แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา
ย่อสั้น
บิดามารดาพิพาทกันเรื่องบุตรจึงทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันในศาลให้บุตรอยู่ในความปกครองของจำเลยตลอดชีวิตของจำเลย และมารดาเด็กยังได้จดทะเบียนเด็กให้เป็นบุตรบูญธรรมของจำเลยอีก แต่ปรากฎว่าการจดทะเบียนรับบุตรบูญธรรมของจำเลยขาดความยินยอมของสามีจำเลย จึงไม่สมบูรณ์ตาม ป.ม.แพ่งฯมาตรา 1584 และ พ.ร.บ.จดทะเบียนครอบครัว 2478 มาตรา 22 ดังนี้ จึงไม่ทำให้จำเลยมีอำนาจปกครองเด็กและจำเลยเป็นบุคคลภายนอกคดีที่บิดามารดาเด็กยอมความกัน จำเลยจึงไม่ได้สิทธิตามกฎหมายอย่างไร ฉะนั้นจำต้องคืนเด็กให้แก่บิดามารดาเด็กนั้น
ย่อยาว
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์ทั้งสองเป็นบิดามารดา ด.ญ.แป๋ว แต่โจทก์ทั้งสองมิได้จดทะเบียนสมรสกันตามกฎหมายโจทก์ทั้งสองพิพาทกันเรื่องบุตรในคดีหนึ่ง ได้ทำสัญญาประนีประนอมกัน ให้ ด.ญ.แป๋วอยู่ในความปกครองของจำเลยตลอดชีวิตของจำเลย บัดนี้โจทก์ทั้งสองไม่มีความประสงค์ให้ ด.ญ.แป๋วอยู่กับจำเลยต่อไป จำเลยไม่ยอมส่งคืน โจทก์จึงขอให้ศาลบังคับ
จำเลยต่อสู้ว่า โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกคืน และโจทก์ที่ ๒ ได้จดทะเบียน ด.ญ.แป๋วเป็นบุตรบูญธรรมของจำเลยแล้ว
ศาลชั้นต้น พิพากษาให้จำเลยส่งตัว ด.ญ.แป๋วคืน
จำเลยอุทธรณ์, ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน
จำเลยฎีกา
ศาลฎีกาเห็นว่า กาจดทะเบียนรับบุตรบูญธรรมของจำเลยไม่สมบูรณ์ เพราะขาดความยินยอมของคู่สมรสที่ยังมีตัวอยู่ และมิได้วิกลจริต ไม่เป็นไปตามป.ม.แพ่งฯมาตรา ๑๕๘๔ ประกอบด้วย พ.ร.บ.จดทะเบียนคอรบครัว พ.ศ.๒๔๗๘ มาตรา ๒๒ การที่โจทก์ที่ ๑ กับโจทก์ที่ ๒ ทำยอมกันในศาลให้ ด.ญ.แป๋วอยู่ในความปกครองของจำเลยจนตลอดชีวิตของจำเลยนั้น ก็มิใช่การยกอำนาจปกครองให้แก่จำเลย เพราะจำเลยมิได้เข้ามาพิพาทในคดีด้วย หาอาจทำให้ำเลยซึ่งเป็นบุคคลภายนอกเกิดมีสิทธิขึ้นตามกฎหมายอย่างไรไม่ เมื่อจำเลยไม่มีสิทธิอย่างไรที่จะอ้างอำนาจปกครองได้ตามกฎหมายแล้วจำเลยก็ต้องส่งตัวเด็นคืนให้แก่บิดามารดาผู้ใช้อำนาจปกครอง
จึง พิพากษายืน