แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา
ย่อสั้น
ตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่286ลงวันที่24พฤศจิกายน2515ข้อ30วรรคหนึ่งประกอบข้อ32จะเห็นได้ว่าถึงแม้การจัดสรรที่ดินซึ่งผู้จัดสรรที่ดินกระทำอยู่ก่อนวันที่ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่286ลงวันที่24พฤศจิกายน2515ประกาศในราชกิจจานุเบกษาและได้มีการปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในข้อ32จะไม่ตกอยู่ภายใต้บังคับแห่งประกาศของคณะปฏิวัติฉบับดังกล่าวก็ตามแต่ในส่วนที่เกี่ยวกับกิจการอันเป็นสาธารณูปโภคซึ่งผู้จัดสรรที่ดินได้จัดให้มีขึ้นเพื่่อการจัดสรรที่ดินจะต้องอยู่ภายใต้บังคับแห่งข้อ30กล่าวคือถือว่าสาธารณูปโภคเช่นว่านั้นตกอยู่ในภาระจำยอมเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินจัดสรรและจากถ้อยคำในข้อ32ที่ว่า”ผู้ใดจัดสรรที่ดินอยู่ก่อนวันที่ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับนี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาและหรือได้จัดให้มีสาธารณูปโภคหรือที่ประกอบการอุตสาหกรรมไปแล้วบางส่วนฯลฯย่อมมีความหมายชัดแจ้งอยู่แล้วว่าสาธารณูปโภคดังกล่าวคือสาธารณูปโภคที่มีอยู่ก่อนวันที่ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่286ลงวันที่24พฤศจิกายน2515ประกาศในราชกิจจานุเบกษาหาใช่สาธารณูปโภคซึ่งผู้จัดสรรที่ดินได้จัดให้มีขึ้นเพื่่อการจัดสรรที่ดินภายหลังประกาศของคณะปฏิวัติฉบับดังกล่าวใช้บังคับไม่เมื่อบริษัทน. ดำเนินการจัดสรรที่ดินหมู่บ้านม.เมื่อวันที่4มกราคม2516และถนนซอยพิพาทเป็นสาธารณูปโภคซึ่งผู้จัดสรรที่ดินได้จัดให้มีขึ้นก่อนที่ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่286ลงวันที่24พฤศจิกายน2515ใช้บังคับถนนซอยพิพาทจึงตกอยู่ในภาระจำยอมเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินจัดสรรตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่286ข้อ30และ32ถึงแม้ถนนซอยพิพาทเป็นทางเข้าของจำเลยทั้งสองสู่ถนนสายหลักของหมู่บ้านม. และถนนสาธารณะโดยผ่านรั้วด้านข้างบ้านของโจทก์และเจ้าของบ้านอีกหลังหนึ่งซึ่งไม่มีประตูที่รั้วด้านดังกล่าวแต่ในเมื่อถนนซอยพิพาทตกอยู่ในภารจำยอมตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่่286ข้อ30และ32โจทก์ในฐานะเป็นผู้อาศัยอยู่ในที่ดินจัดสรรจึงมีสิทธิใช้ถนนซอยพิพาทได้ซึ่งอาจจะใช้เป็นประจำหรือเป็นครั้งคราวเช่นในยามเกิดอัคคีภัยเป็นต้นที่่จำเลยทั้งสองร่วมกันจัดทำประตูรั้วเหล็กปิดกั้นถนนซอยพิพาทย่อมทำให้ประโยชน์แห่งภารจำยอมลดไปหรือเสื่อมความสะดวกเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องบังคับให้จำเลยทั้งสองรื้อถอนรั้วเหล็กดังกล่าวได้
ย่อยาว
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดเลขที่ 72054 เลขที่ดิน 4455 พร้อมสิ่งปลูกสร้างบ้านเลขที่92 จำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินเลขที่ดิน 1818พร้อมสิ่งปลูกสร้างบ้านเลขที่ 94 และจำเลยที่ 2 เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินเลขที่ดิน 1819 พร้อมสิ่งปลูกสร้างบ้าน เลขที่ 98โดยที่ดินของจำเลยทั้งสองอยู่ติดต่อกัน ที่ดินของจำเลยที่ 1 อยู่ด้านหลังที่ดินของโจทก์ ด้านหน้าที่ดินของโจทก์อยู่ติดกับถนนสาธารณูปโภคภายในหมู่บ้านมงคลนิเวศน์ ซึ่งจัดสรรโดยบริษัทนำสินอาคารที่ดิน จำกัด เมื่อประมาณปี 2516 ทางเข้าบ้านจำเลยทั้งสองจะมีถนนซอยพิพาทเข้าไปข้างบ้านโจทก์เป็นที่ดินที่แบ่งแยกเป็นโฉนดย่อยออกต่างหากจากที่ดินแปลงอื่น มิได้มีการยกให้เป็นสาธารณประโยชน์ ถนนซอยดังกล่าวจึงเป็นถนนสาธารณูปโภคที่ผู้จัดสรรทำขึ้นเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินที่จัดสรรทั้งของโจทก์และจำเลยทั้งสองตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 286 ลงวันที่ 24 พฤศจิกายน 2515 ข้อ30 เมื่อประมาณต้นเดือนกุมภาพันธ์ 2536 จำเลยทั้งสองได้ร่วมกันจัดทำประตูรั้วเหล็กปิดกั้นถนนซอยพิพาทเข้าบ้านจำเลยทั้งสองเพื่อประโยชน์ของจำเลยทั้งสองโดยไม่มีอำนาจกระทำเช่นนั้น เนื่องจากเป็นการทำให้ทางภารจำยอมดังกล่าวลดไปหรือเสื่อมความสะดวกในการใช้ โจทก์ได้แจ้งให้จำเลยทั้งสองรื้อรั้วเหล็กดังกล่าวแล้วแต่จำเลยทั้งสองเพิกเฉยขอให้บังคับจำเลยทั้งสองรื้อรั้วเหล็กปิดกั้นถนนซอยพิพาทออก โดยค่าใช้จ่ายของจำเลยทั้งสองเอง และห้ามจำเลยทั้งสองกระทำการใด ๆอันเป็นการรบกวนการใช้ถนนซอยพิพาทซึ่งเป็นภารจำยอมเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินจัดสรรอีกต่อไป
จำเลยที่ 1 ให้การว่า ถนนซอยพิพาทเป็นถนนที่สร้างสำหรับเป็นทางเข้าออกบ้านของจำเลยทั้งสองเป็นการเฉพาะเท่านั้น มิได้สร้างเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินจัดสรรแปลงอื่นทั้งหมู่บ้าน จึงไม่อยู่ในบังคับแห่งประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 286 ลงวันที่ 24 พฤศจิกายน 2515ข้อ 30 ผู้จัดสรรอนุญาตให้สร้างประตูเปิดปิดถนนซอยพิพาทได้ ซึ่งก็ได้มีการปฎิบัติในถนนซอยอื่นที่มีลักษณะเดียวกับถนนซอยพิพาทมาตลอด การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงไม่เป็นเหตุให้ภารจำยอมลดไป หรือเสื่อมความสะดวกแต่ประการใด บริษัทนำสินอาคารที่ดิน จำกัดได้จัดสรรที่ดินหมู่บ้านที่โจทก์และจำเลยที่ 1 อาศัยอยู่ก่อนประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 286 จะมีผลใช้บังคับ จึงไม่อยู่ในบังคับแห่งประกาศของคณะปฏิวัติฉบับดังกล่าว โจทก์มิใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์ถนนซอยพิพาทหรือผู้รับโอนกรรมสิทธิ์ถนนซอยดังกล่าว จึงไม่ใช่ผู้เสียหาย ไม่มีอำนาจฟ้อง ขอให้ยกฟ้อง
จำเลยที่ 2 ให้การว่า โจทก์มิได้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดเลขที่ 72054 จึงไม่มีอำนาจฟ้อง จำเลยที่ 2 ซื้อที่ดินเลขที่ดิน1819 จากบริษัทนำสินอาคารที่ดิน จำกัด ผู้จัดสรร มาโดยสุจริตไม่ทราบว่ามีทางภารจำยอม ทั้งได้จดทะเบียนสิทธิการซื้อมาโดยสุจริตโจทก์ไม่ได้จดทะเบียน จึงไม่อาจยกขึ้นต่อสู้จำเลยที่ 2 ได้ถนนซอยพิพาทเป็นทางที่ผู้จัดสรรทำขึ้นเพื่อให้จำเลยที่ 2 ใช้เข้าออกและยกให้เป็นกรรมสิทธิ์แก่จำเลยที่ 2 แล้วจำเลยที่ 2จึงได้มาโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทน โจทก์จึงไม่อาจอ้างสิทธิภารจำยอมขึ้นต่อสู้จำเลยที่ 2 ได้ ถนนซอยพิพาทไม่ตกอยู่ในบังคับแห่งประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 286 ลงวันที่ 24 พฤศจิกายน 2515ข้อ 30 ทั้งไม่เป็นสาธารณูปโภคในที่ดินจัดสรรและไม่่ตกเป็นภารจำยอมแต่อย่างไร โจทก์มีถนนเข้าออกด้านหน้าบ้านกว้าง 8 เมตรซึ่งเป็นถนนสาธารณูปโภคในหมู่บ้านเข้าออกเป็นปกติอยู่แล้ว การที่จำเลยที่ 2 ปิดกั้นรั้วถนนซอยพิพาทจึงเป็นการใช้สิทธิในฐานะเจ้าของขอให้ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิพากษายก ฟ้อง
