แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา
ย่อสั้น
ข้อบังคับมรรยาททนายความ พ.ศ. 2458 ข้อ 1,5,10 พ.ร.บ. พนักงานอัยการ พ.ศ. 2477 ม.8,19 อัยยการเนติบัญฑิตยสภาไม่มีอำนาจดำเนินคดีผิดมรรยาททนายความเพราะไม่มีกฎหมายใดให้อำนาจเช่นนั้น
ย่อยาว
โจทก์ยื่นเรื่องราวกล่าวโทษจำเลยต่อกรรมการสอดส่องความประพฤติทนายความหาว่ากระทำผิดข้อบังคับมรรยาททนายความหาว่ากระทำผิดข้อบังคับมรรยาททนายความ พ.ศ. ๒๔๕๘ ข้อ ๑๐ และ พ.ร.บ.ทนายความ พ.ศ. ๒๔๗๗ ม.๑๒(๔)
ศาลอุทธรณ์เห็นว่าจำเลยมีผิดฐานไม่เคารพต่อศาลต้องด้วยมรรยาททนายความข้อ ๕ แต่เป็นเรื่องเล็กน้อยจึงให้ภาคทัณฑ์ไว้ก่อน
จำเลยฎีกาคัดค้านอำนาจฟ้องของโจทก์
ศาลฎีกาตัดสินว่าคดีเรื่องนี้เกิดขึ้นและฟ้องกล่าวหากันภายหลังวันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ๒๔๗๘ ซึ่งเป็นวันใช้ พ.ร.บ. พนักงานอัยการ พ.ศ. ๒๔๗๗ จึงต้องอยู่ในบังคับแห่ง พ.ร.บ. นั้น อำนาจหน้าที่ของพนักงานอัยยการได้มีกำหนดไว้ใน ม.๑๙ ซึ่งจะเป็นได้ว่าอัยยการจะยกคดีขึ้นกล่าวหาได้ก็ต่อเมื่อกฎหมายกำหนดอำนาจหน้าที่ไว้จริงอยู่อัยยการอาจดำเนินคดีแทนรัฐบาลได้ แต่เนติบัณฑิตยสภาก็หาใช่รัฐบาลหรือกระทรวงหรือกรมตามความหมายใน ม.๘ แห่ง พ.ร.บ. พนักงานอัยยการไม่ แม้ใน พ.ร.บ.ทนายความ พ.ศ. ๒๔๗๗ ก็ไม่มีกฎหมายใดให้อำนาจหรือรับรู้ตำแหน่งอัยยการทนายความ แม้จะอ้างว่าไม่ได้ร้องกล่าวโทษในฐานะเป็นอัยการ แต่ร้องแทนเนติบัณฑิตยสภาก็ดี ก็ไม่ปรากฎในสำนวนนี้ว่าโจทก์มีอำนาจหรือได้รับมอบอำนาจอย่างไรให้แทนได้ คดีจึงตกไป จึงพิพากษากลับศาลอุทธรณ์ให้จำเลยพ้นคดีนี้ไป แต่ให้เป็นที่เข้าใจว่าไม่ตัดอำนาจผู้ใดอื่นที่มีอำนาจว่ากล่าวได้ตามกฎหมายจะว่ากล่าวต่อไป