แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา
ย่อสั้น
++ เรื่อง ขับไล่ ++
++
++ ทดสอบการทำงานในระบบ CW เพื่อค้นหาข้อมูลทาง online ++
++ ย่อข้อกฎหมายอย่างไม่เป็นทางการ
++ ขอชุดตรวจได้ที่งานย่อข้อกฎหมายระบบ CW โถงกลางชั้น 3 ++
++
++
++ การที่จะเป็นโจทก์ร่วมกันได้หรือไม่เป็นเพียงวิธีการดำเนินคดีไม่ใช่อำนาจฟ้อง จึงมิได้เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ++
++
++
++ ข้อเท็จจริงที่คู่ความมิได้โต้แย้งกันฟังเป็นยุติได้ว่า
++ ที่ดินพิพาทโฉนดเลขที่ 40719,40720 และ 40721 พร้อมสิ่งปลูกสร้างเป็นบ้านไม้ปลูกอยู่ในที่ดินแปลงละ 1 หลัง มีชื่อโจทก์ที่ 1 ถึงที่ 3 เป็นเจ้าของคนละหนึ่งโฉนดตามลำดับ ส่วนจำเลยเป็นสามีของนางสายสุนีย์ สุวรรณทัต ได้พักอาศัยอยู่ในที่ดินและบ้านพิพาทตลอดมา
++
++ ปัญหาข้อกฎหมายที่ต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยในข้อแรกมีว่าฟ้องโจทก์เคลือบคลุมหรือไม่ และการที่โจทก์ทั้งสามรวมฟ้องจำเลยเป็นคดีเดียวกัน ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่นั้น
++
++ ศาลฎีกาเห็นว่า โจทก์บรรยายฟ้องถึงข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาแล้วว่า โจทก์ทั้งสามเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดเลขที่ 40719, 40720และ 40721 พร้อมสิ่งปลูกสร้างเป็นบ้านไม้คนละหนึ่งหลัง ซึ่งปลูกอยู่ในที่ดินของโจทก์แต่ละคนตามลำดับ จำเลยเข้ามาอาศัยอยู่ในบ้านและที่ดินดังกล่าวโดยความยินยอมของโจทก์ ต่อมาโจทก์ไม่ประสงค์ให้จำเลยอาศัยอยู่ต่อไป ได้บอกกล่าวให้จำเลยออกไปแล้ว แต่จำเลยเพิกเฉยซึ่งสภาพแห่งข้อหา และคำขอบังคับก็คือ ให้ขับไล่และให้จำเลยใช้ค่าเสียหายนับแต่วันฟ้อง จึงเป็นคำฟ้องที่ครบถ้วนตามที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 วรรคสอง กำหนดไว้ ไม่จำต้องบรรยายว่า โจทก์ได้กรรมสิทธิ์ที่ดินและบ้านพิพาทมาอย่างใด ตั้งแต่เมื่อใด ได้บอกกล่าวให้จำเลยออกไปตั้งแต่เมื่อใด แม้จะถือว่าเป็นวันที่โจทก์กล่าวหาว่าจำเลยทำละเมิด แต่จำเลยยังคงอยู่ในที่ดินและบ้านพิพาทตลอดมา และโจทก์ขอให้จำเลยใช้ค่าเสียหายนับแต่วันฟ้อง ไม่ใช่วันทำละเมิด วันเวลาเช่นว่านั้นจึงเป็นเพียงรายละเอียดที่จะนำสืบในชั้นพิจารณา ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
++ ส่วนฎีกาข้อที่ว่า โจทก์แต่ละคนเป็นเจ้าของสิ่งปลูกสร้างและที่ดินคนละแปลง แต่ร่วมกันฟ้องจำเลยเป็นคดีเดียวกันชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งหรือไม่นั้น
++
++ เห็นว่า แม้จำเลยจะให้การต่อสู้ไว้แล้วก็ตาม แต่เมื่อศาลชั้นต้นมิได้กำหนดเป็นประเด็นไว้ จำเลยก็มิได้โต้แย้ง จึงเป็นข้อกฎหมายที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น การที่จะเป็นโจทก์ร่วมกันได้หรือไม่เป็นเพียงวิธีการดำเนินคดีไม่ใช่อำนาจฟ้อง จึงมิได้เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน จำเลยยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาไม่ได้ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
