คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 930/2502

แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

ย่อสั้น

เจ้าของร้านขายส่งสุราเป็นคนอื่น มิได้เกี่ยวข้องอะไรกับบริษัทซึ่งทำการต้มกลั่นสุราเลย ส่วนได้ส่วนเสียแยกต่างหาก มิได้มีอะไรเกี่ยวพันกัน แม้ในฐานะของลูกจ้างกับนายจ้างก็มิได้มีปรากฏ เจ้าของร้านขายส่งสุราหลายรายต้องวางเงินประกันไว้ต่อบริษัทต้มกลั่น ซึ่งบางรายต้องวางเงินประกันไว้ก่อนถึง 80,000 บาท ก็มี ข้อสำคัญที่สุดก็คือ สุราที่ส่งไปให้ร้านขายส่งสุราเหล่านี้ บริษัทต้มกลั่นถือว่า เป็นการจำหน่ายเสร็จเด็ดขาดจากบริษัทต้มกลั่นไปแล้วทั้งสิ้น มิใช่ทรัพย์ของบริษัทต้มกลั่นอีกต่อไป บัญชีงบดุลก็มิได้แสดงว่าเป็นทรัพย์ของบริษัทต้มกลั่นเลย พฤติการณ์ทั้งมวลประกอบกันแสดงชัดว่า บริษัทต้มกลั่นได้ขายขาดสุราให้แก่ร้านขายส่งสุราเหล่านี้ไปแล้ว ไม่ใช่เรื่องของตัวการกับตัวแทนหรือลูกจ้างกับนายจ้าง การรับเงินค่าสุราจากร้านขายส่งดังกล่าวจึงจำต้องออกใบรับและปิดอากรแสตมป์ เพราะกรณีไม่เข้าข้อยกเว้นตามข้อ ฌ.แห่งลักษณะตราสาร ข้อ 28

ย่อยาว

โจทก์ฟ้องว่า โจทก์ได้รับประมูลทำการต้มกลั่นสุราที่จังหวัดสงขลา เมื่อ พ.ศ. 2493 ครั้นวันที่ 22 กันยายน 2498 ครั้นวันที่ 22 กันยายน 2498 โจทก์ได้รับหนังสือจากจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่อากรแสตมป์จังหวัดสงขลา แจ้งว่าในการที่โจทก์ต้มกลั่นสุราของโจทก์ส่งสุราไปให้ร้านสาขาตัวแทนในเขตจังหวัดสงขลาขายส่งนั้น โจทก์มิได้ปิดอากรแสตมป์กรมสรรพากรถือว่า การกระทำเช่นนั้น เป็นการซื้อขายระหว่างโจทก์กับร้านสาขาผู้ขายส่งตั้งแต่ พ.ศ. 2494 จนถึง 2496 เป็นเงินอากร 62,881 บาท 70 สตางค์และต้องเสียภาษีเพิ่มตามมาตรา 114 อีก 290,396 บาท 70 สตางค์ รวม 363,278 บาท 40 สตางค์ ให้นำเงินจำนวนดังกล่าวไปชำระยังแผนกสรรพากรจังหวัดสงขลาภายใน 30 วัน แต่โจทก์เห็นว่าร้านสาขารับสุราไปจำหน่ายในนามของโจทก์เป็นตัวแทนหรือในฐานะลูกจ้างทำการในนามของโจทก์ซึ่งเป็นนายจ้าง หาใช่เป็นเรื่องซื้อไปจากโจทก์ไม่ โจทก์จึงได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียอากรแสตมป์ตามประมวลรัษฎากรในบัญชีอัตราอากรแสตมป์ข้อ ฌ. ลักษณะตราสาร ข้อ 28 โจทก์ได้ร้องเรียนคัดค้านไปยังกรมสรรพากรแล้ว แต่อธิบดีกรมสรรพากรยืนยันว่า โจทก์จะต้องชำระเงินดังกล่าว จึงขอให้ศาลเพิกถอนคำสั่งกรมสรรพากร หนังสือผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา และหนังสือของพนักงานเจ้าหน้าที่อากรแสตมป์จังหวัดสงขลา เกี่ยวกับเรื่องนี้เสียเพราะเป็นคำสั่งไม่ชอบด้วยกฎหมาย

