แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา
ย่อสั้น
การอนุญาตให้ฎีกาหรือรับรองฎีกาตาม ป.วิ.อาญามาตรา 221 นั้นจะต้องเป็นคดีที่มีปัญหาข้อเท็จจริงดั่งที่บัญญัติไว้ ในมาตรา 218, 219 และ 220
ฉะนั้น เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษาให้เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นส่งตัวจำเลยไปยังโรงเรียนหรือสถานฝึกและอบรม ซึ่งต้อง ห้ามมิให้อุทธรณ์ฎีกาในเรื่องเปลี่ยนโทษจำคุกเป็นส่งตัวไปยังโรงเรียนหรือสถานฝึกและอบรมนี้ ตาม พ.ร.บ.จัดตั้ง ศาลคดีเด็กและเยาวชน พ.ศ. 2494 มาตรา 27 – 29 จำเลยย่อมฎีกาในปัญหาดังกล่าวไม่ได้ และแม้อธิบดีศาลคดี
เด็กและเยาวชนกลางจะอนุญาตให้ฎีกาได้ ก็ไม่เป็นฎีกาที่ศาลฎีกาจะรับวินิจฉัยให้.
ย่อยาว
คดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า าจำเลยมีความผิดตาม ก.ม.ลักษณะอาญามาตรา ๒๔๙ – ๖๐ และ ๒๖๘ ให้จำคุก ๒ ปี จำเลยมี อายุ ๑๗ ปีเศษ ลดโทษตามมาตรา ๕๘ ทวิ กึ่งหนึ่ง คงเหลือ ๑ ปี แต่ให้รอการลงอาญาไว้ภายใน ๕ ปี ตามมาตรา ๔๑
ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ให้เปลี่ยนโทษจำคุก ๑ ปี เป็นส่งตัวจำเลยไปยังโรงเรียนหรือสถานฝึกและอบรมมีกำหนด ๑ ปี ตาม พ.ร.บ.จัดตั้ง ศาลคดีเด็กและเยาวชน มาตรา ๓๑ ข้อ๒ ของกลางริบ
จำเลยฎีกาขอให้รอการลงอาญา โดยมีอธิบดีศาลคดีเด็กและเยาวชนกลางอนุญาตให้ฎีกาได้ตาม ป.วิ.อาญามาตรา ๒๒๑
ศาลฎีกา เห็นว่าการอนุญาตให้ฎีกาหรือรับรองฎีกาตาม ป.วิ.อาญามาตราา ๒๒๑ นั้น จะต้องเป็นคดีที่มีปัญหาข้อเท็จจริง ดั่งที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๒๑๘, ๒๑๙ และ ๒๒๐ แต่คดีนี้ศาลอุทธรณ์แผนกคดีเด็กและเยาวชนตัดสินให้ส่งตัวจำเลยไปยัง โรงเรียนหรือสถานฝึกและอบรมซึ่งไม่มีปัญหาข้อเท็จจริงเลยทั้งกรณีย์เช่นนี้ตาม พ.ร.บ.จัดตึ้งศาลคดีเด็กและเยาวชน พ.ศ.๒๔๙๔ มาตรา ๒๗ – ๒๙ ห้ามไม่ให้คู่ความอุทธรณ์ฎีกา ฎีกาของจำเลยจึงต้องห้ามไม่รับวินิจฉัย จึงให้ยกฎีกาจำเลย.