แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา
ย่อสั้น
เจ้าพนักงานสรรพสามิตมีอำนาจเข้าไปตรวจค้นในสถานที่ของผู้ได้รับอนุญาตให้ขายสุราในเวลาทำการได้ตามพระราชบัญญัติสุราพ.ศ. 2493 มาตรา 28 โดยไม่ต้องมีหมายค้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 92 จำเลยใช้ขวดตีผู้เสียหายที่ 1 ที่ 2 และใช้ขวานเงื้อจะฟันผู้เสียหายที่ 3 ในขณะที่ผู้เสียหายทั้งสามทำการตรวจค้น แสดงว่าจำเลยมีเจตนาเพื่อการขัดขวางในครั้งนี้เท่านั้น จึงเป็นการกระทำกรรมเดียว.
ย่อยาว
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยมีสุราไว้ในครอบครองโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายต่อสู้ขัดขวาง ทำร้ายและพยายามทำร้ายผู้เสียหายทั้งสาม ขอให้ลงโทษตามพระราชบัญญัติสุรา พ.ศ. 2493 มาตรา 32, 45 ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 138 วรรคสอง, 140, 295, 296, 91, 33 ริบสุรากลั่นและขวางของกลาง
จำเลยให้การปฏิเสธ
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามพระราชบัญญัติสุราพ.ศ. 2493 มาตรา 32, 45 พระราชบัญญัติสุรา (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2497มาตรา 6 ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 140 วรรคแรก, 296 ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 11 ลงวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514 ข้อ 3ลงโทษฐานต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานโดยใช้อาวุธและใช้กำลังประทุษร้ายซึ่งเป็นบทหนัก ให้เรียงกระทงลงโทษ กระทงละ 4 เดือน 3 กระทงรวมจำคุก 1 ปี และฐานมีสุรา กลั่นซึ่งทำขึ้นโดยผิดกฎหมายไว้ในครอบครองปรับ 800 บาท รวมจำคุก 1 ปี ปรับ 800 บาท ไม่ชำระค่าปรับจัดการตามมาตรา 29, 30 ริบสุรากลั่นและขวานของกลาง
จำเลยอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยมีความผิดฐานทำร้ายร่างกายนายสุวิทย์ และนายสุนทร ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 295วางโทษจำคุกกระทงละ 1 เดือน 15 วัน กับมีความผิดฐานพยายามทำร้ายนายธีระ ระวางโทษจำคุก 1 เดือน รวมกับโทษฐานมีสุรากลั่นตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น คงจำคุกจำเลย 4 เดือน ปรับ 800 บาท ข้อหายื่นให้ยกนอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น
โจทก์ฎีกา
ศาลฎีกาฟังข้อเท็จจริงเป็นยุติว่า ผู้เสียหายทั้งสามเป็นเจ้าพนักงานสรรพาสามิต เข้าไปตรวจค้นในบ้านของจำเลยโดยไม่มีหมายค้นในขณะที่ผู้เสียหายทั้งสามจะเข้าทำการตรวจค้นนั้นจำเลยได้ใช้ขวดน้ำอัดลมมีนายสุวิทย์ 1 ที จนขวดแตก นายสุนทร เข้าไปคว้าข้อมือจำเลย จำเลยโยนขวดที่แตกทิ้งแล้วหยิบขวดน้ำอัดลมตีศีรษะนายสุนทร1 ที นายธีระ เห็นเหตุการณ์จึงเข้าไปตรวจจับจำเลย จำเลยหยิบขวานจ้างฟันนายธีระ หลายครั้ง นายธีระ หลบทันแล้วเข้าแย่งขวานจากจำเลยได้สถานที่ที่ทำการตรวจค้นนั้นเป็นสถานที่ของผู้ได้รับอนุญาตให้ขายสุราและเวลาที่เข้าทำการตรวจค้นเป็นเวลาทำการ วินิจฉัยว่า ผู้เสียหายทั้งสามซึ่งเป็นเจ้าพนักงานสรรพาสามิต มีอำนาจเข้าไปตรวจค้นได้ตามพระราชบัญญัติสุรา พ.ศ. 2493 มาตรา 28 โดยไม่ต้องมีหมายค้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 92 การกระทำของจำเลยที่ทำร้ายผู้เสียหายที่ 1 ที่ 2 และพยายามทำร้ายผู้เสียหายที่ 3 ขณะเข้าทำการตรวจค้นเพื่อขัดขวางการตรวจค้นในคราวเดียวกันนั้นเป็นการกระทำต่อผู้เสียหายทั้งสามที่เข้าไปเพื่อตรวจค้นต่อเนื่องกันในทันทีทันใด แสดงให้เห็นว่าจำเลยมีเจตนาให้เกิดผลเพื่อการขัดขวางในครั้งนี้เท่านั้น จึงเป็นการกระทำกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท
พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา296, มาตรา 296 ประกอบมาตรา 80 และมาตรา 140 วรรคแรก ให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 140 วรรคแรก ซึ่งเป็นบทกฎหมายที่มีโทษหนักที่สุดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 จำคุก 4 เดือน นอกจากที่แก้คงให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์.