แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา
ย่อสั้น
หมิ่นประมาทเขาทางหนังสือ แม้ในหนังสือจะมิได้กล่าวเจาะจงถึงผู้เสียหายโดยตรง คือกล่าวว่าเป็นการสุดแสนจะ ทนดูพวกมหาดไทยเล่นสกปรกต่อไป ฯลฯ นั้น เมื่อทางพิจารณาได้ความว่า พวกมหาดไทยนั้นจำเลยหมายถึงผู้เสีย หายดังนี้ จำเลยก็ย่อมมีผิดฐานหมิ่นประมาทผู้เสียหาย.
การที่จะได้รับยกเว้นตามมาตรา 283 นั้น จะต้องเป็นการแสดงความคิดเห็นโดยสุจริต อันต้องด้วยลักษณะอย่างใด อย่างหนึ่งตามมาตรา 283 ถ้าเป็นเรื่องใส่ความโดยปราศจากความจริงแล้วไม่เป็นข้อแก้ตัว./
ย่อยาว
โจทก์ฟ้องหาว่า จำเลยบังอาจใส่ความหมิ่นประมาททนายเคลื่อน ปลัดจังหวัดชุมพร กับนายกลับ จ่าจังหวัดชุมพร ฯลฯ ขอให้ลงโทษ
จำเลยปฏิเสธ
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตาม ก.ม.ลักษณะอาญา มาตรา ๒๘๓, ๒๘๔ ให้ลงโทษตามมาตรา ๒๘๔ ปรับ ๒๐๐ บาท.
โจทก์,จำเลยอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน.
จำเลยฎีกาในข้อกฎหมาย
ศาลฎีกาพิจารณาแล้ว ได้ความว่าจำเลยทำหนังสือยื่นต่อข้าหลวงประจำจังหวัด หนังสือนั้นมีข้อความว่า “หนังสือของ ข้าพเจ้าฉะบับนี้ จนบัดนี้ + การคลังข้าวไม่ตอบ และเมื่อข้าวที่กรุงเทพฯ ส่งมาก็เที่ยววิ่งเต้นหาพาหนะขนส่งเสียเองโดย ราคาสูงผิดธรรมดา ข้าหลวงทราบเรื่องก็ไม่ว่า กลับสนับสนุน เป็นการสุดแสนจะทนดูพวกมหาดไทยเล่นสกปรกต่อไป แต่ข้าพเจ้าไม่มีอำนาจอะไร จึงต้องระงับไว้เพียงนี้ ขืนพูดหรือทำไป ภัยก็จะมาถึงตัว” ศาลฎีกาเห็นว่า จริงอยู่ข้อความ ในหนังสือของจำเลยจะมิได้กล่าวเจาะจงถึงตัวนายเคลื่อนนายกลับโดยตรง แต่ที่จำเลยว่าพวกมหาดไทย นั้น ทาง พิจารณาได้ความว่า จำเลยหมายถึงนายเคลื่อนนายกลับผู้เสียหายในคดีนี้เอง ฉะนั้นคนทั้ง ๒ นี้ จึงเป็นผู้เสียหายใน เรื่องนี้.
ส่วนในข้อที่จะได้รับความยกเว้นโทษฐานทำหมิ่นประมาทตาม ก.ม.ลักษณะอาญา มาตรา ๒๘๓ นั้น ความหมายของมาตรา นี้จะต้องได้ความว่า จำเลยได้แสดงความคิดเห็นของจำเลยโดยสุจริต อันต้องด้วยลักษณะอย่างหนึ่งอย่างใดใน ๔ ประการ ดังบัญญัติไว้ แต่ข้อเท็จจริงได้ความว่า จำเลยกล่าวใส่ความเอาผู้เสียหาย ดังโจทก์ระบุข้อความมาตรานี้คิดเห็นโดยสุจริต ไม่ จึงไม่ได้รับความยกเว้น.
จึงพิพากษายืน ให้ยกฎีกาจำเลย.