คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 627/2484

แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

ย่อสั้น

ในคดีที่หาว่าหมิ่นประมาทในเวลาเบิกความเป็นพะยานในศาลนั้น ศาลต้องดูสำนวนเรื่องก่อนประกอบการพิจารณาถ้าปรากฏว่าไม่ใช่คำเบิกความนอกเรื่อง ไม่ใช่จงใจหมิ่นประมาท ก็ไม่เป็นความผิด

ย่อยาว

คดีนี้ได้ความว่าจำเลยถูกอ้างเป็นพะยานโจทก์ในคดีเรื่องลักทรัพย์หรือรับของโจร จำเลยได้เบิกความว่า นายสิบตำรวจโทประเสริฐรักษาสุขพูดกับนายแดงว่า ถ้าเป็นพะยานเบิกความทิ่มตำจำเลยจะให้เงิน ๔ บาท ดจทก์จึงฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามกฎหมายลักษระอาญามาตรา ๒๘๒,๑๑๖
จำเลยให้การรับสารภาพ
ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องโจทก์
โจทก์ฎีกาว่า เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพแล้ว ก็ลงโทษจำเลยได้ ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าตามมาตรา ๑๓๖ แห่งวิธีพิจารณาความอาญาบัญญัติเพียงว่าให้ศาลพิพากษาได้ส่วนจำเลยจะมีดทษหรือไม่ต้องแล้วแต่การกระทำของจำเลยที่โจทก์บรรยายมาในฟ้องว่าจะเป็นความผิดทางอาญาหรือไม่ ส่วนข้อที่โจทก์คัดค้านว่าที่จำเลยเบิกความเป็นพะยานศาลในคดีก่อนเป็นเรื่องนอกประเด็นจำเลยจงใจกล่าวคำหมิ่นประมาทจึงควรมีความผิดนั้น เห็นว่าในฟ้องของโจทก์ได้บรรยายอ้างสำนวนเรื่องลักทรัพย์หรือรับของโจร ซึ่งเป็นคดีที่ทำให้เกิดฟ้องร้องคดีนี้ขึ้น ตามคำเบิกความของจำเลยในคดีนี้ เมื่ออ่านรวมกันปรากฏชัดว่าไม่ใช่คำกล่าวนอกเรื่อง จำเลยไม่ได้จงใจหมิ่นประมาทผู้เสียหาย จำเลยจงใจเบิกความจะให้ศาลทราบความจริงเพื่อจะให้คำเบิกความของผู้เสียหายซึ่งเป็นพะยานโจทก์ในคดีเดียวกันเสื่อมความเชื่อฟัง โดยมาตรา ๔๓ กฎหมายลักษณะอาญาจำเลยก็ไม่ควรได้รับอาญาอย่างใดแม้จำเลยจะได้ให้การสารภาพว่าได้เบิกความไว้เช่นนั้นจริง จึงพิพากษายืน.

Share