ จำเป็น ต้อง วินิจฉัย พยาน จำเลย ที่ ศาลอุทธรณ์พิพากษา ยกฟ้อง โจทก์ ศาลฎีกา เห็นพ้อง ด้วย ฎีกา โจทก์ ฟัง ไม ขึ้น
พิพากษา ยืน

Share