แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา
ย่อสั้น
ทุนทรัพย์ในคดีที่โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสามชำระค่าปรับตามสัญญาประกันตัวผู้ต้องหา2คนต้องถือตามจำนวนเงินในสัญญาประกันแต่ละฉบับเพราะค่าปรับตามสัญญาทั้ง2ฉบับเป็นคนละรายแบ่งแยกรับผิดเป็นส่วนสัดเมื่อทุนทรัพย์แต่ละรายไม่เกิน200,000บาทจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา248วรรคหนึ่ง
ย่อยาว
โจทก์ ฟ้อง ว่า จำเลย ที่ 1 ทั้ง ใน ฐานะ ส่วนตัว และ ใน ฐานะผู้รับมอบอำนาจ จาก จำเลย ที่ 2 และ ที่ 3 ได้ ทำ สัญญาประกัน ตัวผู้ต้องหา ทั้ง สอง ให้ ไว้ แก่ โจทก์ โดย สัญญา ว่า เมื่อ โจทก์ ปล่อย ตัวผู้ต้องหา ทั้ง สอง แล้ว จำเลย ทั้ง สาม จะ นำตัว ผู้ต้องหา ทั้ง สองมา ส่งมอบ ให้ โจทก์ ตาม กำหนด นัด มิฉะนั้น จำเลย ทั้ง สาม จะ ยอม ใช้ เงินให้ แก่ โจทก์ 200,000 บาท ต่อ ผู้ต้องหา หนึ่ง คน โจทก์ จึง ได้ ปล่อยตัว ผู้ต้องหา ทั้ง สอง ใน วันเดียว กัน นั้น เมื่อ ถึง วันนัด ส่งตัวจำเลย ทั้ง สาม ไม่สามารถ ส่งมอบ ผู้ต้องหา ทั้ง สอง แก่ โจทก์ ตาม สัญญาและ ได้ ขอเลื่อน การ ส่งตัว หลาย ครั้ง ใน ที่สุด ก็ ไม่สามารถ ส่งตัวผู้ต้องหา แก่ โจทก์ ได้ ขอให้ บังคับ จำเลย ทั้ง สาม ชำระ เงิน จำนวน400,000 บาท พร้อม ด้วย ดอกเบี้ย ใน อัตรา ร้อยละ 7.5 ต่อ ปี ของ ต้นเงินจำนวน ดังกล่าว นับ ตั้งแต่ วันฟ้อง เป็นต้น ไป จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ แก่ โจทก์
จำเลย ที่ 1 และ ที่ 2 ขาดนัด ยื่นคำให้การ และ ขาดนัดพิจารณา
จำเลย ที่ 3 ให้การ ว่า จำเลย ที่ 3 ไม่ได้ ทำ สัญญาประกัน ตัวนาย สุเทพ และ นาย กิตติศักดิ์ หนังสือมอบอำนาจ ท้ายฟ้อง เป็น เอกสารปลอม ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิจารณา แล้ว พิพากษา ให้ จำเลย ที่ 1 และ ที่ 2ชำระ เงิน 400,000 บาท พร้อม ดอกเบี้ย อัตรา ร้อยละ 7.5 ต่อ ปีของ ต้นเงิน จำนวน ดังกล่าว นับแต่ วันฟ้อง (วันที่ 30 กรกฎาคม 2534)เป็นต้น ไป จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ ให้ยก ฟ้อง จำเลย ที่ 3
โจทก์ อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ ภาค 1 พิพากษายืน
โจทก์ ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า คดี นี้ โจทก์ ฟ้อง ขอให้ บังคับ จำเลย ทั้ง สามชำระ ค่าปรับ ตาม สัญญาประกัน ตัว ผู้ต้องหา 2 คน คน ละ 200,000 บาทพร้อม ด้วย ดอกเบี้ย อัตรา ร้อยละ 7.5 ต่อ ปี นับ ตั้งแต่ วันฟ้อง เป็นต้น ไปศาลอุทธรณ์ ภาค 1 พิพากษายืน ตาม คำพิพากษา ศาลชั้นต้น ให้ จำเลย ที่ 1และ ที่ 2 ชำระ ค่าปรับ ตาม สัญญาประกัน ทั้ง สอง ฉบับ พร้อม ดอกเบี้ยและ ยกฟ้อง จำเลย ที่ 3 โดย เห็นว่า จำเลย ที่ 3 ไม่ต้อง รับผิด ต่อ โจทก์เพราะ จำเลย ที่ 3 ไม่ได้ มอบอำนาจ ให้ จำเลย ที่ 1 ทำ สัญญาประกัน ตัวผู้ต้องหา ทั้ง สอง ต่อ โจทก์ โจทก์ ฎีกา ว่า จำเลย ที่ 3 ได้ มอบอำนาจให้ จำเลย ที่ 1 ทำ สัญญาประกัน ตัว ผู้ต้องหา ทั้ง สอง แล้ว จึง ต้องร่วมรับผิด ต่อ โจทก์ ฎีกา ของ โจทก์ จึง เป็น ฎีกา โต้เถียง ใน ปัญหาข้อเท็จจริง และ ทุนทรัพย์ ใน คดี นี้ ต้อง ถือ ตาม จำนวนเงิน ใน สัญญาประกันแต่ละ ฉบับ ฉบับ ละ 200,000 บาท เพราะ ค่าปรับ ตาม สัญญา ทั้ง 2 ฉบับเป็น คน ละ ราย แบ่งแยก รับผิด เป็น ส่วนสัด เมื่อ ทุนทรัพย์ แต่ละ รายไม่เกิน 200,000 บาท ฎีกา ของ โจทก์ จึง ต้องห้าม มิให้ ฎีกา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่งศาลฎีกา ไม่รับ วินิจฉัย ให้
พิพากษายก ฎีกา โจทก์