++
++ ปัญหาต่อไปตามฎีกาของจำเลยมีว่า บ้านและที่ดินพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ทั้งสามหรือของจำเลย และค่าเสียหายมีเพียงใด คดีนี้โจทก์ฟ้องว่าโจทก์แต่ละคนต่างมีกรรมสิทธิ์ในบ้าน และที่ดินคนละโฉนดแยกกันเป็นส่วนสัด ซึ่งตามรูปคดีโจทก์แต่ละคนอาจฟ้องตามส่วนของตนได้โดยลำพัง แม้จะฟ้องรวมกันมาเพราะถือว่าเคยเป็นที่ดินแปลงเดียวกัน แต่ได้แยกทุนทรัพย์ที่โจทก์แต่ละคนเรียกร้องเป็นจำนวนเท่าใดมาชัดเจน ฟ้องแย้งของจำเลยก็ได้แยกทุนทรัพย์ที่เรียกร้องจากโจทก์แต่ละคนมาชัดเจนเช่นกัน จึงต้องพิจารณาทุนทรัพย์ของคดีสำหรับฟ้องและฟ้องแย้งแต่ละรายแยกกัน เมื่อปรากฏว่าราคาทรัพย์สินที่พิพาทตามฟ้องและฟ้องแย้งแต่ละรายไม่เกินสองแสนบาท จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง
++ จำเลยฎีกาว่า จำเลยเข้าไปครอบครองอาศัยในบ้านและที่ดินพิพาทในฐานะสามีโดยชอบด้วยกฎหมายของนางสายสุนีย์ สุวรรณทัต ไม่ใช่ด้วยความยินยอมของโจทก์ บ้านและที่ดินพิพาทตกเป็นของจำเลยโดยการครอบครองปรปักษ์ และค่าเสียหายของโจทก์แต่ละคนน้อยกว่าที่ศาล-อุทธรณ์กำหนด เป็นฎีกาในข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวข้างต้น ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ย่อยาว
โจทก์ฟ้องและแก้ไขคำฟ้องว่า โจทก์ทั้งสามเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดเลขที่ ๔๐๗๑๙, ๔๐๗๒๐ และ ๔๐๗๒๑ ตำบลบ้านช่างหล่อ (บางเสาธง) อำเภอบางกอกน้อย กรุงเทพมหานครตามลำดับ พร้อมสิ่งปลูกสร้างในที่ดิน โดยมีจำเลยเป็นผู้อาศัยอยู่ในที่ดินและบ้านของโจทก์ดังกล่าว ต่อมาโจทก์ทั้งสามบอกกล่าวให้จำเลยขนย้ายออกไป แต่จำเลยเพิกเฉย ทำให้โจทก์เสียหาย เพราะขาดประโยชน์จากการที่โจทก์แต่ละคนสามารถนำที่ดินและบ้านออกให้ผู้อื่นเช่า จะได้ค่าเช่าเดือนละ ๒,๐๐๐ บาท ๔,๐๐๐ บาท และ๒,๐๐๐ บาท ตามลำดับ ขอให้บังคับจำเลยและบริวารออกจากบ้านเลขที่ ๒๓๑ ตรอกบ้านช่างหล่อ เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานครและที่ดินของโจทก์โฉนดเลขที่ ๔๐๗๑๙, ๔๐๗๒๐ และ ๔๐๗๒๑ ตำบลบ้านช่างหล่อ (บางเสาธง) อำเภอบางกอกน้อย กรุงเทพมหานครกับให้จำเลยใช้ค่าเสียหายเดือนละ ๒,๐๐๐ บาท แก่โจทก์ที่ ๑ และที่ ๓ และเดือนละ ๔,๐๐๐ บาท แก่โจทก์ที่ ๒ นับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจำเลยจะขนย้ายทรัพย์สินและบริวารออกไป
จำเลยยื่นคำให้การและฟ้องแย้งว่า ฟ้องโจทก์ทั้งสามเคลือบคลุม ที่โจทก์ทั้งสามฟ้องจำเลยเป็นคดีเดียวกันไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ที่ดินและบ้านพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยเนื่องจากจำเลยครอบครองเป็นเจ้าของมาเกิน ๑๐ ปีแล้วนอกจากนี้บ้านพิพาทมีสภาพเก่าหากให้เช่าจะได้ค่าเช่าไม่เกินเดือนละ๕๐๐ บาท ๘๐๐ บาท และ ๔๐๐ บาท ตามลำดับ ขอให้ศาลยกฟ้องโจทก์และบังคับโจทก์ทั้งสามจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดเลขที่ ๔๐๗๑๙,๔๐๗๒๐ และ ๔๐๗๒๑ ตำบลบ้านช่างหล่อ (บางเสาธง) อำเภอบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร ให้แก่จำเลย หากไม่ปฏิบัติตามให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของโจทก์ และให้โจทก์ส่งมอบโฉนดที่ดินแก่จำเลย
