คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 622/2477

แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

ย่อสั้น

หลักวินิจฉัย คดีพิพาทเรื่องเครื่องหมาย+ขอจดทะเบียนไม่ใช่วินิจฉัยแต่เพียงว่าเครื่องหมายทั้งสองจะต้องเหมือนกันทุกสิ่งทุกอย่าง แต่ต้องวินิจฉัย+เครื่องหมายนั้นชวนให้เห็นเป็นลักษณทำนองเดียวกัน และเมื่อเทียบเคียงแล้วมีลักษณแตกต่างกันบ้างจะชี้ขาด+ไม่เหมือนกันไม่ได้ ต้องเทียบให้เห็นลักษณในเวลาใช้ตามปกติโดยสุจริตประกอบกับประเภทสินค้าที่ใช้เครื่องหมายนั้น+สภาพแห่งท้องตลาด พ.ร.บ.ฎีกาอุทธรณ์ + บังคับยี่ปุ่นเป็นคู่ความฎีกาได้ฉะเพาะปัญหาข้อกฎหมาย

ย่อยาว

ได้ความว่าเมื่อวันที่ ๒๒ กันยายน พ.ศ.๒๔๗๕ โจทก์ยื่นคำขอต่อนายทะเบียน ขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้ารูปนกพิลาบมีคำอังกฤษว่า”+ในสินค้าจำพวก ๔๒ สำหรับนมข้นอย่างเดียว ฝ่ายจำเลยยื่นคำขอเมื่อวันที่ ๘ ตุลาคม พ.ศ.๒๔๗๔ ขอจดทะเบียนการค้ารูปนกนางนวลทะเลยมีคำอังกฤษว่า”+ในสินค้าจำพวก ๔๒ สำหรับวัดถุที่ใช้เป็นอาหารหรือเครื่องปรุงอาหารด้วย โดยมาตรา ๑๗ แห่ง พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.๒๔๗๔ นายทะเบียนได้แจ้งให้ทั้ง ๒ ฝ่ายทราบว่า ถ้าภายใน ๓ เดือนมิได้รับแจ้งความว่าทั้งสองฝ่ายได้ตกลงกันหรือได้นำคดีสู่ศาลแล้ว จะได้รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลย โจทก์จึงขอให้ศาลสั่งว่าเครื่องหมายของโจทก์ไม่เหมือนกับของจำเลย แลให้สั่งนายทะเบียนรับจดทะเบียน
ศาลแพ่งเทียบเคียงเครื่องหมายแล้วพิพากษาให้โจทก์ชนะคดีโดยชี้ขาดว่าจะหาลักษณอันคล้ายคลึงกันจนถึงกับเป็นการลวงสาธารณชนหาได้ไม่
ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า รูปนกที่มีสีขาวนั้นเป็นส่วนสำคัญของเครื่องหมายทั้ง ๒ ส่วนข้อผิดเพี้ยนต่างกัน คือการวางท่าตัวอักษรแลสีพื้นนั้นเห็นว่าไม่น่าจะถือว่าเป็นเหตุให้ประชาชนเห็นแยกเป็นคนละอันได้ เครื่องหมายของโจทก์จึงละม้ายคล้ายคดีเ+ของจำเลยโดยใกล้ชิด เป็นการลวงสาธารณชนได้ จึงพิพากษายกฟ้อง
ศาลฎีกากล่าวว่า คู่ความฎีกาได้ฉะเพาะปัญหาข้อกฎหมาย และวินิจฉัยว่าสำหรับคดีเช่นนี้เป็นหน้าที่ของศาลที่จะวินิจฉัยใช่แต่เพียงว่าเครื่องหมายทั้ง ๒ จะต้องเหมือนกันทุกสิ่งทุกอย่างหามิได้ แต่ต้องวินิจฉัยว่า เครื่องหมายนั้นชวนให้เห็นว่า เป็นลักษณทำนองเดียวกันด้วย จะชี้ขาดว่าเครื่องหมายไม่เหมือนกันโดยเอามาเทียบเคียงแล้วมีลักษณแตกต่างกันบ้างนั้นไม่ได้ จำต้องเอามาเปรียบเทียบให้เห็นถึงลักษณในเวลาใช้อยู่ตามปกติและใช้กันโดยสุจริต ถึงประเภทสินค้าที่ใช้เครื่องหมายประจำและถึงสภาพแห่งท้องตลาดคือแยกปริมาณที่ประชาชนจะพึงซื้อ และเห็นว่าไม่มีเหตุให้เห็นว่าศาลอุทธรณ์วินิจฉัยถึงความคล้ายคลึงระวางเครื่องหมายทั้ง ๒ นั้นโดยมิได้อาศัยพะยานหลักฐานที่ปรากฎต่อหน้าศาล จึงพิพากษายืน

Share