แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา
ย่อสั้น
ฟ้อง แปลฟ้องโจทก์ฟ้องว่าจำเลยกระทำผิดวันแรม 8-9 ค่ำเวลากลางคืนติดต่อกัน ต้องแปลว่าจำเลยกระทำผิดในเวลาตลอดคืนแห่งวันแรม 8 ค่ำกับ + ค่ำต่อกัน ฎีกาอุทธรณ์ข้อกฎหมาย ข้อเท็จจริง+แปลวันในฟ้องว่าเป็นวันไหนนั้น เป็นข้อกฎหมายปัญหาที่ว่าโจทก์ฟ้องผิดวันแล้วจำเลยหลงต่อสู้หรือไม่นั้นเป็นข้อเท็จจริง
ย่อยาว
โจทก์ฟ้องว่าเมื่อวันที่ ๗-๘ เมษายน พ.ศ. ๒๔๗๗ ซึ่งตรงกับวันแรม ๘-๙ ค่ำ เวลากลางคืนติดต่อกัน จำเลยได้สมคบกันลักโคของ พ.ไป ๒ ตัว
ศาลล่างทั้ง ๒ ฟังว่าโคเจ้าทรัพย์หายเมื่อวันที่ ๖-๗ เมษายน พ.ศ.๒๔๗๗ เวลากลางคืนติดต่อกัน เห็นว่าโจทก์ฟ้องผิดวันแลจำเลยหลวงข้อต่อสู้พิพากษาให้ยกฟ้อง
โจทก์ฎีกาว่า ถ้านับตามเวลาในราชการแล้ว เรียกว่าโจทก์ฟ้องผิดวันไม่ได้เพราะพะยานโจทก์เบิกความว่าโคหายแรม ๗ ค่ำ เวลาจวนสว่าง ซึ่งตรงกับวันที่ ๗ เวลาก่อนเที่ยง
ศาลฎีกาเห็นว่าตามกฎหมายลักษณอาญามาตรา ๖ (๒๔) บัญญัติว่า “กลางคืนนั้น หมายความว่าเวลาระวางพระอาทิตย์ตกไปจนพระอาทิตย์ขึ้น ” ฟ้องโจทก์ย่อมต้องหมายความแต่เวลาพระอาทิตย์ตกไปแห่งวันแรม ๘ ค่ำ รวมตลอดตั้งแต่เวลา ๒๔ นาฬิกาแห่งวันแรม ๘ ค่ำ ไปจนพระอาทิตย์ขึ้นหรืออีกนัยหนึ่งคือตลอด+กลางคืนแห่งวันแรม ๘ ค่ำนั้นเอง แม้จะนับอย่างโจทก์เถียงก็เป็นตอนเข้าแห่งวันแรม ๘ ค่ำหาใช่ ๘-๙ ค่ำ เวลากลางคืนติดต่อกันไม่เมื่อเจ้าทรัพย์เบิกความว่าโคหายวันแรม ๗ ค่ำ เวลากลางคืน จึงเห็นได้ว่าโจทก์ฟ้องผิดวัน จึงพิพากษายืนตามศาลล่าง