จำเลยทั้งสามต่อสู้ว่า พฤติการณ์ระหว่างโจทก์กับร้านสาขาขายส่งนั้น เป็นการซื้อขายสุราเสร็จเด็ดขาดไป เข้าลักษณะการค้าของคนกลาง หาใช่ในลักษณะตัวแทนหรือลูกจ้างของโจทก์ไม่ โจทก์จึงจำเป็นที่จะต้องออกใบรับเงินค่าสุราที่ได้รับไว้ตามประมวลรัษฎากร

ศาลฎีกาพิพากษายืนตามศาลทั้งสอง ให้ยกฟ้องโจทก์

ข้อวินิจฉัยของศาลฎีกามีว่า ตามข้อเท็จจริงปรากกว่า ร้านขายส่งสุราต่าง ๆ ที่โจทก์แต่งตั้งขึ้นนั้น มีอยู่ 2 ประเภท คือ

(1) ร้านที่โจทก์ดำเนินการเอง เช่น ร้านสาขาอำเภอเมืองสงขลาและร้านสาขาอำเภอหาดใหญ่ เป็นต้น

(2) ร้านที่โจทก์ตั้งคนอื่นเป็นผู้ดำเนินการ คือ 7 ร้าน ที่เป็นความกันอยู่นี้

สำหรับร้านประเภท (1) เป็นร้านที่โจทก์ตั้งคนของโจทก์เข้าดำเนินการเองทั้งสิ้น โจทก์ระบุโดยแจ้งชัดในแบบ ภ.ง.ด. 5 ว่าเป็นร้านสาขาของโจทก์ ทรัพย์สินทั้งมวลก็เป็นของโจทก์ และโจทก์รับรองในบัญชีงบดุลว่า เป็นรายได้จากร้านสาขาของโจทก์เอง ฝ่ายจำเลยซึ่งเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ในเรื่องภาษีอากรก็ยอมรับว่าเป็นเรื่องในกิจการของบริษัทโจทก์เอง และมิได้เรียกร้องหรือสั่งให้โจทก์ต้องออกใบรับเงินหรือเสียค่าอากรประการใดเลย

ส่วนร้านประเภท (2) ที่เกี่ยวข้องฟ้องร้องกันอยู่นี้ พฤติการณ์ระหว่างโจทก์กับเจ้าของร้านขายส่งสุราเหล่านี้ผิดแผกแตกต่างกับร้านประเภท (1) หลายประการ กล่าวคือ เจ้าของร้านขายส่งสุราเหล่านี้เป็นคนอื่น มิได้มีอะไรเกี่ยวพันกันแม้ในฐานะลูกจ้างกับนายจ้างก็มิได้มีปรากฏ หลายรายต้องวางเงินประกันไว้ต่อทรัพย์ซึ่งบางรายต้องวางเงินประกันไว้ก่อนถึง 80,000 บาท ก็มี ประการสำคัญโจทก์ ซึ่งประสงค์ส่งไปให้ร้านขายส่งสุราเหล่านี้ โจทก์ถือว่า เป็นการจำหน่ายเสร็จที่สุดก็คือ สุราที่ส่งไปแล้วทั้สิ้น มิใช่ทรัพย์ของโจทก์อีกต่อไป บัญชีงบดุลก็มิได้แสดงว่าเป็นทรัพย์ของโจทก์อย่างเช่นร้านสาขาส่งให้แก่ร้านขายส่งสุราเหล่านี้ไปแล้ว ไม่ใช่เรื่องของตัวการกับตัวแทนหรือลูกจ้างกับนายจ้างดังข้ออ้างของโจทก์

ฎีกาที่ 87/2495 ซึ่งโจทก์อ้างมานั้น ศาลฎีการับฟังข้อเท็จจริงว่าเป็นเรื่องตัวแทนหรือลูกจ้างของกันและกัน ซึ่งผิดกับข้อเท็จจริงในคดีเรื่องนี้ จึงไม่สนับสนุนคดีของโจทก์

Share