โจทก์ อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับ ให้จำเลยทั้งสองร่วมกันรื้อประตูรั้วเหล็กซึ่งปิดกั้นถนนซอยพิพาทออกไปโดยค่าใช้จ่ายของจำเลยทั้งสองห้ามมิให้จำเลยทั้งสองกระทำการใด ๆ อันเป็นเหตุให้ประโยชน์แห่งภารจำยอมของถนนซอยพิพาทลดไปหรือเสื่อมความสะดวกอีก
จำเลย ทั้ง สอง ฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยทั้งสองว่า ถนนซอยพิพาทตกอยู่ในภารจำยอมเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินจัดสรรตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 286 ลงวันที่ 24 พฤศจิกายน2515 ข้อ 30 และ 32 หรือไม่ จำเลยทั้งสองฎีกาว่า บริษัทนำสินอาคารที่ดิน จำกัด จัดสรรที่ดินหมู่บ้านมงคลนิเวศน์เมื่อวันที่ 4 มกราคม 2516 ก่อนประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 286ลงวันที่ 24 พฤศจิกายน 2515 จะใช้บังคับ การจัดสรรที่ดินรายนี้จึงไม่ตกอยู่ในบังคับแห่งประกาศของคณะปฏิวัติฉบับดังกล่าว ข้อ 30คำว่าสาธารณูปโภคซึ่งผู้จัดสรรที่ดินได้จัดให้มีขึ้นเพื่อการจัดสรรที่ดินตามข้อ 32 อันจะอยู่ภายใต้บังคับแห่งข้อ 30 หมายถึงสาธารณูปโภคซึ่งผู้จัดสรรที่ดินได้จัดให้มีขึ้นเพื่่อการจัดสรรที่ดินภายหลังประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 286 ลงวันที่ 24พฤศจิกายน 2515 ใช้บังคับแล้วเท่านั้น หากฟังว่าถนนซอยพิพาทเป็นสาธารณูปโภค ก็เป็นสาธารณูปโภคซึ่งผู้จัดสรรที่ดินได้จัดให้มีขึ้นก่อนประกาศของคณะปฏิวัติฉบับดังกล่าวใช้บังคับ จึงไม่อยู่ภายใต้บังคับแห่งข้อ 30 ศาลฎีกาเห็นว่าประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 286ลงวันที่ 24 พฤศจิกายน 2515 ข้อ 30 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า”สาธารณูปโภคซึ่งผู้จัดสรรที่ดินได้จัดให้มีขึ้นเพื่อการจัดสรรที่ดินตามแผนผังและโครงการที่ได้รับอนุญาต เช่น ถนน สวนสาธารณะสนามเด็กเล่น ให้ถือว่าตกอยู่ในภารจำยอมเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินจัดสรร และให้เป็นหน้าที่ของผู้จัดสรรที่ดินหรือผู้รับโอนกรรมสิทธิ์คนต่อไปที่จะบำรุงรักษากิจการดังกล่าวให้คงสภาพดังเช่นที่ได้จัดทำขึ้นโดยตลอดไป และจะกระทำการใด ๆ อันเป็นเหตุให้ประโยชน์แห่งภารจำยอมลดไป หรือเสื่อมความสะดวกมิได้” และข้อ 32 บัญญัติว่า”ผู้ใดทำการจัดสรรที่ดินอยู่ก่อนวันที่ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับนี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา และได้จำหน่ายที่ดินจัดสรรไปแล้วบางส่วนหรือได้จัดให้มีสาธารณูปโภคหรือบริการสาธารณะ หรือได้ปรับปรุงที่ดินจัดสรรให้เป็นที่อยู่อาศัยที่ประกอบการพาณิชย์ หรือที่ประกอบการอุตสาหกรรมไปแล้วบางส่วน เมื่อผู้นั้นได้ยื่นรายการและแสดงหลักฐานตามแบบและวิธีการที่่กำหนดในกฎกระทรวงต่อคณะกรรมการภายในหกสิบวันนับแต่วันที่่ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับนี้ใช้บังคับก็ให้ทำการจัดสรรที่ดินนั้นต่อไปได้โดยไม่ตกอยู่ภายใต้บังคับแห่งประกาศของคณะปฏิวัติฉบับนี้ เว้นแต่กิจการอันเป็นสาธารณูปโภคซึ่งผู้จัดสรรที่ดินได้จัดให้มีขึ้นเพื่อการจัดสรรที่ดิน ให้อยู่ภายใต้บังคับแห่งข้อ 30 ด้วย”พิจารณาบทบัญญัติแห่งกฎหมายทั้งสองข้อประกอบกันแล้ว จะเห็นได้ว่าถึงแม้การจัดสรรที่่ดินซึ่งผู้จัดสรรที่ดินกระทำอยู่ก่อนวันที่ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 286 ลงวันที่ 24 พฤศจิกายน 2515ประกาศในราชกิจจานุเบกษา และได้มีการปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในข้อ 32 จะไม่ตกอยู่ภายใต้บังคับแห่งประกาศของคณะปฏิวัติฉบับดังกล่าวก็ตามแต่ในส่วนที่เกี่ยวกับกิจการอันเป็นสาธารณูปโภคซึ่งผู้จัดสรรที่ดินได้จัดให้มีขึ้นเพื่อการจัดสรรที่ดินจะต้องอยู่ภายใต้บังคับแห่งข้อ 30 กล่าวคือ ถือว่าสาธารณูปโภค เช่นว่านั้นตกอยู่่ในภารจำยอมเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินจัดสรร และจากถ้อยคำในข้อ 32 ที่ว่า “ผู้ใดจัดสรรที่ดินอยู่ก่อนวันที่ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับนี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา และ หรือได้จัดให้มีสาธารณูปโภคหรือที่ประกอบการอุตสาหกรรมไปแล้วบางส่วน ฯลฯ ย่อมมีความหมายชัดแจ้งอยู่แล้วว่า สาธารณูปโภคดังกล่าวคือสาธารณูปโภคที่มีอยู่ก่อนวันที่ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 286 ลงวันที่ 24 พฤศจิกายน 2515ประกาศในราชกิจานุเบกษา หาใช่สาธารณูปโภคซึ่งผู้จัดสรรที่ดินได้จัดให้มีขึ้นเพื่อการจัดสรรที่ดินภายหลังประกาศของคณะปฏิวัติฉบับดังกล่าวใช้บังคับดังที่จำเลยทั้งสองกล่าวอ้างมาในฎีกาไม่ ดังนี้เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่า บริษัทนำสินอาคารที่ดิน จำกัดดำเนินการจัดสรรที่ดินหมู่บ้านมงคลนิเวศน์เมื่อวันที่ 4มกราคม 2516 และถนนซอยพิพาทเป็นสาธารณูปโภคซึ่งผู้จัดสรรที่ดินได้จัดให้มีขึ้นก่อนที่ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 286ลงวันที่ 14 พฤศจิกายน 2515 ใช้บังคับ ถนนซอยพิพาทจึงตกอยู่ในภารจำยอมเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินจัดสรรตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 286 ข้อ 30 และ 32 ส่วนปัญหาว่า โจทก์มีอำนาจฟ้องบังคับให้จำเลยรื้อถอนรั้วเหล็กซึ่งจำเลยทั้งสองจัดทำปิดกั้นถนนซอยพิพาทหรือไม่นั้น ศาลฎีกาเห็นว่า ถึงแม้ข้อเท็จจริงจะได้ความว่าถนนซอยพิพาทเป็นทางเข้าออกบ้านของจำเลยทั้งสองสู่่ถนนสายหลักของหมู่บ้านมงคลนิเวศน์ และถนนสาธารณะ โดยผ่านรั้วด้านข้างบ้านของโจทก์และเจ้าของบ้านอีกหลังหนึ่งซึ่งไม่มีประตูที่รั้วด้านดังกล่าว แต่ในเมื่อถนนซอยพิพาทตกอยู่ในภารจำยอมดังวินิจฉัยไว้แล้ว โจทก์ในฐานะเป็นผู้อาศัยอยู่ในที่ดินจัดสรร จึงมีสิทธิใช้ถนนซอยพิพาทได้ ซึ่งอาจจะใช้เป็นประจำหรือเป็นครั้งคราว เช่น ในยามเกิดอัคคีภัยเป็นต้น ฉะนั้นที่จำเลยทั้งสองร่วมกันจัดทำประตูรั้วเหล็กปิดกั้นถนนซอยพิพาทย่อมทำให้ประโยชน์แห่งภารจำยอมลดไปหรือเสื่อมความสะดวกเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องบังคับให้จำเลยทั้งสองรื้อถอนรั้วเหล็กดังกล่าวได้พิพากษายืน