โจทก์ทั้งสามให้การแก้ฟ้องแย้งว่า เดิมที่ดินพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของนายสาคร เอมโอชะ เมื่อนายสาครถึงแก่ความตายแล้ว ที่ดินพิพาทเป็นมรดกตกได้แก่โจทก์ทั้งสามและนางสายสุนีย์สุวรรณทัต กับนางจำนง สมุทรคีรี ต่อมาวันที่ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๒๑นางสายสุนีย์ได้ยกส่วนของตนให้แก่โจทก์ที่ ๒ สำหรับที่ดินส่วนของนางจำนงได้ตกทอดเป็นมรดกแก่นายไพบูลย์ สมุทรคีรี และนายไพบูลย์ยกที่ดินส่วนของตนดังกล่าวให้แก่โจทก์ทั้งสาม ต่อมาเดือนตุลาคม ๒๕๓๓โจทก์ทั้งสามจึงแบ่งแยกกรรมสิทธิ์รวมเป็นที่ดินโฉนดที่ ๔๐๗๑๙, ๔๐๗๒๐และ ๔๐๗๒๑ พร้อมสิ่งปลูกสร้าง จำเลยเป็นเพียงผู้อาศัยในที่ดินดังกล่าวโดยความยินยอมของโจทก์ทั้งสาม ขอให้ยกฟ้องแย้งของจำเลย
ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้ว พิพากษาให้จำเลยขนย้ายบริวารและทรัพย์สินออกจากบ้านเลขที่ ๒๓๑ และที่ดินโฉนดเลขที่ ๔๐๗๑๙,๔๐๗๒๐ และ ๔๐๗๒๑ ตำบลบ้านช่างหล่อ (บางเสาธง) อำเภอบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร ของโจทก์ทั้งสาม ให้จำเลยใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ที่ ๑ และโจทก์ที่ ๓ คนละ ๑,๐๐๐ บาท ต่อเดือนกับใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ที่ ๒ เดือนละ ๒,๐๐๐ บาท นับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะขนย้ายออกจากที่ดินและบ้านพิพาท กับให้จำเลยใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ โดยกำหนดค่าทนายความ ๒,๐๐๐ บาทสำหรับฟ้องแย้งของจำเลยให้ยก
จำเลยอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน ให้จำเลยใช้ค่าทนายความชั้นอุทธรณ์แทนโจทก์ทั้งสาม ๑,๕๐๐ บาท
จำเลยฎีกา
ศาลฎีกาตรวจสำนวนประชุมปรึกษาแล้ว ข้อเท็จจริงที่คู่ความมิได้โต้แย้งกันฟังเป็นยุติได้ว่า ที่ดินพิพาทโฉนดเลขที่ ๔๐๗๑๙,๔๐๗๒๐ และ ๔๐๗๒๑ พร้อมสิ่งปลูกสร้างเป็นบ้านไม้ปลูกอยู่ในที่ดินแปลงละ ๑ หลัง มีชื่อโจทก์ที่ ๑ ถึงที่ ๓ เป็นเจ้าของคนละหนึ่งโฉนดตามลำดับ ส่วนจำเลยเป็นสามีของนางสายสุนีย์ สุวรรณทัต ได้พักอาศัยอยู่ในที่ดินและบ้านพิพาทตลอดมา ปัญหาข้อกฎหมายที่ต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยในข้อแรกมีว่าฟ้องโจทก์เคลือบคลุมหรือไม่ และการที่โจทก์ทั้งสามรวมฟ้องจำเลยเป็นคดีเดียวกัน ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่นั้นเห็นว่า โจทก์บรรยายฟ้องถึงข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาแล้วว่าโจทก์ทั้งสามเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดเลขที่ ๔๐๗๑๙, ๔๐๗๒๐และ ๔๐๗๒๑ พร้อมสิ่งปลูกสร้างเป็นบ้านไม้คนละหนึ่งหลัง ซึ่งปลูกอยู่ในที่ดินของโจทก์แต่ละคนตามลำดับ จำเลยเข้ามาอาศัยอยู่ในบ้านและที่ดินดังกล่าวโดยความยินยอมของโจทก์ ต่อมาโจทก์ไม่ประสงค์ให้จำเลยอาศัยอยู่ต่อไป ได้บอกกล่าวให้จำเลยออกไปแล้ว แต่จำเลยเพิกเฉยซึ่งสภาพแห่งข้อหา และคำขอบังคับก็คือ ให้ขับไล่และให้จำเลยใช้ค่าเสียหายนับแต่วันฟ้อง จึงเป็นคำฟ้องที่ครบถ้วนตามที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๑๗๒ วรรคสอง กำหนดไว้ ไม่จำต้องบรรยายว่า โจทก์ได้กรรมสิทธิ์ที่ดินและบ้านพิพาทมาอย่างใด ตั้งแต่เมื่อใด ได้บอกกล่าวให้จำเลยออกไปตั้งแต่เมื่อใด แม้จะถือว่าเป็นวันที่โจทก์กล่าวหาว่าจำเลยทำละเมิด แต่จำเลยยังคงอยู่ในที่ดินและบ้านพิพาทตลอดมา และโจทก์ขอให้จำเลยใช้ค่าเสียหายนับแต่วันฟ้อง ไม่ใช่วันทำละเมิด วันเวลาเช่นว่านั้นจึงเป็นเพียงรายละเอียดที่จะนำสืบในชั้นพิจารณา ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม ส่วนฎีกาข้อที่ว่าโจทก์แต่ละคนเป็นเจ้าของสิ่งปลูกสร้างและที่ดินคนละแปลง แต่ร่วมกันฟ้องจำเลยเป็นคดีเดียวกันชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งหรือไม่นั้น เห็นว่าแม้จำเลยจะให้การต่อสู้ไว้แล้วก็ตาม แต่เมื่อศาลชั้นต้นมิได้กำหนดเป็นประเด็นไว้ จำเลยก็มิได้โต้แย้ง จึงเป็นข้อกฎหมายที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น การที่จะเป็นโจทก์ร่วมกันได้หรือไม่เป็นเพียงวิธีการดำเนินคดีไม่ใช่อำนาจฟ้อง จึงมิได้เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน จำเลยยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาไม่ได้ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๒๔๙ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ปัญหาต่อไปตามฎีกาของจำเลยมีว่า บ้านและที่ดินพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ทั้งสามหรือของจำเลย และค่าเสียหายมีเพียงใด คดีนี้โจทก์ฟ้องว่าโจทก์แต่ละคนต่างมีกรรมสิทธิ์ในบ้าน และที่ดินคนละโฉนดแยกกันเป็นส่วนสัด ซึ่งตามรูปคดีโจทก์แต่ละคนอาจฟ้องตามส่วนของตนได้โดยลำพัง แม้จะฟ้องรวมกันมาเพราะถือว่าเคยเป็นที่ดินแปลงเดียวกันแต่ได้แยกทุนทรัพย์ที่โจทก์แต่ละคนเรียกร้องเป็นจำนวนเท่าใดมาชัดเจนฟ้องแย้งของจำเลยก็ได้แยกทุนทรัพย์ที่เรียกร้องจากโจทก์แต่ละคนมาชัดเจนเช่นกัน จึงต้องพิจารณาทุนทรัพย์ของคดีสำหรับฟ้องและฟ้องแย้งแต่ละรายแยกกัน เมื่อปรากฏว่าราคาทรัพย์สินที่พิพาทตามฟ้องและฟ้องแย้งแต่ละรายไม่เกินสองแสนบาท จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๒๔๘ วรรคหนึ่งจำเลยฎีกาว่าจำเลยเข้าไปครอบครองอาศัยในบ้านและที่ดินพิพาทในฐานะสามีโดยชอบด้วยกฎหมายของนางสายสุนีย์ สุวรรณทัต ไม่ใช่ด้วยความยินยอมของโจทก์ บ้านและที่ดินพิพาทตกเป็นของจำเลยโดยการครอบครองปรปักษ์ และค่าเสียหายของโจทก์แต่ละคนน้อยกว่าที่ศาลอุทธรณ์กำหนด เป็นฎีกาในข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวข้างต้น ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
พิพากษายืน ให้จำเลยใช้ค่าทนายความชั้นฎีกา ๑,๕๐๐ บาทแทนโจทก์.