แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา
ย่อสั้น
เจ้ามรดกเจ็บครรภ์จะคลอดบุตร นั่งรถ 3 ล้อไปโรงพยาบาล ในระหว่างทางเจ้ามรดกสั่งพยานที่ไปส่งด้วยว่า ถ้าเป็นอะไรให้ยกทรัพย์ให้จำเลย แล้วต่อมาเจ้ามรดกก็ตายที่โรงพยาบาลพยานเพิ่งนำความไปแจ้งแก่กรมการอำเภอภายหลังที่สั่งไว้ถึง 8 วัน ทั้งที่บ้านพยานก็อยู่ใกล้อำเภอเช่นนี้ จะปรับเข้าตามมาตรา 1663 แห่ง ป.ม.แพ่งไม่ได้ เพราะไม่มีเหตุผลที่จะถือว่ามีพฤติการณ์พิเศษซึ่งเจ้ามรดกไม่สามารถทำพินัยกรรมได้ประการหนึ่ง และเป็นการขัดกับความในววค 3 แห่ง มาตรา 1663 ที่บัญญัติว่า ให้ไปแจ้งโดยมิชักช้า จึงจะถือเป็นนิติกรรมโดยชอบไม่ได้
ย่อยาว
โจทก์ฟ้องขอให้ศาลแสดงว่า โจทก์เป็นทายาทได้รับมรดกผู้ตายแต่ผู้เดียว ห้ามมิให้จำเลยเข้าเกี่ยวข้อง
จำเลยที่ ๒ ต่อสู้ว่า จำเลยที่ ๒ เป็นสามีผู้ตาย ก่อนผู้ตายตาย ผู้ตายได้ทำพินัยกรรมด้วยวาจายกมรดกให้แก่จำเลยที่ ๒ แต่ผู้เดียว กับต่อสู้อย่างอื่นอีก ส่วนจำเลยที่ ๑ โจทก์ขอถอนฟ้อง
ศาลชั้นต้นฟังว่า โจทก์เป็นทายาทโดยธรรมอันดับที่ ๔ ส่วนจำเลยไม่ใช่ญาติ พินัยกรรมที่จำเลยอ้างก็เชื่อฟังไม่ได้ จึงพิพากษาให้จำเลยส่งมอบทรัพย์พิพาทให้โจทก์กับผลประโยชน์
ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน
จำเลยฎีกา
ศาลฎีกาเห็นว่า ข้อที่จำเลยขอเพิ่มเติมคำให้การว่า นายสมานโจทก์มิใช่ตัวจริงนั้น จำเลยมิได้กล่าวแก้ไว้ในชั้นคำให้การต่อสู้ เพิ่งมายื่นเมื่อศาลนัดวันพิจารณาแล้ว ศาลสั่งไม่อนุญาต เป็นการชอบด้วย ป.ม.วิ.แพ่งมาตรา ๑๘๐ แล้ว
ส่วนพินัยกรรมที่จำเลยอ้างว่า ผู้ตายสั่งไว้ด้วยวาจานั้น ศาลล่างวินิจฉัยไม่เชื่อแต่อย่างไรก็ดี การที่ผู้ตายเจ็บครรภ์และจะไปคลอด ไประหว่างทางได้สั่งว่า
ถ้าเป็นอะไรให้ยกทรัพย์ให้จำเลย แล้วพยานนำความไปแจ้งแก่กรมการอำเภอภายหลังที่สั่งไว้ถึง ๘ วันนั้น คดีไม่น่า จะปรับเข้าตามมาตรา ๑๖๖๓ แห่ง ป.ม.แพ่งไม่ได้ เพราะไม่มีเหตุผลที่จะถือว่ามีพฤติการณ์พิเศษซึ่งเจ้ามรดกไม่สามารถทำพินัยกรรมได้ประการหนึ่ง และการที่นายสาย นางใจผู้ได้รับคำบอกของผู้ตายไปให้ถ้อยคำถ่ออำเภอ ภายหลังถึง ๗-๘ วัน ทั้งที่ปรากกว่าบ้านอยู่ใกล้อำเภอเช่นนี้ คดีก็ขัดขัดกับความในววค ๓ แห่ง มาตรา ๑๖๖๓ ที่บัญญัติว่า ให้ไปแจ้งโดยมิชักช้า จึงไม่มีเหตุที่จะเป็นพินัยกรรมโดยชอบได้
จึงพิพากษายืน