แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา
ย่อสั้น
ฟ้องหาว่า จำเลยยักยอกทรัพย์ แต่มิได้ระบุวันเวลาที่กล่าวหา เป็นแต่ระบุเดือนปีที่กล่าวหาทั้งเดือน และไม่ได้บรรยายด้วยว่าจำเลยได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ดูแลรักษาหรือเก็บรักษาทรัพย์หรือจัดการทรัพย์อย่างใด ๆ นั้น ศาลย่อมไม่รับพิจารณาข้อหาฐานยักยอกทรัพย์
ฟ้องหาว่าจำเลยใช้อุบายหลอกลวงโจทก์ว่าจำเลยเป็นเจ้าของตู้เย็น ขอขายให้โจทก์ ๆ หลงเชื่อรับซื้อไว้ ดังนี้ แม้จะมิได้กล่าวหาว่าหลงเชื่อว่าเป็นทรัพย์ของจำเลยตามที่ใช้อุบายหลอกลวงนั้น คำว่าใช้อุบายหลอกลวงว่าจำเลยเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ ก็พอเข้าใจได้ว่า จำเลยเอาความเท็จมากล่าวว่าเป็นของจำเลย และเมื่อพิจารณาประกอบกับฟ้อง+++ ข้อหนึ่ง ที่ว่าโจทก์ไปที่ร้านค้าของจำเลย ปรากฎว่าสิ่งของทั้งหมดไม่ได้อยู่ในร้าน ถามจำเลยๆว่าของ++ เดิมจำเลยเช่ามาจากเจ้าของ++ เจ้าของเอาไปหมดแล้ว เป็นการแสดงว่า ของที่กล่าวไม่ใช่ของจำเลย แต่จำเลยใช้อุบายหลอกลวงว่าเป็นของจำเลย และขายให้โจทก์ จึงเป็นฟ้องที่ศาลควรรับฟ้องไว้พิจารณาตาม ก.ม.ลักษณะอาญามาตรา 304 ได้.
ย่อยาว
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยทั้งสองเป็นสามีภริยากัน สมคบกันกระทำผิดปรากฎ
(ก) เมื่อเดือนตุลาคม ๒๔๙๓ เวลากลางวันจำเลยทั้งสองใช้อุบายหลอกลวงโจทก์ว่า จำเลยเป็นเจ้าของกรรมสิทธิตู้เย็นยี่ห้อฟิลโก ขนาด ๗ คิว และ ๕ คิว ๒ ตู้ กับพัดลมเพดาน ๒ อัน พัดลมตั้งโต๊ะ ๑ อันขอให้ขายให้โจทก์ ราคา ๕๐๐๐ บาท เพื่อเอาเงินทำการค้าขายและขอเช่าของที่ขายเพื่อทำการค้าขายต่อไป
โจทก์หลงเชื่อทำสัญญาซื้อของ ๕ สิ่งจากจำเลยเป็นราคา ๕๐๐๐ บาท ในวันเดียวกันจำเลยได้ทำสัญญาเช่าของที่ขาย ๕ สิ่ง ราคาค่าเช่าเดือนละ ๑๐๐ บาท เพื่อประกอบการค้าที่ร้านของจำเลย
(ข) ต่อมาเมื่อเดือนพฤศจิกายน ๒๔๙๓ โจทก์ไปที่ร้านค้าของจำเลย ปรากฎว่าสิ่งของๆโจทก์ทั้งหมดไม่มีอยู่ในร้านค้า โจทก์ถามจำเลยๆว่า “ของเหล่านี้เดิมจำเลยเช่ามาจากเจ้าของๆเอาไปหมดแล้ว” โจทก์ทราบความทุจริตของจำเลยในเดือนพฤศจิกายนนั่นเอง จึงนำความไปแจ้งตำรวจ ฯลฯ ขอให้ลงโทษตาม ก.ม.ลักษณะอาญามาตรา ๓๐๔, ๓๐๖, ๓๑๔, ๓๑๙.
ศาลชั้นต้นเห็นฟ้องขอโจทก์เคลือบคลุม จึงพิพากษายกฟ้อง
โจทก์อุทธรณ์, ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน
โจทก์ฎีกา
ศาลฎีกาเห็นว่า เฉพาะข้อหาฐานยักยอก ฟ้องโจทก์มิได้ระบุวันเวลาที่กล่าวหา เป็นแต่ระบุเดือนปี +++มาทั้งเดือน คือเดือนพฤศจิกายน ๒๔๙๓ และไม่ได้++ จำเลยได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ดูแลรักษาหรือเก็บรักษา+++ การทรัพย์อย่างใดๆ ศาลทั้งสองยกฟ้องชอบ+++ เรื่องฉ้อโกงเห็นว่า โจทก์กล่าวตามข้อ ก. ว่า
จำเลยทั้งสองใช้อุบายหลอกลวงโจทก์ว่า จำเลยเป็นเจ้าของกรรมสิทธิในทรัพย์ที่ได้ระบุในฟ้องโจทก์หลงเชื่อ แม้จะไม่ได้กล่าวว่า หลงเชื่อว่าอย่างไร ก็พอเข้าใจได้ว่าหลงเชื่อว่าเป็นทรัพย์ของจำเลยตามที่ใช้อุบายหลอกลวง นั้น คำว่าใช้อุบายหลอกลวงว่าจำเลยเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ ก็พอเข้าใจได้แล้วว่าจำเลยเอาความเท็จมากล่าวว่าเป็นของจำเลย พิจารณาประกอบกับฟ้องข้อ ข. ที่ว่าโจทก์ไปที่ร้าน ถามจำเลยๆว่าของเหล่านี้เดิมจำเลยเช่ามาจากเจ้าของๆเอาไปหมดแล้ว เป็นการแสดงว่าของที่กล่าว ไม่ใช่ของจำเลย แต่จำเลยได้ใช้อุบายหลอกลวงว่าเป็นของจำเลยและขายให้แก่โจทก์ หากเป็นความจริงตามที่โจทก์กล่าวในฟ้อง ก็ชอบที่จะระงับฟ้องไว้พิจารณาเฉพาะข้อหาฐานฉ้อโกงได้
จึงพิพากษาให้ยกคำสั่งและพิพากษาศาลล่าง ให้ศาลชั้นต้นพิจารณาสั่งเรื่องมูลฟ้องในข้อหาฐานฉ้อโกง