แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา
ย่อสั้น
คดีต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตามกฎหมายข้างบนนี้ย่อมกินความถึงคดีมีคำสั่งด้วยเพราะมีลักษณวิธีการดำเนินเช่นเดียวกับคำพิพากษาคดีที่ศาลเดิมไต่สวนพะยานชั้นมูลฟ้องแล้วเห็นว่าคดีไม่มีมูลจึงให้ยกฟ้องโจทก์นั้นถ้าเป็นคดีมีโทษต้องด้วยข้อห้ามของพระราชบัญญัติลักษณอุทธรณ์แล้วโจทก์อุทรธรณ์ในข้อเท็จจริงไม่ได้
ย่อยาว
คดีนี้โจทก์ฟ้องว่าจำเลยยุยงเลี้ยมสอนจ้างให้ ข.เบิกความเท็จต่อศาลขอให้ลงโทษตามกฎหมายลักษณอาชญามาตรา ๑๕๕-๑๗๔-๑๗๕-๖๔
ศาลเดิมไต่สวนมูลฟ้องแล้วเห็นว่าพะยานโจทก์เบิกความไม่น่าเชื่อว่าจำเลยได้ทำผิดจึงสั่งให้ยกฟ้องโจทก์ไม่รับไว้พิจารณา
โจทก์อุทธรณ์ข้อเท็จจริงศาลเดิมสั่งไม่รับอุทธรณ์เพราะคดีต้องห้ามตาม ม.๓ แห่งพ.ร.บ. อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ยืน
โจทก์ฎีกาว่าคดีไม่ต้องห้ามตาม ม. ๓ เพราะเป็นคำสั่งชั้นไต่สวนมูลฟ้อง ไม่ใช่คำพิพากษา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าตามพระราชบัญญัติลักษณอุทธรณ์ ม.๓ ซึ่งห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงนั้นกินความถึงคำสั่งด้วยเพราะจะเป็นคำสั่งหรือคำพิพากษาก็มีลักษณวิธีการเช่นเดียวกัน ฉะนั้นเมื่อศาลเดิมไต่สวนฟังข้อเท็จจริงว่าคดีโจทก์ไม่มีมูลแล้ว โจทก์อุทธรณ์ในข้อเท็จจริงไม่ได้ จึงตัดสินยืน