คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 494-495/2473

แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

ย่อสั้น

ลักษณพะยานมฤดก ตรัสดีต้องฟ้องศาลทั้งตั้ง ๆ เองไม่ได้ เจ้าของร่วมทั้งตัวแทนต้องพร้อมกันทั้งหมดตัวแทนออกเงินทดรอง เอาใช้กับตัวการได้ อายุความเมื่อไม่ยกขึ้นต่อสู้มา ศาลไม่วินิจฉัย ฟ้องเรียกทรัพย์ทั้งหมด พิจารณาได้ความว่ามีส่วนแบ่ง ศาลแบ่งให้พะยานร่วมเบิกความสมฝ่ายใด ฟังตามนั้น

ย่อยาว

เดิมนั้นมารดาโจทก์และพระยาพิจารณาสามีจำเลยตาย โจทก์และสามีจำเลยกับบุคคลอื่น ๆ ได้ทำหนังสือขึ้นฉะบับหนึ่งแบ่งมฤดกนั้นไว้ต่อกันมีความว่า (๑) ได้มอบทรัพย์ราคา ๖๑๖ ชั่งให้สามีจำเลยจำหน่ายทำบุญศพและจัดการอื่น เหลือแล้วจึงแบ่งปันกัน (๒) ให้สามีจำเลยเก็บค่าเช่าบ้านเรือนโรงที่นั้นเช่าที่วัดปลูกใช้จ่ายบำรุงบ้านที่ไว้ศพนั้นและทำบุญ ต่อมาไฟไหม้บ้านเรือนโรงนั้น สามจำเลยได้จัดการสร้างขึ้นใหม่และเก็บค่าเช่าต่อมา ภายหลังสามีจำเลยตาย พวกที่เซ็นชื่อในหนังสือนั้นบางคนได้ตั้งให้โจทก์เปนผู้จัดการทรัพย์มฤดกนั้น โจทก์จึงฟ้องขอให้จำเลยแสดงบัญชีและมอบทรัพย์บางอย่างที่ยังไม่ได้แบ่ง คือบ้านถนนนั้นให้แก่โจทก์สำนวนหนึ่ง ในอีกสำนวนหนึ่งโจทก์เปนลูกหนี้ของมฤดก สามีจำเลยให้โจทก์เอาที่ดินของโจทก์ที่ใช้หนี้ (แต่ไม่ได้ทำโอนกันที่หอทะเบียน) จำเลยจะยึดถือเอาที่ดินนั้นคนเดียว ขอให้มอบแก่โจทก์ และโจทก์ก็พึ่งมาแถลงในชั้นฎีกาว่า ถ้าศาลจะตัสินแบ่งก็ขอให้โจทก์ได้รับส่วนแบ่งแทนพวกที่ตั้งโจทก์ไปด้วย และโจทก์ค้านมาว่าศาลอุทธรณ์ไม่ควรวินิจฉัยเรี่องอำนาจฟ้องของโจทก์ เพราะจำเลยและโจทก์ไม่คัดค้านแล้ว
ศาลฎีกาเห็นว่า ข้อค้านเรื่องอำนาจฟ้องที่ศาลอุทธรณ์ยกขึ้นวินิจฉัยนั้นฟังไม่ขึ้น เพราะจำเลยยังติดใจอุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลเดิมที่ตัดสินให้ใช้เงิน และโจทก์ยังอุทธรณ์ด้วย และในคดีนี้โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเพราะตามหนังสือตั้งมีความ ๒ ตอน คือ (๑) พระยาพิจารณาเปนตัวแทนของเจ้าของทรัพย์ร่วม (๒) เปนตรัสตีจัดการตามที่ระบุไว้ การที่เจ้าของทรัพย์บางคนมาตั้งโจทก์ภายหลังนั้นไม่ชอบด้วยกฎหมาย ต้องเจ้าของร่วมทุก ๆ คนตั้ง ถ้าจะถือเปนตรัสตีก็ต้องศาลตั้ง ปัญหาต่อไปว่าโจทก์จะมีอำนาจฟ้องโดยส่วนตัวหรือไม่ เห็นว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องในเรื่องบ้านเรือนที่ปลูกอยู่ในที่ของวัด เพราะเจ้าของร่วมได้สละสิ่ทธิในทรัพย์นั้นหมดสิ้นแล้ว แต่ในส่วนการแบ่งทรัพย์นั้นโจทก์มีอำนาจฟ้องได้ ถ้าทรัพย์ยังมีเหลือ ถึงแม้โจทก์จะขอให้คืนทั้งหมด ถ้าปรากฏว่าโจทก์มีสิทธิจะได้แบ่งบางส่วน ศาลก็มีอำนาจแบ่งส่วนได้ตาม พรบ วิธีพิจารณาแพ่ง ม.๓๙ (๒) ส่วนที่โจทก์ขอให้แสดงบัญชีนั้น บังคับไม่ได้ เพราะจำเลยไม่รู้เรื่อง ควรจะขอให้คิดบัญชีทรัพย์ที่จัดการไป แต่เรื่องนี้มีหลักฐานพอที่จะคิดบัญชีได้แล้ว ศาลฎีกาจึงวินิจฉัยต่อไปตามข้อเท็จจริง และให้กองมฤดกใช้เงินแก่จำเลยตาม ม.๘๑๖ และเรื่องนี้จำเลยไม่ได้ยกอายุความขึ้นต่อสู้ ยอมแบ่งที่ถนนนั้นให้ ศาลจึงไม่กล่าวถึงอายุความตาม ม.๑๙๓ เรื่องที่โจทก์ขอรับส่วนของคนอื่นด้วยนั้น เห็นว่าหนังสือมอบหมายของพวกนั้นประสงค์แต่จะให้โจทก์เปนผู้แทนพระยาพิจารณา ไม่ใช่ให้อำนาจฟ้องเรียกทรัพย์ในส่วนตัว
ส่วนสำนวนที่ ๒ นั้นโจทก์สละสิทธิหมดแล้ว ถึงแม้โจทก์ก็ใช้หนี้โดยทำไม่ถูกต้องตามกฎหมาย และพระยาพิจารณาได้ปกครองเปนเจ้าของมาเกิน ๒๐ ปี หนังสือที่โจทก์เขียนโอนที่+ใช้หนี้นั้นเปนหลักฐานรับรองความจริงอันหนึ่ง และคำพะยานร่วมเบิกความสนับสนุนสมจำเลย จึงฟังตามข้อต่อสู้ของจำเลย จึงตัดสินให้ขายทอดตลาดที่ดินถนนนั้น และให้หักค่าธรรมเนียมตามที่เสียกันมาโดยคิดทุนทรัพย์จากราคาที่ดิน และค่าทนายเหลือเท่าใดแบ่งเปน ๗ ส่วน ให้โจทก์ ๑ ส่วน นอกนั้นคืนจำเลย

Share